พระลักษมี

เทวีในศาสนาฮินดู

พระลักษมี (สันสกฤต: ลกฺษฺมี लक्ष्मी) เป็นเทวีในศาสนาฮินดู เจ้าแห่งความมั่งคั่ง โชคลาภ และความเจริญรุ่งเรือง[1][3] เป็นชายาและศักติ (พลัง) ของพระวิษณุ[2] พระองค์เป็นหนึ่งใน “ตรีเทวี” (อีกสององค์คือ พระปารวตีและพระสรัสวตี) นอกจากในฮินดูแล้ว ยังพบการบูชาพระลักษมีเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญองค์หนึ่งในศาสนาเชน[4] ศาสนาพุทธแบบทิเบต, เนปาล และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนับถือพระโพธิสัตว์พระนามว่าพระวสุธารา ซึ่งมีพระลักษณะคล้ายคลึงกับพระลักษมีอย่างมาก มีแตกต่างเพียงลักษณะเชิงประติมานวิทยาบางส่วนเท่านั้น[5]

พระลักษมี
โชคลาภ, ความมั่งคั่ง, ความเจริญรุ่งเรือง[1]
ความรัก, สตรี, ความสวยงาม และ ความเมตตา
ส่วนหนึ่งของ ตรีเทวี
Raja Ravi Varma, Goddess Lakshmi, 1896.jpg
ชื่ออื่นศรีเทวี[1], ปัทมา, กมลา, กมลักษิ, วิษณุภริยา
ชื่อในอักษรเทวนาครีलक्ष्मी
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตlakṣmī
ส่วนเกี่ยวข้องเทวี, ตรีเทวี, อัษฏลักษมี, พระมหาลักษมี
ที่ประทับไวกูณฐ์
มนตร์ภาษาฮินดี

ॐ महालक्ष्म्यै नमो नम: । ॐ विष्णुप्रियायै नमो नम: । ॐ धनप्रदायै नमो नम : । ॐ विश्वजनन्यै नमो नम: । ภาษาไทย - โอมฺ มหาลกฺษฺมฺไย นโม นมะ โอมฺ วิษณูปฺริยาไย นโม นมะ โอมฺ ธนปฺรทาไย นโม นมะ

โอมฺ วิศฺวชนนฺไย นโม นมะ
สัญลักษณ์ดอกบัว และ ทองคำ
พาหนะนกฮูก, ช้าง และ ครุฑ
เทศกาลนวราตรี, ทีปาวลี, ลักษมีบูชา, Varalakshmi Vratam/Mahalakshmi Vrata
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระวิษณุ[2]
บุตร - ธิดากามเทพ
พี่น้องพระอลักษมี,
พระพรหม (ตาม Skand Purana)

ตามตำนานของศาสนาฮินดู เชื่อกันว่าพระองค์เกิดจากมหาสมุทรจากการกวนมหาสมุทรเมื่อครั้งสร้างโลก (เกษียรสมุทร) และได้เลือกพระวิษณุเป็นพระสวามีนิรันดร์[6] เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นพระสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็อวตารเป็นพระแม่ราธา หรือ พระรุกมิณี[7][8] ในปางปรศุรามาวตารก็ไปอวตารเป็น พระแม่ธรณี ในปางวามนาวตารก็อวตารไปเป็น พระนางกมลา เป็นต้น ในบันทึกโบราณของอินเดียมักถือให้สตรีทั้งปวงเป็นรูปแปลงของพระลักษมี[9] การสมรสและความสัมพันธ์เชิงสามี-ภรรยาของพระลักษมีและพระวิษณุ เป็นแบบอย่างในพิธีกรรมต่าง ๆ ของการแต่งงานแบบฮินดู[10]

ในศิลปะอินเดีย พระลักษมีทรงเครื่องแต่งกายอย่างงดงาม หรูหรา ประดับด้วยเครื่องประดับต่าง ๆ ผิวกายสีทองอร่าม และมีพาหนะเป็นนกฮูก[11] พระองค์ประทับในท่าทางแบบโยคะ ทั้งนั่งและยืน บนฐานดอกบัวและมีดอกบัวในหัตถ์ อันเป็นสัญลักษณ์ของโชคลาภ การเข้าใจตัวเอง และการเป็นอิสระเชิงจิตวิญญาณ[6][12] ประติมานวิทยาของพระองค์มักแสดงพระองค์มีสี่กร อันแสดงถึงปุรุษารถะทั้งสี่ประการ (เป้าหมายในชีวิตทั้งสี่) คือ ธรรม, กาม, อรรถะ และโมกษะ[13][14] หลักฐานเชิงโบราณคดีแสดงให้เห็นว่ามีการบูชาพระลักษมีมาตั้งแต่หนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสตกาล[15][16] เทวรูปต่าง ๆ ของพระองค์ยังพบในโบราณสถานต่าง ๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อายุราวครึ่งคริสต์สหัสวรรษแรก [17][18] เทศกาลที่ฉลองพระลักษมีได้แก่ ทีปาวลี และ Sharad Purnima (Kojagiri Purnima)[19]

อ้างอิงแก้ไข

  1. 1.0 1.1 1.2 lakṣmī เก็บถาวร 20 พฤษภาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Monier-Williams' Sanskrit–English Dictionary, University of Washington Archives
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ anandrao167
  3. James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 385–386. ISBN 978-0-8239-3179-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help); Quote: "[Goddess] Lakshmi is associated with wealth, good fortune, and prosperity, and is considered the embodiment of all these things."
  4. Vidya Dehejia (2013). The Body Adorned: Sacred and Profane in Indian Art. Columbia University Press. p. 151. ISBN 978-0-231-51266-4. Quote: "The Vishnu-Lakshmi imagery on the Jain temple speaks of the close links between various Indian belief systems and the overall acceptance by each of the values adopted by the other.";
    Robert S. Ellwood; Gregory D. Alles (2007). The Encyclopedia of World Religions. Infobase Publishing. p. 262. ISBN 978-1-4381-1038-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  5. Miranda Shaw (2006), Buddhist Goddesses of India, Princeton University Press, ISBN 978-0691127583, Chapter 13 with pages 258–262
  6. 6.0 6.1 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A-M. The Rosen Publishing Group. pp. 385–386. ISBN 978-0-8239-3179-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  7. Henk W. Wagenaar; S. S. Parikh (1993). Allied Chambers transliterated Hindi-English dictionary. Allied Publishers. p. 983. ISBN 978-81-86062-10-4.
  8. Essential Hinduism; by Steven Rosen (2006); p. 136
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ rhodes
  10. Patricia Monaghan, Goddesses in World Culture, Volume 1, Praeger, ISBN 978-0313354656, page 5–11
  11. Laura Amazzone (2012). Goddess Durga and Sacred Female Power. University Press of America. pp. 103–104. ISBN 978-0-7618-5314-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  12. Heinrich Robert Zimmer (2015). Myths and Symbols in Indian Art and Civilization. Princeton University Press. p. 100. ISBN 978-1-4008-6684-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2016. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |dead-url= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  13. Constantina Rhodes (2011), Invoking Lakshmi: The Goddess of Wealth in Song and Ceremony, State University of New York Press, ISBN 978-1438433202, pages 29–47, 220–252
  14. Divali – THE SYMBOLISM OF LAKSHMI เก็บถาวร 8 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน National Library and Information System Authority, Trinidad and Tobago (2009)
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ usingh
  16. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ashav
  17. Vitorio Roveda (June 2004), The Archaeology of Khmer Images, Aséanie, Volume 13, Issue 13, pages 11–46
  18. O goddess where art thou? เก็บถาวร 9 พฤศจิกายน 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน S. James, Cornell University (2011)
  19. Constance Jones (2011), in Religious Celebrations: An Encyclopedia of Holidays, Festivals, Solemn Observances, and Spiritual Commemorations (Editor: J Gordon Melton), ISBN 978-1598842050, pages 253–254 and 798

ดูเพิ่มแก้ไข