สาธารณรัฐประชาชนจีน

中华人民共和国; 中華人民共和國 (จีน)
ที่ตั้งของจีน
เมืองหลวงปักกิ่ง
เมืองใหญ่สุดเซี่ยงไฮ้
ภาษาราชการภาษาจีน[1]
การปกครองคอมมิวนิสต์[2][3][4]
สี จิ้นผิง [5]
หลี่ เค่อเฉียง [6]
ก่อตั้ง
• ประกาศสถาปนา
1 ตุลาคม 2492
พื้นที่
• รวม
9,640,821 ตารางกิโลเมตร (3,722,342 ตารางไมล์) (3/4)
2.82
ประชากร
• 2555 ประมาณ
1,356,660,000[7] (1)
• สำมะโนประชากร 2553
1,339,724,852[8] (1)
139.6 ต่อตารางกิโลเมตร (361.6 ต่อตารางไมล์) (81)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2554 (ประมาณ)
• รวม
11.299 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (2)
8,382 ดอลลาร์สหรัฐ (91)
จีดีพี (ราคาตลาด) 2554 (ประมาณ)
• รวม
7.298 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (2)
5,413 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (90)
จีนี (2550)41.5[10]
ข้อผิดพลาด: ค่าจีนีไม่ถูกต้อง
เอชดีไอ (2554)เพิ่มขึ้น 0.663[11]
ข้อผิดพลาด: ค่า HDI ไม่ถูกต้อง · 89
สกุลเงินหยวนเหรินหมินปี้ (RMB¥) (CNY)
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานจีน)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+8
ขับรถด้านขวามือ 2
รหัสโทรศัพท์862
รหัส ISO 3166CN
โดเมนบนสุด.cn2, .中國[12], .中国
1 9,598,086 กม.2 หากไม่นับรวมดินแดนพิพาททั้งหมด
9,640,821 กม.2 นับรวมพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจีน (อัคสัยจินและพื้นที่ทรานส์คาราคอรัม ซึ่งดินแดนทั้งสองนี้อ้างสิทธิ์โดยอินเดีย) ไม่นับรวมไต้หวัน[13]
2ข้อมูลเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่เท่านั้น ไม่นับรวมฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน


โครงสร้างอำนาจของรัฐ [14] แก้

ประเทศสาธารณะรัฐประชาชนจีน(People's Republic of China)สถาปนาประเทศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2492 มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนดำเนินการ ปกครองประเทศตามแนวทางพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ์-เลนิน และความคิดเหมา เจ๋อตง โดยประยุกต์เข้ากับแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความทันสมัย ให้แก่ระบอบสังคมนิยมของนายเติ้ง เสี่ยวผิง พรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นแกนนำด้านการปกครอง โดยมีพรรคการเมืองอื่นอีก 8 พรรค เป็นแนวร่วม ภายใต้การปกครองในลักษณะสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแบบจีน


พรรคคอมมิวนิสต์จีน แก้

สาธารณรัฐประชาชนจีนปกครองในระบบ สังคมนิยมคอมมิวนิสต์มีพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งมีสมาชิกประมาณ 68 ล้านคน (สถิติปี 2547) โดยรัฐบาลและรัฐสภามีหน้าที่คอยปฏิบัติตามมติและนโยบาย ที่พรรคกำหนดโดยยึดหลักประชาธิปไตยรวมศูนย์ (Democratic Centralism) ตามธรรมนูญพรรค กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติ (Party Congress) ทุก 5 ปี นับตั้งแต่ได้มีการจัดตั้งพรรคขึ้นในปี 2464 จนถึงปัจจุบัน พรรคคอมมิวนิสต์จีนประกอบไปด้วยองค์กรหลายระดับดังต่อไปนี้

  • สมัชชาแห่งชาติ (National Party Congress, NPC)

เป็นองค์กรนำสูงสุดของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเป็นศูนย์รวมของผู้นำของพรรคฯ ซึ่งมาจากทั่วประเทศจำนวนหนึ่ง ตามปกติมีการประชุมสมัชชาทุกๆ 5 ปี การประชุมสมัชชาพรรคแห่งชาติแต่ละครั้งจะบ่งบอกทิศทางนโยบายการบริหารประเทศ มีอำนาจหน้าที่ในการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคฯ ตรวจสอบและรับรองรายงานทางการเมือง ของคณะกรรมการกลาง คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลาง และคณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัย

  • คณะกรรมการกลางของพรรคฯ (Chiness Communist Party Central Committee)

ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของพรรค มีเลขาธิการใหญ่ (General Secretariat) ของพรรคเป็นประธานโดยตำแหน่งประชุมปีละ2ครั้งในช่วงปลอดการประชุมอำนาจหน้าที่ส่วนใหญ่ ตกอยู่กับคณะกรรมการเมือง

  • คณะกรรมการเมืองของพรรค (Politburo)
  • คณะกรรมการประจำของคณะกรมการเมือง (Politburo Standing Committee,PSC)
  • สำนักเลขาธิการกลาง

ทำหน้าที่เป็นศูนย์การบริหารงานประจำวันของคณะกรรมการกลาง โดยมีเลขาธิการพรรคฯเป็นผู้บังคับบัญชา มี5 ฝ่าย คือ ฝ่ายจัดตั้งองค์กร ฝ่ายโฆษณาการ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ ศูนย์วิจัยนโยบายและศูนย์วิจัยเอกสาร

  • คณะกรรมาธิการทหาร (Military Commission)

สังกัดคณะกรรมการกลางของพรรคฯ มีหน้าที่กำหนดนโยบายการป้องกันประเทศ ควบคุมดูแลกองทัพ และการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารระดับสูง

  • คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาส่วนกลาง (Central Advisory Commission)
  • คณะกรรมาธิการตรวจสอบวินัยส่วนกลาง (Central Commission for Disciplinary Inspection)

คณะกรรมาธิการชุดนี้ติดตามตรวจสอบการละเมิดวินัยของพรรคฯ

ฝ่ายบริหาร แก้

การบริหารของจีน แบ่งเป็น 2 ระดับใหญ่ ได้แก่

การบริหารส่วนกลาง แก้

ได้แก่ สมัชชาประชาชนแห่งชาติ ประธานาธิบดี คณะมุขมนตรี/คณะรัฐมนตรี

  • สมัชชาประชาชนแห่งชาติ (National People's Congress)

ตามนิตินัยหรือตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้สมัชชาแห่งชาติเป็นองค์กรอำนาจรัฐสูงสุด แต่ตามพฤตินัยอำนาจดังกล่าวเป็นเพียงพิธีการ อำนาจหน้าที่ของสมัชชาประชาชนแห่งชาติที่สำคัญ ได้แก่ การบัญญัติและแก้ไขกฎหมาย การแต่งตั้งประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีตามที่พรรคฯเสนอ การแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรีตามที่ประธานาธิบดีเสนอ การแต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ พิจารณาและอนุมัติงบประมากและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  • คณะกรรมการประจำของสมัชชาประชาชนแห่งชาติ (Standing Committee of National People's Congress)
  • คณะกรรมาธิการทหารแห่งรัฐ (PRC Central Military Commission)

ทำหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการบริหารกองทัพ สมัชชาประชาชนแห่งชาติทำหน้าที่แต่งตั้งและถอดถอน ประธานกรรมาธิการและทหารแห่งรัฐ

  • ประธานาธิบดี(President) กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ
  • คณะรัฐบาล (State Government) ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี

ประธานคณะกรรมาธิการต่างๆที่มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง คณะรัฐบายมีการแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ คณะมุขมนตรี และคณะรัฐมนตรี

การบริหารระดับท้องถิ่น แก้

ตามมาตรา 30 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระบบการปกครองของจีน จำนกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

  • ระดับที่1 คือ รัฐบาลกลางมีอำนาจควบคุมการปกครองและการตัดสินใจทั้งหมดของรัฐบาลท้องถิ่น

ยกเว้นเขตปกครองตนเองที่ยังมีอำนาจอิสระในบางเรื่อง

  • ระดับที่2 ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แบ่งการบริหารในระดับท้องถิ่นออกเป็น 22 มณฑล

5เขตปกครองตนเอง 4เขตมหานคร และ 2 เขตบริหารพิเศษ

  • ระดับที่3 ได้แก่จังหวัดในเมืองใหญ่
  • ระดับที่ 4 ได้แก่ อำเภอ/เขตปกครองตนเองอำเภอ/เทศบาลเมือง
  • ระดับที่ 5 ได้แก่ ตำบลและชุมชนเมืองเล็กๆ

กองทัพปลดออกประชาชน แก้

กองทัพปลกแอกประชาชน (The People's Liberation Army,PLA) อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งในคณะมุขมนตรี และขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และยังถูกควบคุมโดยคณะกรรมาธิการทหาร

องค์กรอื่นๆ แก้

  • ศาลประชาชน(People's Court) ทำหน้าที่พิจารณาคดีตามกฎหมาย
  • อัยการประชาชน(People's Procuratorates) ทำหน้าที่ฟ้องร้องคดีต่างๆตามผลการสอบสวนของตำรวจ
  • การประชุมที่ปรึกษาทางการเมืองแห่งประชาชนจีน (Chinese People's Political Consultation Conference)


หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีและหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลนโยบายการเงินของประเทศ แก้

กระทรวงการคลัง [15] แก้

  • หน้าที่หลักของกระทรวงการคลัง
1.กำหนดและดำเนินการทางด้านการเงิน พัฒนายุทธศาสตร์ด้านการเก็บภาษี กำหนดนโยบายเศรษฐกิจมหาภาค กำหนดและดำเนินการทางด้านการเงินส่วนกลางกับท้องถิ่นรัฐ

และนโยบายการแบ่งสันปันส่วนของวิสาหกิจ


2.กำหนดและดำเนินการทางด้านการคลัง การเงิน ระบบระเบียบข้อบังคับในการบริหารจัดการบัญชี จัดตั้งองค์กรการเงินระหว่างประเทศ เจรจาต่อรองระหว่างประเทศในการชำระหนี้และลงนาม

ในสนธิสัญญาข้อตกลงฉบับร่าง


3.จัดทำงบประมาณกับงบดุลส่วนกลางประจำปีและจัดตั้งองค์กรที่จะดำเนินงาน ได้รับมอบหมายจากรัฐสภาให้เป็นตัวแทนในการกล่าวรายงานต่อสภาแห่งชาติในนามของส่วนกลาง,

งบประมาณท้องถิ่นและการดำเนินงาน รายงานงบดุลประจำปีต่อคณะกรรมาธิการ บริหารจัดการเงินภาษีรายได้ส่วนกลาง บริหารจัดการงบประมาณส่วนกลางเงินทุนระหว่างประเทศและบัญชีการเงิน

บริหารจัดการเงินกองทุนของรัฐบาล


4.เสนอแบบแผนการออกกฎหมายการเก็บภาษี ตรวจสอบและรายงานการบริหารจัดการทรัพยากรและการเก็บภาษีทั้งหมดของรัฐและระเบียบข้อบังคับของการเก็บภาษีฉบับร่าง ตามที่รัฐจัดงบประมาณไว้

กำหนดแผนรายได้ทางการเงินและการเก็บภาษี กำหนดข้อตกลงการเก็บภาษีระหว่างประเทศและข้อตกลงที่เป็นหนังสือสัญญา ดำเนินการจำกัดภาษีศุลกากรในการทำงานประจำวันของคณะกรรมการรัฐสภา


5.บริหารจัดการเงินค่าใช้จ่ายสาธารณะส่วนกลาง การบริหารจัดการเงินงบประมาณราชการแผ่นดิน เงินตราการค้าระหว่างประเทศที่ไม่ได้แลกเปลี่ยนในหน่วยงานราชการและองค์กรทางสังคมกับดุลการชำระเงินระหว่างประเทศของเงินงบประมาณ กำหนดให้มาตรฐานรายจ่ายและนโยบายรายจ่ายที่กำหนดไว้จะต้องเป็นเอกภาพทั้งประเทศ กำหนดและดำเนินการสร้างระบบการเงินที่เป็นมูลฐาน

ได้แก่ “กฎระเบียบทางการเงินของหน่วยงานราชการ”, “กฎระเบียบทางการเงินของหน่วยงานการบริหารราชการเงินแผ่นดิน”


6.กำหนดและดำเนินการนำนโยบายไปปฏิบัติในประเทศกับวิสาหกิจ บริหารจัดการเงินส่วนกลางในการสนับสนุนรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจ พัฒนาและจัดตั้งองค์กร”หลักการทั่วไปทางด้านการเงินของวิสาหกิจ”

รับผิดชอบควบคุมและเฝ้าติดตามทางด้านการเงินของวิสาหกิจส่วนกลางโดยตรง


7.ดำเนินการและตรวจสอบควบคุมค่าใช้จ่ายในการพัฒนาเศรษฐกิจของการเงินส่วนกลาง จัดสรรการเงินในการลงทุนโครงการส่วนกลาง กำหนดและตรวจสอบควบคุมการปฏิบัติงานด้าน

”หลักการทั่วไปทางด้านการเงินของวิสาหกิจ”


8.บริหารจัดการการเงินในด้านค่าใช้จ่ายการรักษาความปลอดภัยของสังคม กำหนดระบบบริหารทางด้านการเงินของกองทุนรักษาความปลอดภัยของสังคม จัดตั้งกลุ่มดำเนินงานตรวจสอบควบคุมการเงินของเงินกองทุนที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยของสังคม


9.กำหนดและดำเนินหลักการและนโยบายในการบริหารจัดการหนี้สินภายในประเทศของรัฐบาล ระเบียบข้อบังคับและวิธีการบริหารจัดการ :การจัดทำแผนการออกธนบัตรหนี้ของรัฐบาล

กำหนดหลักการและนโยบายของการบริหารจัดการหนี้ต่างประเทศของรัฐบาล เป็นตัวแทนของรัฐบาลจีนในการเข้าร่วมการจัดตั้งองค์กรทางการเงินระหว่างประเทศ


10.กำหนดและตรวจสอบควบคุมการการดำเนินงานด้านบัญชีตามกฎระเบียบข้อบังคับ”บรรทัดฐานด้านบัญชีของวิสาหกิจ” กำหนดและตรวจสอบควบคุมงบประมาณการดำเนินงานทั้งหมดของรัฐบาล

บริหารระบบการบัญชีของอุตสาหกรรมและหน่วยงานราชการ


11.ตรวจสอบและควบคุมหลักการและนโยบายภาษีการเงิน ลักษณะการดำเนินงานของกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ ตรวจสอบและรายงานปัญหาสำคัญในการบริหารจัดการเงินรายรับรายจ่ายส่วนกลาง


12.กำหนดการเงินทางด้านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และแผนการศึกษา จัดตั้งองค์กรการฝึกอบรมทางด้านการเงิน รับผิดชอบข้อมูลข่าวสารด้านการเงินและงานโฆษณาด้านการเงิน


13.รับจัดการเรื่องอื่นๆในงานมอบหมายของรัฐสภา

ธนาคารกลางประชาชนจีน [16] แก้

ธนาคารกลางประชาชนจีน (PBOC) ทำหน้าที่ธนาคารกลางเต็มรูปแบบ รับผิดชอบด้านนโยบายการเงินและควบคุมดูแลระบบการเงินของประเทศมีแนวคิดในการปรับโครงสร้าง และปฏิรูปธนาคารกลางจีนได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จูหรงจีขึ้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โดยในการประชุมคณะกรรมการพรรค(Central Committee)คอมมิวนิสต์ในเดือนพฤศจิกายน 1993 ได้เสนอแนะแนวคิดในการสร้างของนโยบายการเงิน (Unified Monetary Policy)ของจีน โดยเริ่มต้นจากการที่ธนาคารกลางสาขาต่างๆในภูมิภาคของจีนจะต้องขึ้นต่อธนาคารกลางจีน สำนักงานใหญ่ในกรุงปักกิ่ง เพื่อลดอิทธิพลของผู้นำพรรคฯ ในระดับท้องถิ่นต่อธนาคารกลางจีน อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพธนาคารกลางจีนที่มีหน้าที่สำคัญในการดำเนินนโยบายการเงิน และการกำกับตรวจสอบให้ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินต่างๆประกอบการในแนวทางอันพึงประสงค์

ในปี 1995 จีนได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติการธนาคาร (The banking Laws) โดยมีเนื้อหาสำคัญส่วนหนึ่งในการกำหนดบทบาทหน้าที่ธนาคารกลางจีนว่าจะต้องมีอิสระในการกำหนด

นโยบายการเงินและขึ้นตรงต่อสภาแห่งรัฐ (The State Council) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำทางการบริหาร ทำให้อิทธิพลของผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ในระดับท้องถิ่น ในการกำหนดและแทรกแซงธนาคารกลางจีนลดทอนลงนอกจากนี้พระราชบัญญัติการธนาคารยังมีความต้องการให้เกิดการปฏิรูประบบธนาคารของจีนทั้งระบบที่มีปัญหามากในขณะนั้น

“เครื่องมือ”สำคัญที่ธนาคารกลางจีนสามารถพัฒนาขึ้นใช้ในปี 1998 ก็คือมาตรการด้าน “Open market Operations” ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารนโยบายการเงินในประเทศที่ใช้

ระบบเศรษฐกิจในตลาด (Market economy) ทั้งหลาย บทบาทสำคัญอีกด้านหนึ่งในธนาคารกลางจีนก็คือการเปิดเกมด้านการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินจีนอย่างเข้มงวด


โครงสร้างและระบบภาษีของประเทศจีน [17] แก้

โครงสร้างและระบบภาษีของประเทศจีนจำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ภาษีที่จัดเก็บโดยส่วนกลาง ประกอบด้วยภาษีการบริโภค ภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและภาษีการบริโภคภาษีธุรกิจจากการขนส่งทางรถไฟ ธนาคารของรัฐและสำนักงานใหญ่ของบริษัทประกันภัยภาษีทรัพยากรปิโตรเลียมในทะเล ภาษีการขนส่งทางเรือและภาษีรถยนต์ ภาษีที่จัดเก็บร่วมกันประกอบด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม(ยกเว้นภาษีนำเข้าที่จัดเก็บโดยศุลกากร โดยส่วนกลางจัดเก็บ35% และท้องถิ่นจัดเก็บ 25%) ภาษีรายได้ธุรกิจ(ส่วนกลางจัดเก็บ 60%และท้องถิ่นจัดเก็บ40%)ภาษีเงินได้ส่วนบุคคล (ส่วนกลางจัดเก็บ60% และท้องถิ่นจัดเก็บ40%) ภาษีแสตมป์การค้าหลักทรัพย์(ส่วนกลางจัดเก็บ97% และส่วนท้องถิ่นจัดเก็บ3%) ภาษีที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่นประกอบด้วยภาษีธุรกิจ ภาษีการบำรุงการเมือง ภาษีก่อสร้าง ภาษีอสังหาริมทรัพย์ ภาษีการใช้ประโยชน์ที่ดินใน เขตเมือง ภาษีการถือครองที่ดิน ภาษีการถือครองที่ดิน ภาษีรถยนต์ ภาษีที่ดิน อัตราก้าวหน้า ภาษีบุหรี่ ภาษีทรัพยากร และภาษีอากรแสตมป์

ภาษีต่างๆ แก้

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้ที่ต้องเสียมีอยู่ 11 ประเภท ตามกฎหมาย โดยประเมินตามค่าจ้าง เงินเดือน รายได้จากธุรกิจส่วนตัว ค่าเช่า ค่าสัมปทาน ดอกเบี้ย เงินปันผล และค่าโอนสินทรัพย์ พลเมืองจีนซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีนจะต้องเสียภาษีจากเงินได้ที่ได้รับทั่วโลกชาวต่างชาติผู้อาศัยอยู่ในจีนมากกว่า 90 วัน ในปีภาษีหรือมากกว่า183 วัน ในกรณีที่ชาวต่างชาติมาจากประเทศที่จีนมีสนธิสัญญาทางภาษีด้วยจะต้องเสียภาษีจากเงินได้ที่ได้รับในจีนชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในจีนมากกว่า 1 ปีแต่น้อยกว่า5ปี ติดต่อกันจะต้องเสียภาษีเงินได้จีนและจากเงินได้ที่ได้รับในต่างประเทศจากพลเมืองของจีนส่วนชาวต่างชาติผู้อาศัยอยู่ในจีนนานกว่า5ปีติดต่อกันจะต้องเสียภาษีจากเงินได้ที่ได้รับทั่วโลกโดยจะเริ่มเสียในปีที่หก

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้บริษัทต่างชาติ กฎระเบียบการจัดเก็บภาษีเงินได้บริษัทต่างชาติและจดหมายเวียนต่างๆเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีจากบริษัทร่วมทุนต่างชาติ และบริษัทต่างชาติถือหุ้น 100 % จะต้องจ่ายภาษีจากรายได้ที่มีแหล่งที่มาจากจีน ในอัตราร้อยละ 30 นอกจากนี้ยังมีภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ3 สิทธิพิเศษทางภาษีให้แก่ปริษัทต่างชาติ

วันหยุดทางภาษี(Tax Holidays)มีการใช้สิทธิพิเศษในรูปของวันหยุดทางภาษีต่างๆมากน้อยไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทอุตสาหกรรม เขตพื้นที่ที่ตั้งของบริษัทเทคโนโลยี

ที่นำมาใช้การผลิตที่มุ่งเพื่อการส่งออก

อัตราภาษีลด(Reduced tax rates)ภายใต้การปฏิบัติภาษีแบบพิเศษ อัตราระดับชาติสำหรับบริษัทต่างชาติที่มีคุณบัติสามารถลดลงได้เหลือร้อยละ 15

หรือร้อยละ 24ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของกิจการและธุรกรรมที่ประกอบ

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม(Value-added tax)

ปกติจะเก็บ VAT ในอัตราร้อยละ 17 จากหน่วยงานและบุคคลธรรมดาทั้งหมดที่มีธุรกรรมการขายสินค้า การให้บริการแปรรูป ซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วน และการนำสินค้าเข้ามาในจีน โดยจะปรับใช้อัตราพิเศษร้อยละ 13% สำหรับผลิตภัณฑ์บางอย่าง

  • ภาษีการบริโภค
ไฟล์:ภาษีการกินจีน.jpg
ภาษีการบริโภค

เรียกเก็บจากการผลิต การรับจ้างผลิตและการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคบางชนิด เช่นยาสูบ เหล้า เครื่องสำอาง เครื่องประดับ ดอกไม้ไฟ น้ำมันเชื้อเพลิงและรถยนต์ จุดประสงค์หลักของการจัดเก็บภาษีนี้เพื่อต้องการปรับอัตราภาษีของเหล้าและบุหรี่จากเดิมขึ้นมาเป็นร้อยละ 60-70 เพราะสินค้าสองตัวนี้เสียภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงร้อยละ 17 เท่านั้น ในการจัดเก็บภาษีการบริโภค ภาระภาษีของสินค้าสองชนิดนี้จะเพิ่มขึ้น

  • ภาษีการค้า

ภาษีการค้า อยู่ในอัตราร้อยละ 3-20 เรียกเก็บจากการโอนทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ การขยายอสังหาริมทรัพย์ และการบริการ เช่นการสื่อสาร การคมนาคม การก่อสร้าง การเงิน ไปรษณีย์ โทรคมนาคม กีฬา วัฒนธรรม และความบันเทิง การกีฬาจะเสียภาษีในอัตรา3% ในขณะที่อุตสาหกรรมการเงินและประกันภัยและบริการส่วนใหญ่จะเสียภาษี5% ธุรกิจบันเทิงต่างๆ ร้านอินเทอร์เน็ตจะเสียภาษีร้อยละ5-20 ภาษีธุรกิจจะเรียกเก็บจากรายรับขั้นต้นรวมถึงค่าธรรมเนียมละค่าบริการเพิ่มเติม บริการบางอย่างได้แก่ การพัฒนาการศึกษา การรักษาพยาบาล การแพทย์ วัฒนธรรม และการเกษตรกรรมได้รับยกเว้นไม่เสียภาษี การโอนสินทรัพย์ที่จับต้องไม่ได้หรือการขายอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีธุรกิจในอัตรา5%

  • ภาษีการส่งกำไรออกนอกประเทศ

ผลกำไรที่เกิดจากรูปแบบใดๆ ที่ระบุในกฎหมายว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศในจีน จะต้องเสียภาษีถ้าหากส่งกำไรออกนอกประเทศ โดยเรียกเก็บตามอัตราภาษีที่ระบุในใบอนุญาตการลงทุน

  • ภาษีโรงเรือน

บริษัทต่างชาติ คนต่างชาติ คนจีนโพ้นทะเล ชาวฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ซึ่งเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยจะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 1.2 ของราคามาตรฐานของที่อยู่อาศัยนั้น หรือร้อยละ 18 ของราคาเช่า

ไฟล์:ขนส่งจีน.jpg
ภาษียานพาหนะ
  • ภาษียานพาหนะและครัวเรือน

บริษัทต่างชาติ คนต่างชาติ คนจีนโพ้นทะเล ชาวฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน ซึ่งเป็นเจ้าของยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์และเรือจะต้องเสียภาษีอัตราภาษีสำหรับยานพาหนะ และเรือส่งสินค้าอยู่ระหว่าง0.6-4.4 หยวนต่อตัน สำหรับยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์นั้นจะเสียภาษีในอัตราที่แตกต่างกันตั้งแต่1.2-32 หยวนต่อปีขึ้นอยู่กับประเภทของยานพาหนะ

  • ภาษีนำเข้า

ใช้ระบบการจำแนกพิกัดแบบ Harmonized system อัตราอากรขาเข้าอยู่ระหว่างร้อยละ 3-200 อัตราจะสูงมากสำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย รายการสินค้าที่ช่วยลดภาษีส่วนใหญ่ จะเป็นวัตถุดิบที่มีความจำเป็นต่อเศรษฐกิจของจีน ได้แก่ น้ำมันดิบ และวัตถุดิบหลักซึ่งลดจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 2 สินค้าประเภทเทคโนโลยีชั้นสูงซึ่งจีนผลิตเอง ยังไม่ได้รวมทั้งสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขันได้จะมีการลดอัตราภาษีไม่สูงนัก สำหรับสินค้าที่ส่งออกไปต่างประเทศโดยทั่วไปรัฐบาลจีนจะไม่เก็บภาษีขาออก เนื่องจากต้องการที่จะส่งเสริมการแสวงหาเงินต่างประเทศ ยกเว้นสินค้าประเภทวัตถุดิบและสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่มีการจำกัดโควตาส่งออก จะเป็นค่าธรรมเนียมพิเศษ ในอัตราร้อยละ 10-60 ของมูลค่าการส่งออก


  • ภาษีจากการปรับมูลค่าที่ดิน

เรียกเก็บจากบริษัทจีนชาวต่างชาติ รวมทั้งบุคคลธรรมดาที่มีรายได้จากการโอนสิทธิการใช้ที่ดิน อาคาร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ติดกับที่ดินและตัวอาคาร โดยเรียกเก็บภาษีจากจำนวนที่เพิ่มขึ้น จากการปรับมูลค่าทีดินซึ่งคำนวณจากรายได้จากการขายหักรายการที่สามารถนำมาหักลบได้ อัตราภาษีจะอยู่ในช่วง 30-60 ขึ้นอยู่กับจำนวนมูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นเกินกว่าจำนวนรายการที่สามรถนำมาหักลบได้

  • ภาษีอสังหาริมทรัพย์ในเขตเมือง

โดยเรียกเก็บจากราคาตามบัญชีสุทธิของอสังหาริมทรัพย์ตามที่คณะกรรมการประเมินมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ตามที่ท้องถิ่นกำหนด สำหรับอาคารที่มีเจ้าของจะเรียกเก็บภาษี ในอัตราร้อยละ1.2 ของราคาตามบัญชีสุทธิของอาคารต่อปี หากเจ้าของปล่อยเช่าอาคารนั้น จะมีการเรียกเก็บอัตราภาษีในอัตราร้อยละ 12 จากค่าเช่าแทน

  • อากรแสตมป์

บริษัทหรือบุคคลธรรมดาทั้งหมดที่จัดทำหรือได้รับเอกสารบางประเภทจะต้องจ่ายภาษีอากรแสตมป์ ซึ่งเอกสารดังกล่าวรวมถึงสัญญาซื้อขาย สัญญาให้เช่าหรือเช่า สัญญาเงินกู้เอกสารเกี่ยวกับการโอนสิทธิ และเอกสารอื่นๆ ตามที่กระทรวงการคลังกำหนดอากรแสตมป์จะมีการประเมินจากคู่สัญญา ในอัตราระหว่างร้อยละ0.005 และ 0.1


กระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี แก้

1.กำหนดวัตถุประสงค์ของงบประมาณ ถ่ายทอดคำสั่งไปยังหน่วยงานใต้บังคับบัญชา ตามวัตถุประสงค์ของการดูแลงบประมาณประจำปีรวมไปถึงการกำหนดเกี่ยวกับเป้าหมายเงินกำไรประจำปี ของหน่วยงานราชการ อัตราการติดหนี้ของเงินทุนบริษัท อัตราผลตอบแทนจากเงินทุน อัตราความเสียหายและอัตราเงินทุนรายได้ของดัชนีงบประมาณ และเงินงบประมาณประจำปี จะต้องรายงานก่อนปลายเดือนพฤศจิกายนของปี และถ่ายทอดคำสั่งทุกขั้นตอนไปยังทุกหน่วยงานใต้บังคับบัญชา

2.จัดทำงบประมาณฉบับร่าง รายงานต่อหน่วยงานเบื้องบน ภายใต้มูลเหตุเป้าหมายที่ต้องดำเนินการก่อนของการรายงานผลการรับรองต่อหน่วยงานเบื้องต้นที่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา การกำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่เป็นรูปธรรมมีดังนี้

"2.1 กำหนดศูนย์กลางความรับผิดชอบของหน่วยงานเบื้องต้นกับศูนย์กลางที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณแต่ละประเภท รายงานความเกี่ยวพันธ์ของการจัดตั้งองค์การ

ให้ขึ้นต่อแขนงอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณต่อกรมควบคุมและดูแลเพื่อตรวจสอบ

2.2 กรมควบคุมและดูแลตรวจสอบความสัมพันธ์โครงการจัดทำงบประมาณของหน่วยงานเบื้องต้น และรีบดำเนินการจัดทำโครงการตามความหนักเบาตามลำดับแล้วรายงานต่อกรมควบคุม

และดูแลเพื่อตรวจสอบและตัดสินชี้ขาด หลังจากผ่านการตรวจสอบสมดุลของกรมควบคุมและดูแลก็รายงานผลต่อหน่วยงานเบื้องบน

3.ตรวจสอบงบประมาณการเงินแต่ละประเภทของหน่วยงานเบื้องต้นและดำเนินการสรุปการตรวจสอบเพื่อรายงานต่อสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติ

โดยมีกระทรวงการคลังหน่วยงานร่างและจัดทำงบประมาณเสนอต่อสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อเซ็นอนุมัติ


ระบบการประกันสังคมในสาธารณรัฐประชาชนจีน แก้

การประกันกรณีชราภาพ แก้

ไฟล์:จีน1.jpg
การประกันสุขภาพตนเอง
ปี 1997 รัฐบาลจีนได้รวมระบบการประกันชราภาพพื้นฐานสำหรับลูกจ้างในสถานประกอบการ

โดยลูกจ้างที่อายุถึงวัยเกษียณตามกฎหมาย คือ ลูกจ้างชายที่อายุ 60 ปี ผู้บริหารหญิงอายุ 55 ปี ลูกจ้างหญิงอายุ 50 ปี และลูกจ้างที่จ่ายเบี้ยประกันเป็นเวลา 15 ปีหรือมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญทุกเดือนหลังการเกษียณอายุ บำนาญชราภาพแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บำนาญหลัก และบำนาญจากบัญชีส่วนบุคคล เงินเดือน ของบำนาญหลัก เท่ากับร้อยละ 20 ของค่าจ้างรายเดือนโดยเฉลี่ยของลูกจ้างในพื้นที่นั้น บำนาญรายเดือนจากบัญชีส่วนบุคคลเท่ากับ 1/120 ของจำนวนเงินในบัญชีส่วนบุคคล รัฐจะปรับบำนาญกรณีชราภาพพื้นฐานตามราคาค่าครองชีพสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมือง

  • การเพิ่มเงินทุนการประกันชราภาพพื้นฐานหลายช่องทางของรัฐบาล มีดังนี้
  1. การจ่ายเบี้ยประกันร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและลูกจ้าง
  2. การเพิ่มทุนจากงบการเงินของรัฐสำหรับกองทุนการประกันชราภาพพื้นฐาน
  3. การตั้งกองทุนประกันสังคมแห่งชาติ

การประกันกรณีว่างงาน แก้

ระเบียบเรื่องการประกันกรณีว่างงาน ได้กำหนดมาตรฐานและปรับปรุงระบบการประกันกรณีว่างงาน อย่างมีประสิทธิภาพผู้ที่ว่างงานต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ คือ

  1. ต้องจ่ายเบี้ยประกันกรณีว่างงานมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี
  2. ไม่ได้ออกจากงานด้วยความสมัครใจ
  3. ลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานและเต็มใจที่จะกลับไปทำงานใหม่
  • อัตราของเงินสงเคราะห์การประกันกรณีว่างงาน
ผู้ที่ว่างงาน ซึ่งนายจ้างคนก่อนและตัวผู้ว่างงานได้จ่ายเบี้ยประกันกรณีว่างงานทุกครั้ง มากกว่า 1 ปี

แต่น้อยกว่า 5 ปี จะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน 12 เดือน หากจ่ายเบี้ยประกันมากกว่า 5 ปี แต่น้อยกว่า 10 ปี จะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน18 เดือน และหากจ่ายเบี้ยประกัน 10 ปีขึ้นไป จะมีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน 24 เดือน

  • ประโยชน์ทดแทนการว่างงานอื่น
ผู้ว่างงานเจ็บป่วยขณะที่รับเงินสงเคราะห์การประกันกรณีว่างงาน

จะได้รับเงินช่วยเหลือทางการแพทย์ แต่ถ้าเสียชีวิตในช่วงที่รับเงินนี้ ครอบครัว จะได้รับค่าทำศพและบำนาญ และได้รับเงินช่วยเหลือการบริการของบริษัทจัดหางานเมื่ออยู่ระหว่างรับเงินสงเคราะห์


การประกันกรณีรักษาพยาบาล แก้

  • มาตรฐานการจ่ายค่าประกันการรักษาพยาบาล
ค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลที่มาจากกองทุนการประกันกรณีรักษาพยาบาลและแต่ละบุคคล

คือ ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก (จำนวนน้อยกว่า) จะจ่ายจากบัญชี ส่วนบุคคล ขณะที่ค่ารักษาตัวในโรงพยาบาล (จำนวนมากกว่า) จะจ่ายจากกองทุนการรวมตัวทางสังคม ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำเท่ากับประมาณร้อยละ 10 ของค่าจ้างรายปีโดยเฉลี่ยของลูกจ้างในท้องถิ่น และค่าใช้จ่ายสูงสุดเท่ากับ ประมาณ 4 เท่าของค่าจ้างรายปีโดยเฉลี่ยของลูกจ้างในท้องถิ่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลระหว่าง มาตรฐานขั้นต่ำสุดและขั้นสูงสุด จ่ายจากกองทุนการรวมตัวทางสังคม และแต่ละคนจ่ายในสัดส่วน

  • การประกันกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
  • การจัดตั้งระบบการรวมตัวทางสังคมสำหรับกองทุนการประกันกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน
รัฐกำหนดเงื่อนไขว่าสถานประกอบการและธุรกิจอิสระ (individual businesses) ทุกแห่ง

ที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมและพาณิชย์ต้องเข้าร่วมการประกันกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน และจ่าย เบี้ยประกันสำหรับลูกจ้าง ทั้งลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว แต่ลูกจ้างไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน โครงการประกันกรณีประสบอันตรายจากการทำงานใช้ระบบการรวมทุน โดยจัดทำงบดุลรายได้ และรายจ่าย และเงินสมทบจะกำหนดจากค่าใช้จ่าย กองทุนการรวมตัวทางสังคมที่จัดตั้งโดยเมือง ในระดับจังหวัด (prefectural level) หรือระดับที่สูงกว่า รัฐจะกำหนดอัตราเบี้ยประกันต่างกัน ตามระดับความเสี่ยงของการประสบอันตรายจากการทำงานตามระดับความเสี่ยงของประเภทธุรกิจ อัตราจะแตกต่างกันไปตามประเภทของกิจกรรมทางธุรกิจและอัตราการประสบอันตราย

  • การกำหนดประโยชน์ทดแทน
โครงการประกันกรณีประสบอันตรายจากการทำงานนำหลัก “no - fault compensation”

มาใช้ (การจ่ายค่าทดแทนกรณีประสบอันตรายโดยไม่ถือเป็นความผิด) รายการประโยชน์ทดแทน หลัก ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกรณีประสบอันตรายจากการทำงาน เงินช่วยเหลือกรณี ประสบอันตรายและทุพพลภาพ เงินสงเคราะห์ และค่าดูแลตามระดับความสูญเสียความสามารถ ในการทำงาน, เงินช่วยเหลือค่าทำศพ, บำนาญสำหรับทายาทและเงินก้อนช่วยเหลือกรณีเสียชีวิต อันเนื่องมาจากการประสบอันตรายจากการทำงาน เงื่อนไขตามคุณสมบัติสำหรับการจ่ายประกัน คือ ลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงาน หรือเจ็บป่วยจากการทำงานระหว่างเวลางานหรือในที่ทำงาน

  • การเสริมสร้างการป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงานและการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
รัฐบาลจีนส่งเสริมการป้องกันการประสบอันตรายและโรคจากการทำงานด้วยการพัฒนา

ของเทคโนโลยีทางวิศวกรรม การประชาสัมพันธ์และการศึกษา การกำหนดกฎระเบียบด้านความปลอดภัย ในการดำเนินการตามมาตรฐานความปลอดภัยและสุขอนามัย และส่งเสริมหน่วยงานที่จ้างงาน ในการปรับปรุงความปลอดภัยในการผลิต โดยกำหนดอัตราเบี้ยประกันกรณีประสบอันตรายตามประสบการณ์ ด้วยการดำเนินการตามหลัก ป้องกันและปลอดภัยไว้ก่อน รัฐบาลกระตุ้นสถานประกอบการ และลูกจ้างให้ยอมปฏิบัติตามกฎและระเบียบที่เกี่ยวกับความปลอดภัยและสุขอนามัยในการทำงาน และเพื่อบังคับใช้กฎและมาตรฐานของรัฐในเรื่องความปลอดภัยและสุขอนามัยในที่ทำงานอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุขณะทำงาน และลดอันตรายจากการทำงานรัฐสำรวจวิธีการอย่างจริงจัง ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน โดยให้การฟื้นฟูกรณีประสบอันตราย การฟื้นฟูทางด้านร่างกาย การฝึกอบรมอาชีพ และคำแนะนำด้านการจ้างงานแก่ลูกจ้างที่ประกันตน นอกจากนี้ มีการตั้งศูนย์ฟื้นฟู สมรรถภาพด้านการทำงานและโรงพยาบาลในบางเขตเพื่อช่วยแรงงานที่ประสบอันตรายให้สามารถแก้ไขปัญหา ทางด้านร่างกายและจิตใจฟื้นคืนสุขภาพและความสามารถในการทำงานและกลับมาทำงานได้อีกครั้ง

การประกันการคลอดบุตร แก้

ในการจ่ายประโยชน์ทดแทนการประกันการคลอดบุตรให้กับลูกจ้าง สำหรับลูกจ้างที่กำลังจะให้

กำเนิดบุตรจะได้รับเงินสงเคราะห์การคลอดบุตรเป็นระยะเวลา 90 วัน ตามที่กฎหมายกำหนด ลูกจ้างหญิงทีให้กำเนิดบุตรแล้วหรือแท้งบุตรจะยังคงได้รับค่าจ้างตามปกติและอยู่ในตำแหน่งงานเดิมก่อนให้กำเนิดบุตรหรือแท้งบุตร ทั้งนี้ ลูกจ้างหญิงสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลคืนได้ตามที่กฎหมายกำหนด

สวัสดิการสังคม แก้

  • สวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุ
ตาม กฎหมายว่าด้วยความคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุของสาธารณรัฐ-

ประชาชนจีน (Law of the People’s Republic of China on the Protection of Elderly People’s Rights and Interests) รัฐและชุมชนได้นำมาตรการต่างๆ มาใช้เพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต สุขภาพ ในปัจจุบัน มีองค์กรสวัสดิการสังคมในหลากหลายสาขาสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 38,000 แห่ง ในปี 2001รัฐบาลจีนได้เริ่มนำ การบริการด้านสวัสดิการชุมชนของประเทศสำหรับผู้สูงอาย6 (Starlight Plan National Community Welfare Service for Elderly People) มาใช้ และประมาณเดือนมิถุนายน 2004 ได้มีการสร้าง Starlight Homes สำหรับผู้สูงอายุขึ้น หรือสร้างStarlight Homes สำหรับผู้สูงอายุขึ้นใหม่ ในพื้นที่ในเมืองและในพื้นที่ชนบททั่วประเทศ ด้วยเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 13.49 พันล้านหยวน

  • สวัสดิการสังคมสำหรับเด็ก
ตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วย

การคุ้มครองเด็ก (Law of the People’s Republic of China on the Protection of Minors) และกฎหมายการศึกษาของสาธารณรัฐประชาชนจีน (Education Law of the People’s Republic of China) รัฐให้สวัสดิการอย่างครอบคลุมแก่เด็ก ประกอบด้วย การศึกษา การให้ภูมิคุ้มกันโรค และการให้ความดูแล เป็นพิเศษเพื่อรับประกันชีวิตความเป็นอยู่ การฟื้นฟูและการศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส เช่น เด็กพิการ บุตรกำพร้าและทารกที่ถูกทิ้ง โดยการจัดหาโครงการสวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการต่างๆ ปัจจุบัน จีนมีสถาบันสวัสดิการพิเศษสำหรับเด็ก 192 แห่ง สถาบันสวัสดิการทั่วไป 600 แห่ง ประกอบด้วย กรมเด็ก (children’s department) ซึ่งมีที่อยู่อาศัยสำหรับบุตรกำพร้า และเด็กพิการ จำนวน 54,000 แห่ง นอกจากนี้ มีศูนย์บริการชุมชนสำหรับบุตรกำพร้าและเด็กพิการทั่วประเทศ 10,000 แห่ง เช่น ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพและหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา

  • สวัสดิการสำหรับผู้พิการ
จีนได้ออกกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการคุ้มครองผู้พิการ (Law of the

People’s Republic of China on the Protection of Disabled People) เพื่อรับประกันการฟื้นฟู สมรรถภาพการศึกษา การทำงาน และสวัสดิการสังคมสำหรับผู้พิการ นอกจากนี้ รัฐบาลช่วยผู้พิการ ให้มีงานทำโดยจัดตั้งสถานประกอบการสวัสดิการเพื่อให้โอกาสการทำงานกับคนบางกลุ่ม และสนับสนุน การประกอบอาชีพอิสระของผู้พิการ ทั้งนี้ ได้มีการให้การดูแลพิเศษสำหรับผู้พิการโดยใช้มาตรการ สวัสดิการดังกล่าว เช่น ความช่วยเหลือชั่วคราว การสนับสนุนอย่างเต็มที่และการจัดตั้งสถาบันด้าน ที่พักอาศัยสำหรับผู้พิการ

การดูแลพิเศษและการจัดหางาน แก้

ระบบการดูแลพิเศษและการจัดหางานเป็นระบบหนึ่งที่รัฐบาลจีนจัดหาสิ่งของต่างๆ

และแสดงความเห็นอกเห็นใจแก่ทหารและครอบครัว รัฐบาลจีนได้ประกาศใช้ ข้อบังคับว่าด้วยเรื่องการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่เข้าร่วมการปฏิวัติ (Regulation on Commending Revolutionary Montrys) ข้อบังคับว่าด้วยการดูแลพิเศษและการยกเว้นภาษีอากรสำหรับ ทหาร รวมถึงกฎหมายและข้อบังคับที่คล้ายคลึงกัน รัฐได้กำหนดระดับและมาตรฐานสำหรับการดูแล และกายกเว้นภาษีตามศักยภาพและเงินสมทบของผู้มีสิทธิ ระดับของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เงินชดเชยของรัฐจ่ายให้กับครอบครัวของผู้เข้าร่วมการปฏิวัติและทหารที่เสียชีวิตในหน้าที่ หรือเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย รวมถึง ทหารที่ได้รับบาดเจ็บและทหารพิการจะมีการจ่ายเงินสงเคราะห์ ค่าครองชีพเป็นกรณีพิเศษ สำหรับทหารผ่านศึกที่ปลดประจำการแล้ว โดยจ่ายเงินสงเคราะห์ให้กับครอบครัว ของทหารเกณฑ์ และกรณีพิเศษยังรวมถึงทหารที่พิการซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีอาการ ในเรื่องของการรักษาพยาบาล ที่พักอาศัย การเดินทาง การศึกษาและการทำงาน ทั้งจัดหางานและที่อยู่ใหม่ให้กับทหารที่ปลดประจำการ รัฐบาลจะจัดหางานให้กับทหาร ที่ปลดประจำการในพื้นที่ในเมือง พร้อมทั้งให้เงินช่วยเหลือและการสนับสนุนด้านโยบายสำหรับผู้ที่กำลังหางานทำ

  • เงินช่วยเหลือทางสังคม
  1. การรับประกันมาตรฐานค่าครองชีพชั้นต่ำสำหรับคนเมือง
มาตรฐานค่าครองชีพขั้นต่ำจะกำหนดบนพื้นฐานของรายได้เฉลี่ยของคนเมืองและระดับการบริโภคต่อหัว

ระดับราคาของปีก่อนหน้า ดัชนีราคาผู้บริโภค ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต และมาตรฐานด้านประกันสังคม ที่เกี่ยวข้อง อาหาร เครื่องนุ่มห่มและที่อยู่อาศัย รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับการศึกษาภาคบังคับของบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

  1. เงินช่วยเหลือสำหรับผู้ประสบอันตรายจากภัยธรรมชาติ
  2. เงินช่วยเหลือสำหรับคนเร่ร่อนและขอทานในเมือง
รัฐได้ประกาศใช้ “มาตรการสำหรับการบริหารจัดการเงินช่วยเหลือสำหรับคนเร่ร่อน และขอทานที่ไม่มีหลักแหล่งในเมือง”

บนหลักของการรับความช่วยเหลือของผู้ที่เต็มใจให้ความช่วยเหลือและการช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน และต้องให้เงินช่วยเหลือตามสถานการณ์และความจำเป็นที่แตกต่างกันของผู้รับ

  • การประกันสังคมในพื้นที่ชนบท
  1. การดำเนินการให้ความช่วยเหลือทางสังคมแก่คนชนบท
ในปี 1954 คณะรัฐมนตรี (State Council) ได้ประกาศใช้ “ข้อบังคับว่าด้วยการจัดหาสิ่งรับประกัน

5 ประการในพื้นที่ชนบท” ซึ่งระบุเงื่อนไขว่าผู้สูงอายุ คนพิการและเด็ก ที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ว่า ประชาชนในพื้นที่ชนบทจะได้รับ “สิ่งรับประกัน 5 ประการ” ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย การรักษาพยาบาลและค่าทำศพ (รวมถึงการศึกษาภาคบังคับสำหรับชนกลุ่มน้อย)

อ้างอิง แก้

  1. "Law of the People's Republic of China on the Standard Spoken and Written Chinese Language (Order of the President No.37)". Gov.cn. สืบค้นเมื่อ 27 April 2010. For purposes of this Law, the standard spoken and written Chinese language means Putonghua (a common speech with pronunciation based on the Beijing dialect) and the standardized Chinese characters.
  2. "China". Encyclopaedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 2010-03-15. Form of government: single-party people's republic with one legislative house
  3. "People's Republic of China". US State department. 5 August 2010. สืบค้นเมื่อ 2011-01-31. Communist party-led state.
  4. Rough Guide to China (5 ed.). Rough Guides. 2008. p. 7. China is a one-party state run by the Chinese Communist Party
  5. http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1363248405&grpid=09&catid=01&subcatid=0100
  6. http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk16TXlOakl6TkE9PQ==&catid=01
  7. "China's Total Population and Structural Changes in 2011". Stats.gov.cn. สืบค้นเมื่อ 14 August 2012.
  8. "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census". Stats.gov.cn. สืบค้นเมื่อ 1 November 2011.
  9. 9.0 9.1 9.2 "People's Republic of China". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 2010-10-06.
  10. CIA World Factbook [Gini rankings]
  11. "Human Development Report 2010" (PDF). United Nations. 2010. สืบค้นเมื่อ 5 November 2010.
  12. "ICANN Board Meeting Minutes". ICANN. สืบค้นเมื่อ 25 June 2010.
  13. "GDP expands 11.4 percent, fastest in 13 years". Chinadaily.net. 24 January 2008. สืบค้นเมื่อ 15 June 2009.
  14. วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน,ศาลานุกรมเศรษฐกิจจีน(ฉบับปรับปรุง),นำอักษรการพิมพ์,2548,หน้า 33
  15. http://www.gov.cn/banshi/2005-09/20/content_65095.htm
  16. รศ. ดร. สมภพ มานะรังสรรค์,จีน : เศรษฐกิจการเงินการธนาคาร ,อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2548,หน้า208
  17. รศ.จิตรา ตุวิชรานนท์,ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจสาธารณรัฐประชาชนจีน,สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2547,หน้า 291