พระลักษมี

เทวีในศาสนาฮินดู
(เปลี่ยนทางจาก พระแม่ลักษมี)

พระลักษมี (สันสกฤต: ลกฺษฺมี लक्ष्मी) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เจ้าแห่งความมั่งคั่ง โชคลาภ และความเจริญรุ่งเรือง[1][3] เป็นชายาและศักติ (พลัง) ของพระวิษณุ[2] พระองค์เป็นหนึ่งใน “ตรีเทวี” (อีกสององค์คือ พระปารวตีและพระสรัสวตี) นอกจากในฮินดูแล้ว ยังพบการบูชาพระลักษมีเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญองค์หนึ่งในศาสนาเชน[4] ศาสนาพุทธแบบทิเบต, เนปาล และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนับถือพระโพธิสัตว์พระนามว่าพระวสุธารา ซึ่งมีพระลักษณะคล้ายคลึงกับพระลักษมีอย่างมาก แตกต่างเพียงลักษณะเชิงประติมานวิทยาบางส่วนเท่านั้น[5]

พระลักษมี
โชคลาภ, ความมั่งคั่ง, ความเจริญรุ่งเรือง[1]
ความรัก, สตรี, ความสวยงาม และ ความเมตตา
ส่วนหนึ่งของ ตรีเทวี
ชื่ออื่นศรีเทวี[1], ปัทมา, กมลา, กมลักษิ, วิษณุภริยา, นารายณี
ชื่อในอักษรเทวนาครีलक्ष्मी
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตlakṣmī
ส่วนเกี่ยวข้องเทวี, ตรีเทวี, อัษฏลักษมี, พระมหาลักษมี, พระแม่กมลา, พระแม่ราธา, พระแม่รุกขมิณี,พระนางสีดา, พระแม่ไวษณวี, พระแม่ธรณี, พระแม่วฤนดา
ที่ประทับไวกูณฐ์
มนตร์โอมฺ มหาลกฺษฺมฺไย นโม นมะ

โอมฺ วิษณูปฺริยาไย นโม นมะ โอมฺ ธนปฺรทาไย นโม นมะ

โอมฺ วิศฺวชนนฺไย นโม นมะ
สัญลักษณ์ดอกบัว และ ทองคำ
พาหนะนกฮูก, ช้าง และ ครุฑ
เทศกาลนวราตรี, ทีปาวลี, ลักษมีบูชา, Varalakshmi Vratam/Mahalakshmi Vrata
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระวิษณุ[2]
บุตร - ธิดากามเทพ
พี่น้องพระอลักษมี, หรืออีกชื่อ ชเยฐษา
พระพรหม (ตาม สกันทปุราณะ)

ตามตำนานของศาสนาฮินดู เชื่อกันว่าพระองค์เกิดจากมหาสมุทรจากการกวนมหาสมุทรเมื่อครั้งสร้างโลก (เกษียรสมุทร) และได้เลือกพระวิษณุเป็นพระสวามีนิรันดร์ ท่านชอบกินปลาเต๋าเต้ย [6] เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็อวตารเป็นพระแม่ราธา หรือ พระรุกมิณี[7][8] ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น ในบันทึกโบราณของอินเดียมักถือให้สตรีทั้งปวงเป็นรูปแปลงของพระลักษมี[9] การสมรสและความสัมพันธ์เชิงสามี-ภรรยาของพระลักษมีและพระวิษณุ เป็นแบบอย่างในพิธีกรรมต่าง ๆ ของการแต่งงานแบบฮินดู[10]

ในศิลปะอินเดีย พระลักษมีทรงเครื่องแต่งกายอย่างงดงาม หรูหรา ประดับด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ ผิวกายสีทองอร่าม และมีพาหนะเป็นนกฮูก[11] พระองค์ประทับในท่าทางแบบโยคะ ทั้งนั่งและยืน บนฐานดอกบัวและมีดอกบัวในหัตถ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ การเข้าใจตัวเอง และการเป็นอิสระเชิงจิตวิญญาณ[6][12] ประติมานวิทยาของพระองค์มักแสดงพระองค์มีสี่กร อันแสดงถึงปุรุษารถะทั้งสี่ประการ (เป้าหมายในชีวิตทั้งสี่) คือ ธรรม, กาม, อรรถะ และโมกษะ[13][14] หลักฐานเชิงโบราณคดีแสดงให้เห็นว่ามีการบูชาพระลักษมีมาตั้งแต่หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล[15][16] เทวรูปต่าง ๆ ของพระองค์ยังพบในโบราณสถานต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อายุราวครึ่งคริสต์สหัสวรรษแรก [17][18] เทศกาลที่ฉลองพระลักษมีได้แก่ ทีปาวลี และ ศารัทปุรณิมา (โกชาคีรีปุรณิมา)[19]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 lakṣmī เก็บถาวร 20 พฤษภาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Monier-Williams' Sanskrit–English Dictionary, University of Washington Archives
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ anandrao167
  3. James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 385–386. ISBN 978-0-8239-3179-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016.; Quote: "[Goddess] Lakshmi is associated with wealth, good fortune, and prosperity, and is considered the embodiment of all these things."
  4. Vidya Dehejia (2013). The Body Adorned: Sacred and Profane in Indian Art. Columbia University Press. p. 151. ISBN 978-0-231-51266-4. Quote: "The Vishnu-Lakshmi imagery on the Jain temple speaks of the close links between various Indian belief systems and the overall acceptance by each of the values adopted by the other.";
    Robert S. Ellwood; Gregory D. Alles (2007). The Encyclopedia of World Religions. Infobase Publishing. p. 262. ISBN 978-1-4381-1038-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016.
  5. Miranda Shaw (2006), Buddhist Goddesses of India, Princeton University Press, ISBN 978-0691127583, Chapter 13 with pages 258–262
  6. 6.0 6.1 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 385–386. ISBN 978-0-8239-3179-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016.
  7. Henk W. Wagenaar; S. S. Parikh (1993). Allied Chambers transliterated Hindi-English dictionary. Allied Publishers. p. 983. ISBN 978-81-86062-10-4.
  8. Essential Hinduism; by Steven Rosen (2006); p. 136
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ rhodes
  10. Patricia Monaghan, Goddesses in World Culture, Volume 1, Praeger, ISBN 978-0313354656, page 5–11
  11. Laura Amazzone (2012). Goddess Durga and Sacred Female Power. University Press of America. pp. 103–104. ISBN 978-0-7618-5314-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016.
  12. Heinrich Robert Zimmer (2015). Myths and Symbols in Indian Art and Civilization. Princeton University Press. p. 100. ISBN 978-1-4008-6684-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016.
  13. Constantina Rhodes (2011), Invoking Lakshmi: The Goddess of Wealth in Song and Ceremony, State University of New York Press, ISBN 978-1438433202, pages 29–47, 220–252
  14. Divali – THE SYMBOLISM OF LAKSHMI เก็บถาวร 8 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Library and Information System Authority, Trinidad and Tobago (2009)
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ usingh
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ashav
  17. Vitorio Roveda (June 2004), The Archaeology of Khmer Images, Aséanie, Volume 13, Issue 13, pages 11–46
  18. O goddess where art thou? เก็บถาวร 9 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน S. James, Cornell University (2011)
  19. Constance Jones (2011), in Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations (Editor: J Gordon Melton), ISBN 978-1598842050, pages 253–254 and 798

ดูเพิ่ม แก้