พระแม่ชคัทธาตรี

พระแม่ชคัทธาตรี (สันสกฤต: जगद्धात्री; เบงกอล: জগদ্ধাত্রী) เป็นเทวีในศาสนาฮินดูตามคติลัทธิตันตระและลัทธิศักติ ทรงเป็นอวตารของพระแม่ทุรคา[1] เพื่อสังหารอสูรช้างที่มีนามว่าการินทราสูร คำว่า ชคัทธาตรี หมายถึง ผู้โอบอุ้มโลก พระองค์ทรงเป็นที่นิยมบูชามากในรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐโอฑิสา มีเทศกาลบูชาพระองค์คือเทศกาลชคัทธาตรีบูชา(เบงกอล: জগদ্ধাত্রী পূজা; ฮินดี: जगधात्री पूजा)

พระแม่ชคัทธาตรี
จำพวกเทวี, มหาเทวี, พระทุรคา , พระปารวตี,พระตริปุราสุนทรี
อาวุธจักร, สังข์, ลูกศร, คันธนู
สัตว์พาหนะสิงโต
จำพวก เทวี
เทวรูปของพระแม่ชคัทธาตรี
เทศกาลชคัทธาตรีบูชา

เทวตำนาน

แก้

ในคราวที่พระแม่ทุรคาเทวีทรงสังหารมหิษาสูร หรืออสูรควายที่รุกรานจักรวาลได้สำเร็จแล้วนั้น พระองค์ได้อันตรธานหายไป แต่ยังคงคอยดำรงรักษาจักรวาลอยู่อย่างเสมอ เหล่าคณะเทวดาเริ่มลืมเลือนถึงการมีอยู่แห่งพระนาง จึงเริ่มพากันช่วงชิงความเป็นใหญ่ในสวรรค์

พระอินทร์ พระพิรุณ พระพาย พระอัคนี และพระจันทร์ ต่างเชื่อมั่นในความยิ่งใหญ่แห่งตนจนกลายเป็นความยโสเย่อหยิ่ง เหล่าเทวดาทั้งหลายต่างเปี่ยมล้นด้วยอัตตาและความอหังการทั้งสิ้น พระทุรคามหาเทวีปรากฏพระองค์ขึ้น และจำแลงพระวรกายให้อยู่ในรูปยักษิณี และได้ประทานบททดสอบแก่เหล่าเทวดา


เทวดาทั้งหลายต่างยอมแพ้ พระเทวีได้กลับสู่รูปเดิมและปรากฏรูปพระชคัทธาตรี เหล่าเทวดายอมรับถึงพลังแห่งพระแม่เจ้าผู้เป็นพระจักรวาลชนนีและเป็นขุมพลังแห่งสรรพสิ่ง อัตตาแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายมารวมและปรากฏขึ้นเป็นช้าง พระเทวีได้ปราบลง และให้สิงหพาหนะคอยเหยียบข่มความอหังการนี้ไว้นั่นเอง

นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า ช้างตนนี้คือโครินทราสูร หรืออสูรช้างนั่นเอง และมีความเชื่อแยกออกไปอีกว่าช้างตนนี้คือมหิษาสูรในคราวที่มันกำลังสู้รบกับพระแม่ทุรคาในช่วงท้าย ซึ่งก่อนมันจะกลับร่างอสูร มันได้แปลงเป็นอสูรช้างและเข้าต่อสู้กับพระนาง แต่ก็ถูกพระนางสังหารรูปช้างของมันลงอยู่ดีนอกจากนี้ช้างยังเป็นสิ่งแทนสภาวะจิตใจมนุษย์ที่เครียดแค้นและโกรธเกรี้ยวดุจช้างป่าที่ดุร้าย ซึ่งพระแม่ได้อยู่เหนือและกำราบซึ่งอารมณ์นี้เพื่อความสำเร็จแห่งมนุษย์ดุจดั่งพระนางได้ดำรงซึ่งจักรวาลสมพระนาม “ชคัทธาตรี - พระเทวีผู้ทรงไว้ซึ่งจักรวาล” อีกด้วย

พระลักษณะ

แก้

พระแม่ได้ปรากฏในรูปแห่งพระทุรคา พระนางทรงจักร สังข์ พร้อมด้วยธนู และคันศร ทรงสิงโตเหยียบช้าง เชื่อกันว่าพระแม่ทุรคาในรูปนี้ดำรงสภาวะสัตตวะคุณ หรือสภาวะแห่งความดีงาม ปัญญา ความเบาสบายอีกด้วย หากนับด้วยคตินี้ พระทุรคา(มหิษาสูรมรรทินี) จะเป็นรชะคุณ พระกาลีจะเป็นตามสะคุณ[2]นอกจากนี้ ยังมีความเชื่ออีกว่า พระเทวีในระบบมหาวิทยา สามารถปรากฏรูปอันยิ่งใหญ่แห่งพระแม่ทุรคาได้ ซึ่งจะมีพระนามต่างกันเล็กน้อยตามสภาวะ โดยพระแม่ชคัทธาตรีถือเป็นรูปปรากฏแห่งพระตริปุราสุนทรี และในรูปนี้พระองค์ถือเป็นพระทุรคาในนาม “พระมหาทุรคาเทวี”[3]

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.boldsky.com/yoga-spirituality/festivals/2013/jagadhatri-puja-story-significance-036268.html
  2. https://x.com/phuphhu/status/1810469079746322800?t=hcSzssU4nnYN9aMvcQmslQ&s=19
  3. https://x.com/phuphhu/status/1810469079746322800?t=hcSzssU4nnYN9aMvcQmslQ&s=19