พระเทพมงคลวัชราจารย์ (เหลือง ฉนฺทาคโม)
เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ,ชาวจังหวัดสุรินทร์,อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน (ธันวาคม 2565) |
พระเทพมงคลวัชราจารย์ (เหลือง ฉนฺทาคโม)[1]เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ,ชาวจังหวัดสุรินทร์,อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์ (ธ.),อดีตเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง (ธ.) ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
พระเทพมงคลวัชราจารย์ (เหลือง ฉนฺทาคโม) | |
---|---|
ชื่ออื่น | พระคุณท่าน ท่านเจ้าคุณหลวงปู่เหลือง ฉนฺทาคโม |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 (95 ปี) |
มรณภาพ | 10 มกราคม พ.ศ. 2566 |
นิกาย | ธรรมยุติกนิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดกระดึงทอง ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน บุรีรัมย์ |
พรรษา | 76 |
ตำแหน่ง | อดีตที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์(ธ.),อดีตเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง (ธ.) ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์ |
ชาติภูมิ
แก้- พระเทพมงคลวัชราจารย์ (เหลือง ฉนฺทาคโม)[2] มีนามเดิมว่า ชื่อนายเหลือง นามสกุลทรงแก้ว เกิดยามใกล้รุ่ง วันอังคาร ที่1พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ที่บ้านนาตรัง หมู่ที่2 ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ปัจจุบันแบ่งเขตการปกครองให้ อำเภอเขวาสินรินทร์
- หลังเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ขณะอายุ15ปี แล้วออกจากบ้านเดินตามพระพี่ชาย คือ พระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล และพระสมุห์เสร็จ ญาณวุฑโฒ สองศิษย์เอกหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม จากจังหวัดสุรินทร์ไปถึงจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง มีโอกาสได้พบครูบาอาจารย์หลายรูป อาทิ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, พ่อท่านลี ธัมมธโร วัดป่าคลองกุ้ง ฯลฯ
บรรพชาและอุปสมบท
แก้- พระเทพมงคลวัชราจารย์ (เหลือง ฉนฺทาคโม) เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น ขณะอายุ 17 ปี บรรพชา ณ วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา มี พระเดชพระคุณ พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระอุปัชฌาย์
- เมื่ออายุครบ20ปีบริบูรณ์ เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสุทธจินดาจังหวัดนครราชสีมา มี เจ้าประคุณ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เมื่อดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณดิลก เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาเขียน ฐิตฺสีโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูสมุห์ฉัตร ธมฺมปาโล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า ฉนฺทาคโม
- หลังอุปสมบทก็อยู่จำพรรษาที่วัดป่าศรัทธาราม ทั้งปฏิบัติและเรียนนักธรรมไปพร้อมกัน พ.ศ. 2490สอบได้นักธรรมชั้นเอก
ปีต่อมา ย้ายไปอยู่วัดป่าศรัทธาราม สวดปาติโมกข์และช่วยสอนนักธรรมพระอาจารย์บุญมาที่อยู่วัดศาลาทอง ก่อนไปพำนักอยู่ที่วัดป่าสาละวัน ใกล้เข้าพรรษา พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ป.ธ.9 วัดสุทธจินดา พาไปจำพรรษาที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ครั้งหนึ่ง ท่านไปช่วยสวดปาฏิโมกข์และสอนนักธรรมที่วัดป่าสักกาวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนย้ายกลับมาอยู่จำพรรษาที่วัดรังสีปาลิวัน บ้านโพน เพื่อตั้งใจฝึกปฏิบัติ และคอยช่วยสอนนักธรรมให้พระ พร้อมกับอบรมทายกทายิกาเกือบทุกวันในพรรษา
การศึกษา
แก้- พ.ศ. ๒๔๙๐ สอบได้ นักธรรมชั้นเอก
การปกครองบริหารกิจการคณะสงฆ์
แก้- เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดป่าสักกาวัน อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
- พ.ศ. 2497 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็น ผู้ช่วยเจ้าคณะอำเภออำเภอสหัสขันธ์(ธ.) จังหวัดกาฬสินธุ์
- พ.ศ. 2515 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการเป็นเจ้าอาวาสวัดกระดึงทอง (ธ.) ตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2519 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์
- พ.ศ. 2521 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการ เป็นเจ้าคณะอำเภออำเภอเมืองบุรีรัมย์(ธ.) จังหวัดบุรีรัมย์
- พ.ศ. 2522 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นรักษาการแทนเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์(ธ.)
- พ.ศ. 2523 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางพระสังฆาธิการ เป็นเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์(ธ.)
- พ.ศ. 2550 ได้รับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดบุรีรัมย์(ธ.)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- พ.ศ. 2565 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์สุวัตถารา ชั้นมหาศิริวัฒน์ ระดับชั้นเอก ประเทศกัมพูชา
สมณศักดิ์
แก้- พ.ศ. 2499 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงสมณศักดิ์พัดยศฐานานุกรม พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ในพระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล) ป.ธ.9 ฐานานุศักดิ์ที่ พระสมุห์เหลือง ฉนฺทาคโม [3]
- พ.ศ. 2518 เป็น พระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่ พระครูวิริยาภิวัฒน์[4] (26 ธันวาคม พ.ศ. 2518)
- พ.ศ. 2527 เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญยก ในราชทินนามที่ พระชินวงศาจารย์,(สย.) [5] (5 ธันวาคม พ.ศ. 2527)
- พ.ศ. 2535 เป็น พระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามที่ พระราชปัญญาวิสารัท ปฏิบัติสัทธรรมพินิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [6] (12 สิงหาคม พ.ศ. 2535)
- พ.ศ. 2564 เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามที่ พระเทพมงคลวัชราจารย์ ภาวนาวิธานโกศล โสภณประชาธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [7] (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564)[8]
มรณภาพ
แก้- พ.ศ. 2566 ถึงแก่มรณภาพ[9]ด้วยอาการสงบด้วยโรคชราภาพ ณ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เวลา 02.45น. วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ https://siamrath.co.th/n/252197
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-05. สืบค้นเมื่อ 2022-12-05.
- ↑ https://www.facebook.com/photo/?fbid=5314135105380963&set=pcb.631422168592028
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๒, ตอนที่ ๒๖๓, ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ , ฉบับพิเศษ หน้า ๓๐ .พระสมุห์เหลือง วัดกระดึงทอง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็น พระครูวิริยาภิวัฒน์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๒, ตอนที่ ๑๗ ง, ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๘ , หน้า ๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๙, ตอนที่ ๑๐๑ ง, ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕, หน้า ๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๘, ตอนที่ ๒๖ ข, ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔, หน้า ๑
- ↑ https://www.thairath.co.th/news/local/2086831
- ↑ https://www.dailynews.co.th/news/1876780/
- ↑ https://www.bangkokbiznews.com/news/news-update/1047124