นวทุรคา (สันสกฤต: नवदुर्गा, อักษรโรมัน: Navadurgā) เป็นอวตารเก้าปางของพระทุรคาในศาสนาฮินดู[1][2] เป็นที่นิยมบูชาเป็นพิเศษในเทศกาลนวราตรีและทุรคาบูชา[3] โดยส่วนใหญ่นิยมถือว่านวทุรคารวมกันเป็นเทวีองค์เดียว โดยเฉพาะในคติของลัทธิศักติและลัทธิไศวะ[4]

นวทุรคา
พลัง, อำนาจ, การปกป้อง, ความรู้, ความมั่งคั่ง, ความสมบูรณ์ และ โมกษะ
พระทุรคา 9 ปาง หรือนวทุรคา
ชื่อในอักษรเทวนาครีनवदुर्गा
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตnavadurgā
ส่วนเกี่ยวข้องอาทิศักติ, พระทุรคา, พระปารวตี, เทวี
ที่ประทับมณีทวีป, เขาไกรลาส
มนตร์โอม ไอม หรีม ศรีม มะหาทุรคาไย นะโม นะมะห์
อาวุธขัณฑา, ธนู, ตรีศูล, สุทรรศนจักร, คฑา, โล่, ศังขา, ฆัณฏา
พาหนะสิงโต, เสือ, นนทิ, วัว, ลา และ บัวหลวง
เทศกาลนวราตรี, ทุรคาบูชา, วิชัยทัศมี, ทุรคาษฏมี

ตามปรัมปราวิทยาฮินดูเชื่อว่าเก้าปางอวตารคือพระทุรคาทั้งเก้าระยะในระหว่างการรบกับเจ้าแห่งอสูร มหิษาสูร และวันที่สิบจะฉลองเป็นวันวิชัยทัศมี ("วันแห่งชัยชนะ") การเฉลิมฉลองนี้ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดเทศกาลหนึ่งของชาวฮินดู[5]

ปางอวตาร แก้

อวตารหลัก แก้

ที่ ภาพ

(ประติมานวิทยา)

นาม วาหนะ วรรณะ[A] มนตร์ รูป Ref
1.   ไศลปุตรี

"บุตรีแห่งเขา"

นนทิ (วัว) พระปารวตีครั้นเยาว์วัยโดยมีรูปหลักเป็นพระทุรคา ॐ देवी शैलपुत्र्यै नमः
โอํ เทวี ไศลปุตฺรฺไย นมะ
บนแขนขาทรงเครื่องประดับชิ้นเบา พัสตราภรณ์สีแดงและชมพู มือหนึ่งทรงตรีศูล อีกมือหนึ่งทรงดอกบัว ประทับบนวัวสีขาว [7]
2.   พรหมจาริณี

"มารดาแห่งความทุ่มเทและการไถ่บาป"

ไม่มี พระทุรคาขณะถือพรต ॐ देवी ब्रह्मचारिण्यै नम:

โอํ เทวี พฺรหฺมจาริณฺไย นมะ

เทวีในรูปนักพรตสตรี ประดับกายด้วยเม็ดรุทรักษ์และดอกไม้แห้ง มือหนึ่งทรงประคำ อีกมือหนึ่งทรงหม้อน้ำ [8]
3.   จันทรฆัณฏา

"ผู้ขจัดอสูร"

เสือ พระทุรคาในปางศักติ ॐ देवी चंद्रघण्टायै नम:

โอํ เทวี จํทฺรฆณฺฏาไย นมะ

มีสิบมือ ในจำนวนนี้เก้ามือทรงตรีศูล, คฑา, คันธนู, ธนู, บัว, ดาบ, ระฆัง, หม้อน้ำ อีกมือหนึ่งแสดงมุทราโปรดสาธุชน ประทับนั่งบนเสือดุร้าย [9]
4.   กูษมาณฑา

"เทวีแห่งไข่จักรวาล"

พระทุรคาในปางมหาศักติ ॐ ऐं ह्रीं क्लीं कूष्मांडायै नम:

โอํ ไอํ หฺรีํ กฺลีํ กูษฺมําฑาไย นมะ

มีแปดมือ ในจำนวนนี้หกมือทรงจักร, คฑา, บัว, คันธนูกับธนู, ดาบ, ประคำ อีกสองมือทรงหม้อน้ำผึ้งกับหม้อน้ำ ประทับบนหลังสิงโต [10]
5.   สกันทมาตา

"เทวีแห่งความเป็นมารดาและการเลี้ยงบุตร"

สิงโต พระทุรคาในปางมารดา ॐ देवी स्कन्दमातायै नम:

โอํ เทวี สฺกนฺทมาตาไย นมะ

มีสี่มือ สองมือทรงดอกบัว, มือที่สามทรงอุ้มบุตร ซึ่งคือพระขันธกุมารหกเศียรในปางเยาว์วัยประทับบนตัก มือที่สี่แสดงมุทราช่วยเหลือสาธุชน ประทับนั่งบนหลังสิงโต [11]
6.   กาตยายนี

"เทวีแห่งพลังอำนาจ"

พระทุรคาในปางออกรบ ॐ देवी कात्यायन्यै नम:

โอํ เทวี กาตฺยายนฺไย นมะ

บนแขนขาทรงเครื่องประดับหนัก พัสตราภรณ์เป็นเสื้อคลุมชั้นนอกสีเขียวและชมพู มีสี่มือ ทรงดาบ, โล่, บัว และตรีศูล ประทับบนสิงโตที่น่าเกรงขาม [12]
7.   กาลราตรี

"เทวีแห่งความเป็นมงคลและความหาญกล้า "

ลา พระทุรคาในปางทำลายล้าง ॐ देवी कालरात्र्यै नम:

โอํ เทวี กาลราตฺรฺไย นมะ

มีสามเนตรสีแดงก่ำ เกศายุ่งเป็นกระเซิง คล้องศอด้วยมาลัยกะโหลกซึ่งส่องแสงประดุจฟ้าผ่า สี่มือทรงตรีศูล, ดาบโค้งคมด้านเดียว (scimitar), วัชระ และถ้วย ประทับนั่งด้านหลังลา [13]
8.   มหาเคารี

"เทวีแห่งความงามและสตรี"

วัว พระทุรคาในปางแห่งการรื้อฟื้น ॐ देवी महागौर्यै नम:

โอํ เทวี มหาเคารฺไย นมะ

มีสี่มือ สามมือทรงตรีศูล, กลองเล็ก และบัวชมพู อีกมือหนึ่งแสดงมุทราให้ความคุ้มครองแก่สาธุชน ประทับบนวัวสีขาว [14]
9.   สิทธิทาตรี

"เทวีแห่งพลังอำนาจเหนือธรรมชาติหรือสิทธิ"

บัว พระทุรคาในปางแห่งการเข้าสู่รูปยิ่งใหญ่สูงสุดในฐานะมหาศักติ ॐ ऐं ह्रीं क्लीं सिद्धिदात्यै नम:

โอํ ไอํ หฺรีํ กฺลีํ สิทฺธิทาตฺไย นม:

มีสี่มือ ทรงจักร, หอยสังข์, บัวชมพู และคฑา ประทับนั่งบนดอกบัวที่บานเต็มที่ [15]

ปางอื่น ๆ แก้

ในบางธรรมเนียมและบางคัมภีร์ของฮินดู อาจมีนวทุรคาในปางที่ต่างกันไป เช่นในอัคนีปุราณะ ซึ่งระบุนามไว้ดังนี้[16]

  1. รุทรจันทา (Rudrachanda)
  2. ประจันทา (Prachanda)
  3. จันโทครา (Chandogra)
  4. จันทนายิกา (Chandanayika)
  5. จันทา (Chanda)
  6. จันทาวตี (Chandavati)
  7. จันทรูปา (Chandarupa)
  8. อติจันทิกา (Atichandika)
  9. อุครจันทา (Ugrachanda)

ที่กนกทุรคามนเทียรในวิชัยวาฑะ รัฐอานธรประเทศ ยังมีการบูชาพระราชราเชศวรีเก้าปางในฐานะนวทุรคาในเทศกาลนวราตรี[17]

หมายเหตุ แก้

  1. Parvati has been described in the nine stage in nine different depiction, where she become the Maha Shakti in last stage of Siddhidhatri, after gaining Siddhis.[6]

อ้างอิง แก้

  1. "The Nine Forms of Goddess Mahadevi Durga". Times of India (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-03.
  2. J. Gordon Melton; Baumann, Martin (2010). Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices, 2nd Edition. ABC-CLIO. pp. 2600–2602. ISBN 978-1-59884-204-3.
  3. Navaratri, TOI.
  4. Amazzone 2010, p. 184.
  5. Ramachandran 2020, pp. 21–23.
  6. Ramachandran 2020, p. 67.
  7. Sharma 2021, p. 73.
  8. Ramachandran 2020, p. 23.
  9. Ramachandran 2020, pp. 29–30.
  10. Mittal 2006, p. 63.
  11. Ostor 2004, p. 34.
  12. Ramachandran 2020, pp. 48–51.
  13. Mishra 1989, p. 36.
  14. Sivkishen 2016, p. 176.
  15. Ramachandran 2020, pp. 68, 70.
  16. Gangadharan, N (1954). The Agni Purana (ภาษาอังกฤษ). Motilal Banarsidass Publishers. p. 132. ISBN 9788120803596.
  17. Menon, Anoop. "Navratri 2017: The 10 Forms of Durga Venerated at Kanaka Durga Temple | India.com". www.india.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-02.

บรรณานุกรม แก้