ทีปาวลี

เทศกาลแห่งแสงไฟในอินเดีย

ดิวาลี, ดีปาวลี, ทิวาลี หรือ ทีปาวลี เป็นเทศกาลแห่งแสงไฟของศาสนาฮินดู ศาสนาซิกข์ ศาสนาเชน ที่เฉลิมฉลองในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของซีกโลกเหนือ[5][6][7] ดิวาลีถือเป็นหนึ่งในเทศกาลที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดของศาสนาฮินดู การใช้แสงสว่างในเทศกาลแห่งแสงนี้ เป็นสัญลักษณ์หมายถึงชัยชนะของแสงเหนือความมืดมิด ความดีเหนือความชั่วร้าย[8][9][10] อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า ถนนหนทาง และศาสนสถาน (โบสถ์พราหมณ์ของฮินดู, คุรุทวาราของซิกข์ และ เชนสถานของเชน) จะตกแต่งด้วยสีสดใสและประดับแสงไฟสว่างไสว[11] โดยทั่วไปเทศกาลดิวาลีเฉลิมฉลองกัน 5 วัน โดยจะถึงจุดสูงสุดในวันที่ 3 ของเทศกาล ซึ่งถือว่าเป็นคืนที่มืดมิดที่สุดของเดือนการติก ตามปฏิทินฮินดู เมื่อเทียบกับปฏิทินเกรโกเรียนจะตรงกับช่วงกลางเดือนตุลาคมและกลางเดือนพฤศจิกายน[12]

ดิวาลี
ทีปสัญลักษณ์ของเทศกาลทีปวลี
ชื่ออื่นดีปวาลี, ทีปวาลี
จัดขึ้นโดยศาสนาฮินดู, ศาสนาซิกข์, ศาสนาเชน และ ศาสนาพุทธแบบเนวาร์[1]
ประเภทวัฒนธรรม, ศาสนา และฤดูกาล
การเฉลิมฉลองตะเกียงทีป การตกแต่งบ้านให้สวยงาม, บูชา, การมอบของขวัญ, พิธีกรรมทางศาสนา, รับประทานอาหารร่วมกัน
เริ่มธันเตรัส
สิ้นสุดไภดูช
วันที่เปลี่ยนไปตามปฏิทินฮินดู
วันที่ในปี 202312 พฤศจิกายน [2]

สิงคโปร์[3] มาเลเซีย[4] และ

รัฐอานธรประเทศ, รัฐเตลังคานา, รัฐกรณาฏกะ, รัฐเกรละ, และอินเดียเหนือ)[2]
ส่วนเกี่ยวข้องกาลีบูชา, คลุนคัน, ดิวาลี (ศาสนาเชน), พันทิโฉรทิวาส, ติหาร, สวันตี, โสหราย, พันทนา

ช่วงก่อนเข้าสู่เทศกาล ผู้คนจะเตรียมตัวโดยการทำความสะอาด ซ่อมแซม และตกแต่งบ้านหรือที่ทำงาน[13] และแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่ดีที่สุด ประดับไฟและทีป (Diya) ทั่วทั้งในและนอกบ้านให้สว่างที่สุด ทำพิธีบูชาต่อพระลักษมี เทวีแห่งความเจริญรุ่งเรืองมั่งคั่ง[14] มีการจุดพลุ ทานอาหารกับครอบครัวและเพื่อนฝูง แลกเปลี่ยนของขวัญและแบ่งปันขนมกัน เทศกาลดิวาลีถือเป็นเทศกาลเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญมากต่อชาวอนุทวีปอินเดียโพ้นทะเล ที่นับถือศาสนาฮินดู ซิกข์ หรือเชน[15][16][17]

วันหยุดราชการ แก้

วันดิวาลีเป็นวันหยุดราชการในประเทศอินเดีย, ประเทศเนปาล, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศสิงคโปร์ และ ประเทศพม่า

อ้างอิง แก้

  1. Charles M Townsend, TheOxford Handbook of Sikh Studies, Oxford University Press, ISBN 978-0199699308, p. 440
  2. 2.0 2.1 "Hoy calendar". National Portal of India. สืบค้นเมื่อ 5 January 2019.
  3. "Public holidays". Ministry of Manpower, Singapore. สืบค้นเมื่อ 5 January 2018.
  4. site web|url=https://publicholidays.com.my/deepavali/
  5. The New Oxford Dictionary of English (1998) ISBN 0-19-861263-X. p. 540 "Diwali /dɪwɑːli/ (also Divali) noun a Hindu festival with lights...".
  6. Diwali Encyclopædia Britannica (2009)
  7. https://twitter.com/realdonaldtrump/status/1062450942707228672?lang=en
  8. Vasudha Narayanan; Deborah Heiligman (2008). Celebrate Diwali. National Geographic Society. p. 31. ISBN 978-1-4263-0291-6., Quote: "All the stories associated with Deepavali, however, speak of the joy connected with the victory of light over darkness, knowledge over ignorance, and good over evil".
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ htoday
  10. Jean Mead, How and why Do Hindus Celebrate Divali?, ISBN 978-0-237-534-127
  11. Frank Salamone (2004), Encyclopedia of Religious Rites, Rituals and Festivals, ISBN 978-0415880916, Routledge, pp. 112–13, 174, 252
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ melton252
  13. Pramodkumar (March 2008). Meri Khoj Ek Bharat Ki. ISBN 978-1-4357-1240-9. สืบค้นเมื่อ 26 October 2011. It is extremely important to keep the house spotlessly clean and pure on Diwali. The Goddess Lakshmi likes cleanliness, and she will visit the cleanest house first. Lamps are lit in the evening to welcome the goddess. They are believed to light up her path.
  14. Laura Amazzone 2012.
  15. India Journal: ‘Tis the Season to be Shopping Devita Saraf, The Wall Street Journal (August 2010)
  16. Henry Johnson 2007, pp. 71–73.
  17. Kelly 1988, pp. 40–55.