สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร

กษัตริย์สหราชอาณาจักร

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 (อังกฤษ: George VI of the United Kingdom; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 — 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ และเครือจักรภพอังกฤษระหว่าง ค.ศ. 1936 ถึง ค.ศ. 1952 เป็นจักรพรรดิอินเดียพระองค์สุดท้าย (จนกระทั่ง ค.ศ. 1947) และเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเสรีรัฐไอริชในทางนิตินัยพระองค์สุดท้าย (จนกระทั่ง ค.ศ. 1949)

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6
ประมุขเเห่งเครือจักรภพ
พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
และเครือจักรภพ
ครองราชย์11 ธันวาคม 1936 – 6 กุมภาพันธ์ 1952
(15 ปี 57 วัน)
ราชาภิเษก12 พฤษภาคม 1937
ก่อนหน้าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8
ถัดไปพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
นายกรัฐมนตรี
จักรพรรดิแห่งอินเดีย
ครองราชย์11 ธันวาคม 1936 – 14 สิงหาคม 1947
(10 ปี 246 วัน)
ก่อนหน้าพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8
ถัดไปสิ้นสุดระบอบจักรพรรดิ
พระราชสมภพ14 ธันวาคม ค.ศ. 1895(1895-12-14)
ตำหนักซานดริงแฮม, นอร์ฟอล์ก, สหราชอาณาจักร
สวรรคต6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952(1952-02-06) (56 ปี)
ตำหนักซานดริงแฮม, นอร์ฟอล์ก, สหราชอาณาจักร
ฝังพระบรมศพ15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952
Royal Vault, โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์
26 มีนาคม ค.ศ. 1969
King George VI Memorial Chapel, โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์
คู่อภิเษกเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออน (สมรส 1923)
พระราชบุตร
พระนามเต็ม
อัลเบิร์ต เฟรเดริก อาเธอร์ จอร์จ
ราชวงศ์
พระราชบิดาสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร
พระราชมารดามาเรียแห่งเท็ค
ศาสนาแองกลิคัน
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าจอร์จที่ 6 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 ณ ตำหนักซานดริงแฮม นอร์โฟลกในอังกฤษ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สองในพระเจ้าจอร์จที่ 5 และสมเด็จพระราชินีแมรี และครองราชย์ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1936 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952 ที่ตำหนักซานดริงแฮม นอร์ฟอล์ก

พระเจ้าจอร์จที่ 6 มิได้เป็นที่หวังว่าจะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินและทรงใช้เวลาสมัยแรกอยู่เบื้องหลังพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 พระเชษฐา ทรงรับราชการในราชนาวีระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หลังสงครามแล้วก็ทรงปฏิบัติพระกรณียกิจต่าง ๆ ในสังคม ต่อมาเสกสมรสกับเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออนใน ค.ศ. 1923 และมีพระราชธิดาสองพระองค์คือ สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และเจ้าหญิงมาร์กาเรต เคาน์เตสแห่งสโนว์ดอน

หลังจากพระราชบิดาเสด็จสวรรคตใน ค.ศ. 1936 พระเชษฐาก็ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 แต่ไม่ทันถึงปีพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็มีพระประสงค์ที่จะแต่งงานกับนางวอลลิส ซิมพ์สัน สตรีหม้ายชาวอเมริกัน แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและทางศาสนา สแตนลีย์ บอลด์วิน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรถวายคำแนะนำว่าการที่จะอภิเษกสมรสกับวอลลิส ซิมป์สันแล้วยังเป็นพระมหากษัตริย์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 จึงทรงสละราชสมบัติเพื่อแต่งงานกับวอลลิส ซิมป์สัน เจ้าชายอัลเบิร์ตซึ่งเป็นดยุกแห่งยอร์กในขณะนั้นจึงทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามในราชวงศ์วินด์เซอร์ทรงพระนามสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 ต่อจากพระเชษฐาซึ่งนักวิชาการได้สันนิษฐานว่าการใช้พระนามจอร์จนั้นเป็นกุศโลบายเพื่อให้ประชาชนไม่ตื่นตระหนักในการเสวยราชสมบัติของพระองค์

ภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทรงขึ้นครองราชย์รัฐสภาเสรีรัฐไอริชก็ผ่าน “พระราชบัญญัติความสัมพันธ์ภายนอก” (External Relations Act 1936) ซึ่งริบพระราชอำนาจเกือบทั้งหมดของพระองค์ในไอร์แลนด์ (ยกเว้นด้านการทูต) เหตุการณ์อื่น ๆ ที่มีผลในการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในรัชสมัยของพระองค์ได้แก่ 3 ปีหลังจากทรงขึ้นครองราชย์ราชอาณาจักรของพระองค์นอกจากไอร์แลนด์เข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อต้านนาซีเยอรมนี สองปีต่อมาก็เข้าสงครามต่อต้านราชอาณาจักรอิตาลีและหลังจากนั้นจักรวรรดิญี่ปุ่น ผลจากสงครามคือการเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิบริติชโดยสหรัฐและสหภาพโซเวียตขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทนที่ ใน ค.ศ. 1947 ขบวนการแยกตัวเพื่ออิสรภาพของอินเดียและปากีสถานก็เริ่มมีความแข็งแกร่งขึ้น สาธารณรัฐไอร์แลนด์ประกาศตัวเป็นอิสระใน ค.ศ. 1949 ในรัชสมัยของพระองค์เป็นสมัยของการสลายตัวของจักรวรรดิอังกฤษไปเป็นเครือจักรภพ

ชีวิตในวัยเยาว์

แก้

พระเจ้าจอร์จที่ 6 ประสูติที่ยอร์กคอทเทจ ในตำหนักซานดริงแฮมในนอร์ฟลอค์ ในรัชสมัยของพระปัยยิกาคือ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร พระราชบิดาของพระองค์คือเจ้าชายจอร์จ ดยุกแห่งยอร์ก (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5) เป็นพระโอรสองค์ที่สองของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ (ต่อมาคือสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร และ สมเด็จพระราชินีอเล็กซานดรา พระมารดาของพระองค์คือดัสเชสแห่งยอร์ก (ต่อมาคือสมเด็จพระราชินีแมรี พระธิดาพระองค์ใหญ่และพระองค์เดียวของดยุกและดัสเชสแห่งเท็ค)

วันพระราชสมภพของพระองค์คือวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 ซึ่งตรงกับวันครบรอบวันสิ้นพระชนม์ของพระปัยกา เจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามี ครบ 34 ปี ซึ่งเป็นที่มาของพระนามของพระองค์ ซึ่งคือ เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งยอร์ก โดยพระองค์มีชื่อเล่นที่เรียกกันในพระราชวงศ์ว่า "เบอร์ตี้" (Bertie) ในขณะนั้นทรงอยู่ในลำดับที่ 4 ของการสืบราชสันตติวงศ์ โดยต่อจากพระอัยกา พระบิดา และพระเชษฐา

สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เสด็จสวรรคตเมื่อ 22 มกราคม ค.ศ. 1901 และเจ้าชายแห่งเวลส์ได้สืบราชบัลลังก์ต่อโดยมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งทำให้พระองค์เลื่อนขึ้นมาอยู่ในลำดับที่สามของการสืบราชสันตติวงศ์ในขณะนั้น

กษัตริย์ผู้พูดติดอ่าง

แก้

ด้วยปัญหาติดตัวมานับแต่วัยเยาว์กับการพูดติดอ่าง[1] ผลพวงของชีวิตวัยเยาว์อันไม่ราบรื่นจากพระบิดาและแม่นมชอบว่ากล่าวดุด่าบ่อยครั้ง พระองค์จึงเติบโตมาด้วยอุปนิสัยขี้อาย ไม่กล้าพูดจาปราศรัยต่อสังคม ก่อเกิดอาการติดอ่าง เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่รบกวนพระองค์ตลอดระยะเวลาก่อนขึ้นครองราชย์ จวบจนเมื่อขึ้นครองราชย์แล้วไม่วายยังแก้ไขไม่สำเร็จเสียทีเดียว เนื่องจากการแพทย์ในสมัยนั้นยังหาทางจัดการให้ถูกวิธีไม่ได้ ซึ่งนั่นก็สร้างความหงุดหงิดใจแก่พระองค์ไม่ใช่น้อย

ช่วงก้ำกึ่งระหว่างก่อนขึ้นครองราชย์ พระองค์ต้องออกงานสังคมมากมายตามภาระหน้าที่ และเมื่อได้รับความช่วยเหลือจากเอลิซาเบธ โบวส์-ลีออนผู้เป็นพระชายาและดัสเชสแห่งยอร์ก(ในขณะนั้น) ทำให้ได้รับการรักษาจาก ไลโอเนล โล้ก (Lionel Logue) จนหายเป็นปกติ

พระราชบุตร

แก้

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 และ สมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ พระราชชนนี มีพระราชธิดาด้วยกัน 2 พระองค์ ซึ่งเสด็จพระราชสมและประสูติในวันที่ 21 เหมือนกัน คือ

 
พระเจ้าจอร์จที่ 6 พร้อมพระราชินีเสด็จงานนิทรรศการโลก ประเทศแคนาดา ค.ศ. 1939
พระนาม พระราชสมภพ/ประสูติ สวรรคต/สิ้นพระชนม์ คู่สมรส พระราชบุตร/พระบุตร
สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 21 เมษายน 1926 8 กันยายน 2022 เจ้าชายฟิลิปแห่งกรีซและเดนมาร์ก
(สิ้นพระชนม์ 9 เมษายน 2021)
สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3
เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี
เจ้าชายแอนดรูว์ ดยุกแห่งยอร์ก
เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งเอดินบะระ
เจ้าหญิงมาร์กาเรต 21 สิงหาคม 1930 9 กุมภาพันธ์ 2002 แอนโทนี อาร์มสตรอง-โจนส์ เอิร์ลที่ 1 แห่งสโนว์ดอน (หย่า) เดวิด อาร์มสตรอง-โจนส์ เอิร์ลที่ 2 แห่งสโนว์ดอน
เลดีซาราห์ แชตโท

พระบรมราชอิสริยยศ และตราอาร์ม

แก้
  • 14 ธันวาคม 1895 – 28 พฤษภาคม 1898: ฮิสไฮเนส เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งยอร์ก (His Highness Prince Albert of York)
  • 28 พฤษภาคม 1898 – 22 มกราคม 1901: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งยอร์ก (His Royal Highness Prince Albert of York)
  • 22 มกราคม 1901 – 9 พฤศจิกายน 1901: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งคอร์นวอลล์และยอร์ก (His Royal Highness Prince Albert of Cornwall and York)
  • 9 พฤศจิกายน 1901 – 6 พฤษภาคม 1910: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งเวลส์ (His Royal Highness Prince Albert of Wales)
  • 6 พฤษภาคม 1910 – 4 มิถุนายน 1920: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายอัลเบิร์ต (His Royal Highness The Prince Albert)
  • 4 มิถุนายน 1920 – 11 ธันวาคม 1936: ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายอัลเบิร์ต ดยุกแห่งยอร์ก (His Royal Highness The Duke of York)
  • 11 ธันวาคม 1936 – 6 กุมภาพันธ์ 1952: ฮิสมาเจสตี สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งสหราชอาณาจักร(His Majesty The King of the United Kingdom)
    • ในบริติชอินเดีย ระหว่าง 11 ธันวาคม 1936 – 14 สิงหาคม 1947: จักรพรรดิแห่งอินเดีย (His Imperial Majesty The King-Emperor)[2]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้
 
 
 
 
ตราอาร์มในตำแหน่งดยุกแห่งยอร์ก ตราอาร์มในตำแหน่งกษัตริย์สหราชอาณาจักร(ไม่รวมสกอตแลนด์) ตราอาร์มในสกอตแลนด์ ตราอาร์มในแคนาดา

อ้างอิง

แก้
  1. https://www.goodhousekeeping.com/life/a31046282/king-george-vi-stutter-speech/
  2. "The Gazette of India – Extraordinary" (PDF). Press Information Bureau of India – Archive. สืบค้นเมื่อ July 6, 2017.
  3. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2021-04-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร

ก่อนหน้า สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร ถัดไป
เอ็ดเวิร์ดที่ 8   พระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร
(ราชวงศ์วินด์เซอร์)

(ค.ศ. 1936 – 1952)
  เอลิซาเบธที่ 2
เอ็ดเวิร์ดที่ 8   จักรพรรดิอินเดีย
(ค.ศ. 1936 – 1947)
  ไม่มี
(อินเดียเป็นเอกราช)
ไม่มี
(สถาปนาอิสริยยศ)
  พระประมุขแห่งเครือจักรภพ
(ค.ศ. 1949–1952)
  เอลิซาเบธที่ 2