โยคมายา (สันสกฤต: योगमाया, อักษรโรมัน: Yogamāyā) หรือ มหามายา เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ในลัทธิไวษณพนิยมเรียกว่า นารายณี[2][3] บูชาในฐานะรูปแทนพลังอำนาจแห่งภาพมายาของพระวิษณุ[4] ในภควัทคีตาปุราณะถือว่าพระนางเป็นปางเปี่ยมไปด้วยความกรุณาของพระทุรคา ส่วนในลัทธิศักติบูชาพระนางในฐานะรูปปางหนึ่งของอาทิปราศักติ ตามวรรณกรรมฮินดูระบุว่าพระนางเกิดแก่ตระกูลยาฑวะ เป็นธิดาของนันทะ และ ยโษทะ[5]

โยคมายา
เทวีแห่งมายา[1]
ศาลพระนารายณีที่โลนวลา
ชื่ออื่นมหามายา, ทุรคา, นารายณี, ภัทรกาลี, อัมพิกา, เอกนัมศ์, สุภัทระ
ส่วนเกี่ยวข้องลัทธิศักติ, ลัทธิไวษณพ
ที่ประทับไวกูณฐ์, เขาวินธยะ
คัมภีร์ภควัตคีตาปุราณะ
เทศกาลไวกูณฐเอกทาศี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
บิดา-มารดานันทะ (บิดา), ยโษทะ (มารดา)
ราชวงศ์ยาฑุวงศ์

ลัทธิศักติ

แก้

นักวิชาการ คอนสตันซ์ โจนส์ และ เจมส์ ดี ไรอัน (Constance Jones and James D. Ryan) ให้ความเห็นว่าพระโยคมายามีปรากฏกล่าวถึงในเทวีมหัตมยะ ซึ่งเป็นวรรณกรรมสำคัญที่แสดงถึงรูปอวตารต่าง ๆ ของมหาเทวีแห่งลัทธิศักติ รวมถึงปรากฏในเอกสารท้องถิ่นหนึ่งจากต้นศตวรรษที่ 19 ซึ่งใช้นามวินธยามหาตมยะ (Vindhya Mahatmya) เข้าใจว่าพระนางแทนความจริงสูงสุดโดยสมบูรณ์ (Ultimate Reality in its totality) รวมถึงยังมีการทำให้พระนางมีความคล้ายกันกับพระปารวตี เกิดเป็นคติของ "ความยิ่งใหญ่สูงสุด" (Ultimate Divinity)[6]

ลัทธิไวษณพ

แก้

ในคติของไวษณพถือว่าพระนางเป็นรูปแทนอำนาจความสามารถภายในหรือภายนอกของพระวิษณุ หรือปางอวตารในรูปพระกฤษณะ[7] พระโยคมายาสามารถอวตารเป็นรูปของพระทุรคา, อัมพิกา, เกษมาท และ ภัทรกาลี ได้ ตามที่ระบุในวิษณุปุราณะ[8] ในภควัตปุราณะ อสูรหิรัณยากษะล้อเลียนวราหะและกล่าวถึง โยคมาตา ของพระวิษณุ[9]

ในภควัทคีตา เมื่อครั้นอรชุนสงสัยว่า ทำไมยามว่าง (pastime) และรูปอันแท้จริงของพระกฤษณะไม่ปรากฏต่อผู้คน พระกฤษณะตอบว่ารูปอวตารของตนจะไม่ปรากฏเห็นได้โดยทุกคน เพราะตนมี "ความสามารถในการสร้างภาพมายา" ซ่อนตนเองไว้ (illusory potency)[10]

อ้างอิง

แก้
  1. The Goddess in India: The Five Faces of the Eternal Feminine. Simon and Schuster. September 2000. ISBN 9781594775376.
  2. Sinha, Purnendu Narayana (1901). A Study of the Bhagavata Purana: Or, Esoteric Hinduism (ภาษาอังกฤษ). Freeman & Company, Limited. p. 247.
  3. Parthasarathy, V. R.; Parthasarathy, Indu (2009). Devi: Goddesses in Indian Art and Literature (ภาษาอังกฤษ). Bharatiya Kala Prakashan. p. 133. ISBN 978-81-8090-203-1.
  4. Beck, Guy L. (2012-02-01). Alternative Krishnas: Regional and Vernacular Variations on a Hindu Deity (ภาษาอังกฤษ). State University of New York Press. p. 170. ISBN 978-0-7914-8341-1.
  5. Knapp, Stephen (2012). Hindu Gods & Goddesses (ภาษาอังกฤษ). Jaico Publishing House. p. 32. ISBN 978-81-8495-366-4.
  6. Jones & Ryan 2006, p. 489.
  7. Knapp, Stephen (2012). Hindu Gods & Goddesses (ภาษาอังกฤษ). Jaico Publishing House. ISBN 978-81-8495-366-4.
  8. Varadpande, Manohar Laxman (2009). Mythology of Vishnu and His Incarnations (ภาษาอังกฤษ). Gyan Publishing House. p. 15. ISBN 978-81-212-1016-4.
  9. www.wisdomlib.org (2022-07-24). "Hiraṇyākṣa's Fight with Varāha [Chapter 18]". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.
  10. www.wisdomlib.org (2020-05-08). "Verse 7.25 [Bhagavad-gita]". www.wisdomlib.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้