เหยี่ยวแดง
เหยี่ยวแดง | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Accipitriformes |
วงศ์: | Accipitridae |
สกุล: | Haliastur |
สปีชีส์: | H. indus |
ชื่อทวินาม | |
Haliastur indus Boddaert, 1783 |
เหยี่ยวแดง เป็นนกล่าเหยื่อขนาดกลางในวงศ์ Accipitridae สามารถพบได้ในอนุทวีปอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ประเทศออสเตรเลีย
ลักษณะ
แก้เหยี่ยวแดงมีสีที่ตัดกันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งตัวจะมีสีน้ำตาลแดงยกเว้นที่หัวและอกมีสีขาว ปลายปีกมีสีดำ ขามีสีเหลือง ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้มีความยาวจากปลายปีกจดปลายหาง 51 ซม. ตัวผู้ยาว 43 ซม.[2] นกวัยอ่อนมีสีน้ำตาลแกมดำคล้ายกับเหยี่ยวดำ แต่มีสีจางกว่า ปีกสั้น และ หางมน
เหยี่ยวแดงมีขนาดพอๆกับเหยี่ยวดำและมีลักษณะการบินที่คล้ายกันจากมุมปีก แต่มันมีปลายหางมนเหมือนกับนกในสกุล Milvus ขณะที่เหยี่ยวดำมีหางเป็นแฉก[3] นกทั้งสองสกุลนี้มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก[4]
อนุกรมวิธาน
แก้เหยี่ยวแดงถูกจำแนกครั้งแรกโดยนักธรรมชาติวิทยาชาวดัตช์ที่ชื่อ พีเทอร์ บอดเดอต์ (Pieter Boddaert) ในปี ค.ศ. 1783 มีด้วยกัน 4 สปีชีส์ย่อย:
- indus (Boddaert, 1783) พบในเอเชียใต้
- flavirostris Condon & Amadon, 1954 พบในหมู่เกาะโซโลมอน
- girrenera (Vieillot, 1822) พบในเกาะนิวกินี หมู่เกาะบิสมาร์ค และ ประเทศออสเตรเลีย
- intermedius Blyth, 1865 พบในคาบสมุทรมลายูไปถึงหมู่เกาะซุนดา เกาะซูลาเวซี และ ประเทศฟิลิปปินส์
การกระจายพันธุ์และสถานะการอนุรักษ์
แก้เหยี่ยวแดงสามารถพบได้ในประเทศศรีลังกา, ประเทศอินเดีย, ประเทศปากีสถาน, ประเทศบังกลาเทศ, และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทางใต้ไปได้ไกลถึงรัฐนิวเซาท์เวลส์, ประเทศออสเตรเลีย เป็นนกประจำถิ่น แต่อาจมีการย้ายถิ่นตามฤดูกาลตามปริมาณน้ำฝนในบางบริเวณของพิสัย[6]
ส่วนใหญ่จะพบในที่ราบแต่บางครั้งพบที่ระดับความสูง 5000 ฟุตในเทือกเขาหิมาลัย[7]
เหยี่ยวแดงถูกประเมินเป็นความเสี่ยงต่ำในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติของชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม อย่างไรก็ตามในบางพื้นที่ นกชนิดนี้มีแนวโน้มที่จะลดจำนวนลง อย่างเช่นใน ชวา[8]
สำหรับในประเทศไทย เหยี่ยวแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 เป็นนกที่สามารถพบได้หลายพื้นที่ โดยจะพบได้ตามแถบชายฝั่งน้ำ, ที่ราบทุ่งนา, ป่าโปร่ง, ปากอ่าว, ชายฝั่งทะเล รวมถึงเกาะเล็ก ๆ ส่วนใหญ่ชอบอยู่ใกล้หมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านเลนตัก บริเวณาปากแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น โดยถือว่าเป็นดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลนประการหนึ่ง[9]
พฤติกรรม
แก้เหยี่ยวแดงชอบบินอยู่ตัวเดียวหรือ เป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ เมื่อพบอาหารมันจะบินเป็นวงกลม พร้อมกับบินดิ่งควงลงมา โฉบอาหารนั้นขึ้นไปกินบนต้นไม้สูงซึ่งอยู่ใกล้ ๆ อาหารได้แก่ กบ เขียด งู นก แมลง หนู ลูกเป็ด ลูกไก่ สัตว์เลื้อยคลานเล็ก ๆ เหยี่ยวแดง ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อน ทำรังตามกิ่งไม้ใกล้แหล่งน้ำ วางไข่ครั้งละ 2 - 4 ฟอง ไข่สีขาวไม่มีลวดลายใดๆ ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่นาน 29 - 31 วัน[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ BirdLife International (2004). Haliastur indus. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 12 May 2006.
- ↑ เหยี่ยวแดง[ลิงก์เสีย] ฐานความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่
- ↑ 3.0 3.1 Rasmussen, PC & JC Anderton (2005) Birds of South Asia: The Ripley Guide. Smithsonian Institution and Lynx Edicions. Vol 2. p. 86
- ↑ Wink M, Sauer-Gürth H 2000 Advances in the molecular systematics of African Raptors. In: Chancellor RD, Meyburg B-U (eds) Raptors at Risk, (R.D. Chancellor & B.-U. Meyburg, Eds). WWGBP/HancockHouse. pp 135-147 PDF
- ↑ นกเมืองไทย คู่มือดูนก หมอบุญส่ง เลขะกุล ISBN 978-974-619-181-4
- ↑ Hill,LA (1966) Heralders of the monsoon. Newsl. for Birdwatchers 6 (8) :6-7.
- ↑ Dodsworth,PTL (1912) Extension of the habitat of the Brahminy Kite (Haliastur indus). J. Bombay Nat. Hist. Soc. 21 (2) :665-666
- ↑ van Balen, B. S., I. S. Suwelo, D. S. Hadi, D. Soepomo, R. Marlon, and Mutiarina. 1993. Decline of the Brahminy Kite Haliastur indus on Java. Forktail 8:83-88.
- ↑ หน้า 21 เกษตร, เติมเต็มแหล่งเหยี่ยวแดงอ่าวไทย ดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ป่าชายเลน. "เกษตรนวัตกรรม". เดลินิวส์ฉบับที่ 24,033: วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558 แรม 2 ค่ำ เดือน 8-8 ปีมะแม
- ↑ เหยี่ยวแดง องค์การสวนสัตว์
- Hadden, Don (2004). Birds and Bird Lore of Bougainville and the North Solomons. Alderley, Qld: Dove Publications. ISBN 0-9590257-5-8.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Haliastur indus ที่วิกิสปีชีส์