พระราชวัชรโพธิคุณ (โพธิ์ จนฺทสโร)
พระราชวัชรโพธิคุณ, วิ.(โพธิ์ จนฺทสโร) เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พระราชวัชรโพธิคุณ, วิ. (โพธิ์ จนฺทสโร) | |
---|---|
ชื่ออื่น | อาจารย์โพธิ์ |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ธันวาคม พ.ศ. 2475 (92 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมชั้นตรี |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | ธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม) สุราษฎร์ธานี |
อุปสมบท | 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 |
พรรษา | 72 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล |
ประวัติ
แก้พระราชวัชรโพธิคุณ, วิ. มีนามเดิมว่า โพธิ์ ขวัญละไม เกิดเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ที่บ้านละไม ตำบลมะเร็ต อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง 9 คน ของ นายสิน ขวัญละไม – นางดำ สมวงศ์ จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดละไม
อุปสมบทเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ณ พัทธสีมาวัดละไม โดยมี พระครูทีปาจารคุณารักษ์ (มี อินฺทสุวณฺโณ) เจ้าคณะอำเภอเกาะสมุย เจ้าอาวาสวัดสำเร็จ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูประยุตธรรมโสภิต (ทองไหล สิริวฑฺฒโณ) เจ้าคณะตำบลหน้าเมือง เจ้าอาวาสวัดละไม เป็นพระกรรมวาจาจารย์, พระครูพิทักษ์ทีปาจารย์ (นาค มุนินาโค) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสำเร็จ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า จนฺทสโร
เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาแรกที่วัดละไม กับ พระครูประยุตธรรมโสภิต ต่อมาได้ไปศึกษาวิปัสสนากัมมัฏฐาน กับ พระครูสมถกิตติคุณ (แดง ปิยสีโล) วัดบุณฑริการาม 1 พรรษา และ หลวงพ่อแดง ติสฺโส วัดแหลมสอ อีก 9 พรรษา และมีโอกาสตามหลวงพ่อแดง วัดแหลมสอ ไปสวนโมกข์ครั้งแรก ปี 2498 แต่ไม่พบท่านอาจารย์พุทธทาส ต่อมาไปอีกหลายครั้ง พักสวนโมกข์ครั้งละเดือน สองเดือนบ้าง มาอยู่ที่สวนโมกข์ แล้วก็เกาะสมุย ท่านอาจารย์พุทธทาสก็มอบหนังสือคราวละเล่ม ทุกคราว
เมื่อท่านอาจารย์พุทธทาสกำลังสร้างโรงมหรสพทางวิญญาณ ปี 2506 ได้มีจดหมายย่อ ๆ ว่า “คุณโพธิ์...มาช่วยทำงานเสียสละเพื่อส่วนรวมกันบ้าง ที่สวนโมกข์” จึงตัดสินใจไปอยู่ช่วยงานเผยแผ่พุทธศาสนาที่สวนโมกขพลาราม ตั้งแต่บัดนั้นตราบจนปัจจุบัน และได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้ดูแลวัดธารน้ำไหล เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก เมื่อคราวท่านอาจารย์พุทธทาสมีอายุครบ 80 ปี อันเป็นแบบอย่างให้พระภาวนาโพธิคุณ ดำเนินรอยตามด้วยการลาออกจากเจ้าอาวาสเมื่อ ธันวาคม 2555 จนมีเหตุปัจจัยให้กลับมาเป็นเจ้าอาวาสอีกครั้งในปี 2561
พระราชวัชรโพธิคุณ, วิ. มีความตั้งใจตอบแทนบุญคุณแผ่นดินเกิด เมื่อเห็นความเจริญจากการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่อาจส่งผลต่อเอกลักษณ์และวัฒนธรรมอันดีงามที่มาแต่เดิม แม้จบการศึกษา ป.4 แต่เรียนรู้ฝึกฝนด้วยตนเองจนสามารถบรรยาย/สอนเป็นภาษาอังกฤษได้ จึงหาทางชักชวนชาวต่างชาติให้มาปฏิบัติธรรม มาสนใจพุทธศาสนา ด้วยการจัดอบรมฝรั่งที่วัดแหลมสอ ต่อมาได้รับการสนับสนุนจากท่านอาจารย์พุทธทาสให้สร้าง “สวนโมกข์นานาชาติ” เมื่อปี 2530 เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมสำหรับชนทุกชาติ และได้กลับมาสานงานต่อที่แผ่นดินเกิด ด้วยการก่อตั้ง “ทีปภาวันธรรมสถาน” เปิดการอบรมครั้งแรกเมื่อปี 2548
ปัจจุบัน พระราชวัชรโพธิคุณ, วิ. ยังนำสมาธิภาวนาที่ สวนโมกขพลาราม, ธรรมนาศรมนานาชาติ และ ทีปภาวันธรรมสถาน เกาะสมุย เป็นประจำทุกเดือน
- วันที่ 7 กรกฎาคม 2529 เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล (ครั้งแรก)
- วันที่ 11 กรกฎาคม 2561 เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล (ครั้งที่สอง)
รางวัลเกียรติคุณ
แก้- วันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ครูสอนปริยัติธรรมประจำวัดธารน้ำไหล
- วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาหลักสูตรและการสอน สภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[1]
- วันที่ 22 เมษายน 2553 รางวัลพุทธคุณูปการ ประเภทรัชตเกียรติคุณ จากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร[2]
สมณศักดิ์
แก้- 5 มีนาคม พ.ศ. 2534 ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงสมณศักดิ์ฐานานุกรม พระราชาคณะชั้นธรรม ในพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) (พุทธทาสภิกขุ) ที่ พระครูปลัดศีลวัฒน์
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โปรดพระราชทานสัญญาบัตร เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูภาวนาชัยคุณ[3]
- 12 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระภาวนาโพธิคุณ, (สย.วิ.) [4]
- 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 โปรดพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชวัชรโพธิคุณ, (วิ.) วิบุลภาวนาวรกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 25 กุมภาพันธ์ 2553. รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. ครั้งที่ 2/2553. อินเทอร์เน็ต. เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2565.
- ↑ สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 25 กันยายน 2553. พิธีมอบรางวัลพุทธคุณูปการ. เข้าถึงได้จาก https://dl.parliament.go.th/handle/lirt/574407 อินเทอร์เน็ต. เข้าถึงเมื่อ 30 สิงหาคม 2565.
- ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์". ราชกิจจานุเบกษา. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. p. 12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf)เมื่อ 2022-11-18. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์". ราชกิจจานุเบกษา. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. p. 14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-20. สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์". ราชกิจจานุเบกษา. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. p. 6. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-11-18. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help)