โกงกางใบใหญ่

สปีชีส์ของพืช
โกงกางใบใหญ่
ฝักโกงกางใบใหญ่
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Rosids
อันดับ: Malpighiales
วงศ์: Rhizophoraceae
สกุล: Rhizophora
สปีชีส์: R.  mucronata
ชื่อทวินาม
Rhizophora mucronata
Lam.[2]
โกงกางใบใหญ่ในญี่ปุ่น

โกงกางใบใหญ่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Rhizophora mucronata) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Rhizophoraceae เปลือกลำต้นสีเทาเข้มถึงดำ แตกเป็นร่อง รอบ ๆ โคนต้นมีรากค้ำยันเพื่อพยุงลำต้นให้แข็งแรง สามารถดำรงต้นได้ในดินโคลน ใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรียงเป็นคู่ตรงข้าม ใบสีเขียวอ่อนมีจุดดำที่ก้านใบ ใบเกล็ดสีแดง หุ้มยอดอ่อน ดอกเป็นดอกช่อ ออกที่ง่ามใบ กลีบเลี้ยงสีเหลืองอ่อน มี 4 กลีบ กลีบดอกสีขาว 4 กลีบ มีกลิ่นหอม ผลเดี่ยว ทรงคล้ายลูกข่าง สีน้ำตาล ผิวของผลหยาบสาก ผลงอกตั้งแต่อยู่บนต้น เป็นฝักตรงสีเขียวอ่อน ส่วนที่ติดกับขั้วมีกลีบเลี้ยง

พบในป่าชายเลน เป็นไม้ใช้ก่อสร้าง เผาถ่าน น้ำจากเปลือกใช้ล้างแผลและดื่มแก้ท้องร่วง

อ้างอิง แก้

  • มัณฑนา นวลเจริญ. 2552. สารานุกรมความหลากหลายทางชีวภาพตำบลคลองประสงค์ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. กทม. สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  1. Duke, N.; Kathiresan, K.; Salmo III, S.G.; Fernando, E.S.; Peras, J.R.; Sukardjo, S.; Miyagi, T. (2010). "Rhizophora mucronata". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 2012-10-08.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. GRIN (March 1, 2006). "Rhizophora mucronata information from NPGS/GRIN". Taxonomy for Plants. National Germplasm Resources Laboratory, Beltsville, Maryland: USDA, ARS, National Genetic Resources Program. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-01-16. สืบค้นเมื่อ October 7, 2012.