พระอริยเวที (เขียน ฐิตสีโล)

พระอริยเวที (หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล),ป.ธ.9 (29 ตุลาคม พ.ศ. 2456 - 21 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2547) เป็นพระภิกษุสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกาย ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ มีราชทินนามจารึกตามสัญญาบัตรว่า พระอริยเวที อดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา,อดีตเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์ และอดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ธรรมยุต

พระอริยเวที

(เขียน ฐิตสีโล)
ชื่ออื่นพระอาจารย์เขียน,หลวงปู่เขียน,เจ้าคุณเขียน ป.ธ.9
ส่วนบุคคล
เกิด29 ตุลาคม พ.ศ. 2456 (90 ปี)
มรณภาพ21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
นิกายธรรมยุตินิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก,ป.ธ.9
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดรังสีปาลิวัน กาฬสินธุ์
บรรพชา6 กรกฎาคม พ.ศ. 2470
อุปสมบท26 พฤษภาคม พ.ศ. 2477
พรรษา69
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดสุทธจินดาวรวิหาร จังหวัดนครราชสีมา
อดีตเจ้าอาวาสวัดรังสีปาลิวัน จังหวัดกาฬสินธุ์
อดีตเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ธรรมยุต

เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า รวมทั้ง เป็นเพื่อนสหธรรมิกกับสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก,ป.ธ.9 และพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน),ป.ธ.3 ตั้งแต่ครั้งสมัยที่ท่านทั้งสามยังมีอายุพรรษาไม่มากนัก

ประวัติ แก้

พระอริยเวที (หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล] ท่านมีนามเดิมว่า เขียน ภูสาหัส ท่านเกิดเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ณ บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายสังข์ และนางค้อม นามสกุลภูสาหัส เป็นพระเถราจารย์ผู้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เป็นที่น่าเคารพสักการบูชาของบรรดาศิษยานุศิษย์ ซึ่งเป็นที่ประจักษ์แก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า [1] เมื่อมีอายุได้ 15 ปี ท่านได้ออกบรรพชาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และอุปสมบทเมื่อมีอายุได้ 21 ปี เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระโพธิวงศาจารย์ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระญาณดิลก (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นพระอนุสาวนาจารย์[2] หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านก็ออกศึกษาวิชาความรู้เพิ่มเติมจากพระอาจารย์อีกหลายท่าน จนท่านสามารถสอบไล่ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นการสำเร็จการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีชั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย

ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ แก้

ลำดับสมณศักดิ์ แก้

งานด้านการศึกษาสงฆ์ แก้

  • พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2481 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดสุทธจินดา และวัดศาลาทอง อ.เมือง จ.นครราชสีมา
  • พ.ศ. 2482 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ และสำนักเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ

ในปี พ.ศ. 2487 หลวงปู่เขียน ได้เข้ากราบฟังธรรม ปฏิบัติธรรม ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หลังจากที่สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยคใหม่ ๆ โดย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้นำไปฝาก ทั้งนี้ เพื่อประสงค์ให้หลวงปู่ท่านได้เป็นศาสนทายาทที่มีความหนักแน่นมั่นคง ทั้งด้านปริยัติธรรมและด้านปฏิบัติ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่พระภิกษุสามเณรในภายภาคหน้า หลังจากที่ท่านได้ฟังธรรมและปฏิบัติได้ดีแล้ว ท่านจึงออกธุดงค์ กัมมัฏฐานไปตามป่าเขาลำเนาไพรในจังหวัดต่างๆ จนออกไปถึงประเทศลาว และแวะเวียนมาเข้ากราบฟังธรรมจากพระอาจารย์มั่นเป็นระยะ ๆ

หลวงปู่เขียน ทั้งอุทิศตน ทั้งบำเพ็ญปฏิบัติทางด้านประโยชน์ให่แก่ทางด้านพระพุทธศาสนาไม่น้อย ทั้งด้านการศึกษา ทางด้านการปกครอง ท่านปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ต่อมาหลวงปู่เขียนได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสรูปที่ 3 ของวัดสุทธจินดา เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2490 ท่านได้บริหารวัด ช่วยสร้างสิ่งใหม่ ๆ ให้กับวัด ทั้งตั้งเป้าหมายสูง มีระเบียบกับสามเณรและภิกษุสงฆ์อย่างเคร่งครัด รวมทั้งมีการคดเลือกหมู่คณะให้ไปรับการอบรมเป็นนักเรียนครู และ นักเรียนการปกครอง ที่วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ เพื่อให้กลับมาเป็นบุคลากรบริหารวัดช่วยเจ้าอาวาส อนุสรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ท่านได้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิ “สุทธจินดาราชสีมามูลนิธิ" [4] ต่อมาท่านก็เดินธุดงค์ออกไปยังถ้ำจนเป็นที่พอแก่กาลแล้ว จึงกลับมาสู่มาตุภูมิและสร้างวัดรังสีปาลิวันในปัจจุบัน เพื่อนำพระภิกษุสามเณร ประชาชนศึกษาธรรมและประพฤติธรรมจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และได้ช่วยเหลืองานทางด้านพระพุทธศาสนา จนตราบกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 [5]

ศิษยานุศิษย์คนสำคัญ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ลานธรรมจักร
  2. หลวงปู่เขียน ฐิตสีโล[ลิงก์เสีย]
  3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๖๔, ตอนที่ ๒๗ ง, ๑๗ มิถุนายน ๒๔๙๐, หน้า ๑๕๓๒
  4. อัตโนประวัติหลวงปู่เขียน[ลิงก์เสีย]
  5. "วัตถุมงคลพร้อมชีวประวัติ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-28. สืบค้นเมื่อ 2011-10-13.