สมุทรสงคราม เป็นจังหวัดในภาคกลาง (หน่วยงานบางแห่งถือเป็นส่วนหนึ่งของภาคตะวันตก) มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดของประเทศ คือประมาณ 416.7 ตารางกิโลเมตร ทั้งยังมีจำนวนประชากรน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศด้วย นับเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและมีชายฝั่งทะเลติดอ่าวไทยยาวประมาณ 23 กิโลเมตร มีภูเขา 1 ลูก (เขายี่สาร) ไม่มีเกาะ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มโดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกจะสูงกว่าฝั่งตะวันออกเล็กน้อย ปลายปี พ.ศ. 2550 ผลการสำรวจดัชนีความมั่นคงของมนุษย์พบว่า สมุทรสงครามเป็นจังหวัดที่มีความมั่นคงของมนุษย์สูงที่สุดในประเทศไทย[1]

สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แก้

อุทยาน ร.๒ แก้

 
เรือนไทยภายในอุทยาน ร.2
 

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย หรือ อุทยาน ร.2 ตั้งอยู่ริมแม่น้ำแม่กลอง ต.อัมพวา อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม มีเนื้อที่ 11 ไร่ บริเวณที่ก่อสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์นี้ พระราชสมุทรเมธี เจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวาย ซึ่งที่บริเวณนี้มี ความสำคัญเพราะเป็นที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 ภายในอุทยานพระบรมราชานุสรณ์มีสิ่งที่น่าสนใจ มีเรือนไทยหมู่ 5 หลัง ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์พระพุทธเลิศหล้านภาลัย 4 หลัง จัดแสดงศิลปวัตถุในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เครื่องใช้ส่วนพระองค์ของร.2 เช่น พระแท่นบรรทมศิลปะจีน นอกจากนี้ยังแสดงความเป็นอยู่ของชาวไทยในสมัย ร.2 จัดแสดงอาวุธสงครามโบราณและข้าวของเครื่องใช้ของสตรีมีฐานะในอดีต เรือนไทยอีกหลังใช้เป็นสถานที่ซ้อมโขนละคร ในวันที่ 24 กพ. ของทุกปีจะมีการจัดแสดงโขนถวายหน้าพระที่นั่งในสวนของอุทยานฯ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้หอกลาง ประดิษฐานพระบรมรูป ร.2 และโบราณวัตถุ หอนอนชาย แสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของชาวไทย หอนอนหญิงแสดงให้เห็นลักษณะความเป็นอยู่ของหญิงโบราณชานเรือน จัดแสดงตามแบบบ้านไทยโบราณห้องครัว และห้องน้ำ แสดงลักษณะครัวไทยและห้องน้ำของชนชั้นกลาง นอกจากนี้ยังมีโรงละครกลางแจ้ง สวนพฤกษชาติ เป็นสวนพันธุ์ไม้ในวรรณคดีนานาชนิดกว่า 140 ชนิด เช่น ยี่สุ่น ช้างโน้ม ทับทิมหนู สารภี และมีมะพร้าวพญาซอซึ่งเป็นพันธุ์หายากที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้นำมาปลูกภายในอุทยานฯ

ดอนหอยหลอด แก้

 
บริเวณดอนใน ดอนหอยหลอดตอนน้ำขึ้น

ดอนหอยหลอด เป็นสันดอนตั้งอยู่ปากแม่น้ำแม่กลอง มีอาณาบริเวณกว้างประมาณ 3 กิโลเมตร ยาว 5 กิโลเมตร ใน ตำบลบางจะเกร็ง ตำบลแหลมใหญ่ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสถานที่ที่พบหอยหลอดจำนวนมาก เกิดจากการตกตะกอนของดินปนทราย (ชาวบ้านเรียกว่า “ทรายขี้เป็ด”) ดอนหอยหลอดเป็นสถานที่ที่มีลักษณะเด่นที่หาพบได้ยากในประเทศไทย โดยเกิดจากการทับถมของตะกอนจากแม่น้ำ และตะกอนจากทะเลบริเวณปากแม่น้ำแม่กลอง เกิดเป็นสันดอนยื่นออกไปในทะเลราว 8 กิโลเมตร ลักษณะของพื้นที่เป็นชายฝั่งราบเรียบที่พื้นเป็นทรายและตะกอน เวลาน้ำลงจะปรากฏพื้นโคลนเลนกว้างราว 4 กิโลเมตร ซึ่งมีพื้นเป็นตะกอนนุ่มและอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ในพื้นที่จะเกิดน้ำขึ้นวันละ 2 ครั้ง เวลาน้ำขึ้นกระแสน้ำจะไหลขึ้นทางทิศเหนือ แต่เวลาน้ำลงจะไหลลงทิศใต้ อย่างไรก็ตาม บางเวลาทิศทางของกระแสน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อยโดยกระแสลม พื้นโคลนเลนในบริเวณดอนหอยหลอดเป็นแหล่งอาศัยของหอยหลอด (Razor clam) จำนวนมาก จัดว่าเป็นพื้นที่ที่พบหอยหลอดได้มากที่สุดในบริเวณชายฝั่งอ่าวไทยทั้งหมด

บริเวณดอนหอยหลอดและป่าชายเลนที่อยู่ใกล้เคียงเป็นแหล่งอาศัยของนกทะเลและนกชายฝั่งอย่างน้อย 18 ชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ชนิดหนึ่งที่จัดเป็นนกที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทย คือ นกกระสานวล (Grey heron) และมีอีก 3 ชนิดที่จัดอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม ได้แก่ เหยี่ยวแดง (Brahminy kite) นกนางนวลแกลบเล็ก (Little tern) และนกแอ่นกินรัง (Edible-nest swiftlet) ส่วนนกอื่นๆที่เป็นจุดเด่นของพื้นที่คือ นกยางกรอกชวา (Javanese pond heron) และนกนางนวลแกลบเคราขาว (Whiskered tern) จากการสำรวจบริเวณดอนหอยหลอด พบสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างน้อย 42 ชนิด เช่น แมงกะพรุนไฟ หนอนริบบิ้น (Ribbin worm) แม่เพรียงทะเล (King ragworm) ในจำนวนนี้เป็นสัตว์จำพวกมอลลัสก์ประมาณ 10 ชนิด เช่น หอยมวนพลู (Screw turritella) หอยกะพง (Horse mussel) หอยเสียบ (Common donax) หอยปากเป็ด (Tongue shell) หอยแครง (Ark shell) หอยหลอด (Razor clam) เป็นต้น ส่วนพืชที่ขึ้นในพื้นที่ของดอนหอยหลอดนั้น พรรณไม้ส่วนใหญ่บริเวณป่าชายเลนจะเป็นโกงกางใบเล็ก (Small-leaved mangrove) และโกงกางใบใหญ่ (Large-leaved mangrove) ตามลำต้นและรากของต้นโกงกางจะมีสาหร่ายสีแดงเกาะอยู่ บริเวณพื้นโคลนแถบชายฝั่งจะพบไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ได้ทั่วไป นอกจากนี้ในป่ายังพบพืชชนิดอื่นๆอีกมากมาย เช่น โพทะเล (Portia tree) แสมดำ (White mangrove) แสมขาว และพืชสกุลประสัก ดอนหอยหลอดเป็นกลไกทางธรรมชาติที่ช่วยกรองตะกอนจากแม่น้ำก่อนที่จะออกสู่ทะเล ในพื้นที่จัดว่าเป็นแหล่งของสัตว์น้ำทางการประมงที่มีความหลากหลายมาก เช่น หอยหลอด หอยแครง และหอยสองฝาอื่นๆ โดยเฉพาะหอยหลอด ที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีชื่อเสียงมาก ซึ่งทำรายได้ให้แก่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างมาก

วัดบางกะพ้อม แก้

วัดบางกะพ้อมตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม เป็นสถานที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา ปีพ.ศ. 2312 แต่ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง ในอดีตสมัยเสียกรุงศรีอยุธยามีชาวบ้าน 2 คนซึ่งเป็นสามีภรรยากันได้หนีศึกสงครามมาตั้งหลักทำมาหากินที่บ้านบางกะพ้อมแห่งนี้ โดยยึดอาชีพการสานกะพ้อมเพื่อยั่งชีพ แต่อยู่ได้ไม่นานนักก็ถูกพวกพม่าบุกโจมตี ครั้นจะหนีก็ไม่ทันจึงเข้าไปหลบอยู่ในกะพ้อมที่สานเอาไว้ และได้อธิษฐานว่าถ้ารอดพ้นจากการตายครั้งนี้ไปได้จะจัดการสร้างวัดและวิหารขึ้นตรงนี้ ต่อมาเมื่อรอดพ้นจากอันตรายใดๆ จึงปฏิบัติตามคำพูดที่กล่าวไว้ ได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่า วัดบังกับพ้อม ต่อมาได้เปลี่ยนเป็น วัดบางกะพ้อม มาจนถึงปัจจุบันนี้

ตลาดน้ำอัมพวา แก้

 
ตลาดน้ำอัมพวา จะมีร้านขายของอยู่สองข้างทางลำคลอง

ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดน้ำ ตั้งอยู่ใน ในจังหวัดสมุทรสงคราม ตลาดน้ำอัมพวานับว่าเป็นจุดที่ท่องเที่ยวที่มีเสน่ห์อีกแห่งหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ การที่ยวตลาดน้ำอัมพวานั้น สามารถทำได้ทั้งยามเช้าและเย็น ซึ่งจะให้บรรยาการที่แตกต่างกัน นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศนิยมที่จะมาพักค้างคืนแบบโฮมสเตย์เวลาที่ทำการคือ วันเสาร์ และ วันอาทิตย์ อนึ่งตลาดน้ำอัมพวาอาจนับได้ว่าเป็นลักษณะของพิพิธภัณฑ์มีชีวิต ซึ่งยังคงเก็บรักษารูปแบบอาคารกลางแจ้ง เป็นจุดสนใจสำหรับการท่องเที่ยวด้วย


วัดเพชรสมุทรวรวิหาร แก้

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ วัดบ้านแหลมในอดีตชื่อ วัดศรีจำปา ตั้งอยู่ที่ ตำบลแม่กลอง อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นอารามหลวง ชั้นวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

ประวัติ แก้

วัดเพชรสมุทรวรวิหาร เดิมชื่อ "วัดศรีจำปา" สร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยาตาม ตำนานเล่าว่า ในปี พ.ศ. 2307ชาวบ้านแหลมในเขตเมืองเพชรบุรีอพยพหนีพม่ามาตั้งบ้านเรือน อยู่บริเวณตำบล แม่กลองเหนือวัดศรีจำปา และเรียกหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านแหลม" ตามชื่อห มู่บ้านเดิมของตนชาวบ้านแหลมได้ช่วย กันบูรณะวัดศรีจำปาและเรียกวัดนี้ใหม่ว่า วัดบ้านแหลม" ต่อมาวัดบ้านแหลมได้ยกฐานะขึ้นเป็นอาราม หลวง ชั้นวรวิหาร ได้รับ พระราชทานนามว่า วัดเพชรสมุทรวรวิหาร

ไฟล์:Temple Banleam.jpg
วัดบ้านแหลม

พระพุทธรูปสำคัญ หลวงพ่อบ้านแหลม แก้

พระรูปหล่อหลวงพ่อบ้านแหลม วัดเพชรสมุทร เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร พระประจำวันเกิดวันพุธเวลากลางวัน หลวงพ่อบ้านแหลมเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกันกับหลวงพ่อโสธร กับหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตรเช่นเดียวกันหลวงพ่อบ้านแหลม สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น หลวงพ่อวัดบ้านแหลม มีความสูง 167 เซนติเมตร

ประวัติหลวงพ่อบ้านแหลม แก้

ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีได้มาตีอวนหาปลาบริเวณแม่น้ำแม่กลอง จังหวัดสมุทรสาคร ได้ลากอวนพบพระพุทธรูป 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร ซึ่งได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานที่ วัดศรีจำปา (ปัจจุบันชื่อ วัดบ้านแหลม ทำให้ชาวบ้านเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่าหลวงพ่อบ้านแหลมตั้งแต่นั้นมา พระพุทธรูปอีกองค์หนึ่ง ปางสมาธิ ชาวบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ได้นำกลับไปประดิษฐานที่วัดเขาตะเครา จังหวัดเพชรบุรี

พิพิธภัณฑ์หลวงพ่อบ้านแหลม แก้

ภายในบริเวณวัดเพชรสมุทรยังมีพิพิธภัณฑ์สงฆ์ จัดแสดงพระพุทธรูป และพระเครื่องสมัยต่าง ๆ โบราณวัตถุ เครื่องลายคราม และธรรมมาสน์บุษบกสมัยกรุงศรีอยุธยา

เทศกาลเกี่ยวกับหลวงพ่อบ้านแหลม แก้

งานประจำปีปิดทองหลวงพ่อบ้านแหลม จัดให้มีขึ้นปีละ 3 ครั้ง คือ ในวันที่ 13 เดือนเมษายน ของทุกปี ซึ่งตรงกับเทศกาลสงกรานต์ของชาวไทยและชาวรามัญ และครั้งที่ 2 งานสาร์ท เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) และช่วงเทศกาลตรุษจีนโดยมีครั้งละ 7 วัน ความเชื่อและวิธีการบูชา เชื่อกันว่าหากได้มาสักการะปิดทองคำเปลวหลวงพ่อบ้านแหลม แล้วจะช่วยเสริมอำนาจบารมีแก่ชีวิต บังเกิดแต่ความเป็นสิริมงคลสืบไป คำอธิษฐานของพรหลวงพ่อไว้จะได้สมความปรารถนาและกลับมาแก้บนหลวงพ่อด้วยการว่าจ้างคณะละครรำมารำแก้บนถวาย ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการเสดงละคร

พิพิธภัณฑ์ขนมไทย แก้

นับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจและชวนน้ำลายไหลที่สุดแห่งหนึ่งก็ว่าได้ สำหรับพิพิธภัณฑ์ขนมไทยประจำเมืองอัมพวา เพราะที่นี่รวบรวมเรื่องราวสารพันของขนมไทยโบราณมาไว้ให้คนรุ่นใหม่ที่อาจลืมขนมไทยๆ ไปแล้วได้ศึกษา อยากรู้ไหมว่ารถเข็นขายขนมไทยโบราณหน้าตาเป็นยังไง? แล้วขนมไทย (จำลอง) ในพิพิธภัณฑ์ขนมไทยจะทำออกมาหน้าตาเหมือนของจริงขนาดไหน ต้องไปพิสูจน์ให้เห็นกับตา




อาสนวิหารแม่พระบังเกิด แก้

สัมผัสสถาปัตยกรรมสไตล์โกธิคหนึ่งเดียวท่ามกลางหมู่เจดีย์และกำแพงแก้วของศาสนาพุทธ ณ "อาสนวิหารแม่พระบังเกิด" โบสถ์คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อายุเก่าแก่กว่าร้อยยี่สิบปี งดงามด้วยภาพเขียนกระจกสีจากฝรั่งเศสและลวดลายปูนปั้นแกะสลักรูปนักบุญต่างๆ จุดสำคัญอีกอย่างคือบานประตูโบสถ์ที่มีแผ่นดีบุกแกะสลักเป็นภาพโมเสสยกไม้เท้าขึ้นเหนือทะเลแดงทำให้เกิดทะเลแหวก ส่วนผสมทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้โบสถ์บางนกแขวกเป็นมากกว่าแค่สถานที่ท่องเที่ยวที่งดงามตรึงใจ เพราะฉาบไล้เปี่ยมไปด้วยแรงศรัทธาในอดีตที่ยังสัมผัสได้ถึงปัจจุบัน






วัดบางกุ้ง แก้

นอกจากจะอะเมซิ่งจนได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand ด้วย "โบสถ์ปรกโพธิ์" ที่ถูกปกคลุมด้วยต้นโพธิ์-ต้นไทรขนาดใหญ่ ซึ่งภายในเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อนิลมณี ยังมีหุ่นจำลองทหารพระเจ้าตากในค่ายบางกุ้งให้เด็กๆ ได้เที่ยวสนุกอิงความรู้ทางประวัติศาสตร์ด้วย






ของดีประจำจังหวัด แก้

ปลาทูแม่กลอง (จังหวัดสมุทรสงคราม) แก้

นอกจากของดีตามคำขวัญจังหวัดแล้ว สมุทรสงครามยังมี “ปลาทูแม่กลอง” เป็นอีกหนึ่งของดีอันเลื่องชื่อ ซึ่งในทุกๆวันที่ท่าเรือหน้าวัดปทุมคณาวาส ที่เป็นท่าขึ้นปลาทูขนาดใหญ่ จะเต็มไปด้วยบรรยากาศของพ่อค้า แม่ค้า และชาวประมง มาทำการซื้อขายปลาทูกันอย่างคึกคัก เพื่อที่จะนำไปนึ่งแล้วขายเป็นปลาทูนึ่งใส่เข่ง ก่อนที่จะมีคนมาเดินเลือกซื้อปลาทูกับไปทำเมนูอันโอชะอีกต่อหนึ่ง เหตุที่ทำให้ปลาทูแม่กลองมีความสดใหม่อยู่ทุกวัน ก็เพราะว่าเมื่อเรือเดินทางออกสู่ทะเลในช่วงเย็น ก็จะออกไปทำการกวาดต้อนจับเหล่าบรรดาปลาทูน้อยใหญ่ ซึ่งปลาที่ถูกจับขึ้นมานั้นจะถูกแช่น้ำแข็งที่ใต้ท้องเรือ และเมื่อได้ปลาทูตามปริมาณที่กำหนดไว้ ก็จะนำเรือเข้าเทียบท่าในเวลาช่วงเช้า โดยจะไม่มีการเก็บปลาไว้ค้างคืน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปลาทูแม่กลองมีความสด ใหม่ และกินอร่อยกว่าที่อื่น

ลิ้นจี่ แก้

ความอุดมสมบูรณ์ของประเทศไทย ทำให้มีผลไม้ทั่วทุกภูมิภาค ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันออกผลผลิตให้คนไทยและชาวโลกได้สัมผัสกับความอร่อยที่หลากหลายตลอดทั้งปี ไม่ซ้ำแบบกัน แต่ละพื้นที่จะมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเฉพาะตัว เช่น ที่สมุทรสงคราม ยามเข้าหน้าร้อนจะมีผลไม้พิเศษชนิดหนึ่ง ที่สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้ท้องถิ่นด้วยรสชาติที่หวานหอม กรอบ อร่อย ทำให้ใครได้ชิมแล้วต้องติดใจ จนบอกได้ว่านี่คือ “สุดยอดลิ้นจี่ของสมุทรสงคราม”

อ้างอิง แก้

  1. พม. เผยภาคอีสานครองแชมป์ภาพรวมค่าดัชนีความมั่นคงของมนุษย์สูงสุด 0.7290 ในขณะที่ค่าดัชนีภาพรวมของประเทศ เท่ากับ 0.6924 - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์