ทุรคา
พระแม่ทุรคา (สันสกฤต: दुर्गा ทุรฺคา) หรือ พระแม่มหิษาสุรมรรทินี เป็นเทวีในศาสนาฮินดู ซึ่งเป็นอีกปางหนึ่งของพระปารวตี มีความหมายว่า "ผู้ไม่มีใครเอาชนะได้ (invincible) หรือ ผู้ไม่มีใครก้าวผ่านได้ (impassable)" ไม่ว่าทั้งเทพเจ้า มนุษย์ อสูร แม้แต่พระศิวะ พระพรหม หรือพระวิษณุ ก็ไม่อาจสังหารมหิษาสูรได้ [4] มีเพียงหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ และเป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาล ซึ่งก็คือพระแม่ทุรคา ซึ่งเกิดจากอำนาจทั้งปวงของเหล่าเทพเจ้า
พระทุรคา | |
---|---|
ทุรคาในฐานะมหิษาสุรมรรทินี | |
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤต | Durgā (\dûr-gā\)[1] |
ส่วนเกี่ยวข้อง | อาทิปราศักติ, พระสตี, พระปารวตี, Ambika, Katyayani, Kaushiki, ตรีเทวี, Vaishno Devi, Bhagavati |
อาวุธ | จักร, สังข์, ตรีศูล, Gada (กระบอง), ธนู, Khanda (ดาบ) และเกราะ, Ghanta (ระฆัง) |
พาหนะ | เสือ หรือ สิงโต[2][1] |
เทศกาล | ทุรคาบูชา, Durga Ashtami, นวราตรี, Vijayadashami |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
คู่ครอง | พระศิวะ[3] |
บุตร - ธิดา | พระขันทกุมาร, พระพิฆเนศ, Ashok Sundari |
พี่น้อง | พระแม่คงคา พระวิษณุ |
ในช่วงประมาณเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี จะมีการบูชาพระแม่ทุรคาเรียกว่าเทศกาลนวราตรี มีการฉลองถึง ๙ วัน ๙ คืนด้วยกัน ในประเทศไทย งานฉลองนี้จะมีขึ้นประจำทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี เขตบางรัก โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและเครื่องบูชาต่าง ๆ
พระลักษณะแก้ไข
พระแม่ทุรคาอยู่ในลักษณะของกัลยาผู้ที่สุนทรที่สุดในสามโลก มี ๑๐-๑๘ กร ถืออาวุธครบมือ ที่มีอำนาจไม่สิ้นสุด มีกายที่สว่างมาก มีพระเนตร ๓ ดวงที่มีลักษณะเหมือนปัทมา มีพระเกศที่นุ่มสละสลวย มีสีผิวสีทองแดง และมีดวงจันทร์ที่มีขนาดเป็นหนึ่งในสี่ส่วน ๑ ดวงอยู่บนพระนลาฏของพระนาง ประทับอยู่บนหลังสิงโต หรือเสือ ทรงทำยุทธกับมหิษาสูรซึ่งเป็นลูกของอสูรรัมภะกับนางกระบือ ซึ่งได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะ และรบชนะทั้ง ๓ โลก [5] พระแม่ทุรคาทรงมีเครื่องแต่งกายสีฟ้ามหาสมุทรที่แวววาวและสีแดง และส่องแสงรัศมีที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความปรานี
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 Wendy Doniger 1999, p. 306.
- ↑ Robert S Ellwood & Gregory D Alles 2007, p. 126.
- ↑ "Early Hinduism (2nd century BCE–4th century CE)". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 9 October 2019.
- ↑ "พระแม่ทุรคาปราบอสูรควาย (มหิษาสุรมรรทินี)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
- ↑ "พระแม่ทุรคามหาเทวี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-28. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: ทุรคา |
บทความเกี่ยวกับศาสนาฮินดูนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |