แสมดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Avicennia officinalis ) เป็นพืชในป่าชายเลน พบได้ทั้งหาดทรายปนเลนและหาดเลน เป็นแนวป่าที่ช่วยดักตะกอนดินสำคัญในระบบนิเวศป่าชายเลน รากเป็นร่างแห มีรากหายใจเป็นแท่งโผล่ขึ้นดิน เปลือกต้นเรียบ สีเขียวเข้มถึงเทาเข้ม ใบแตกตรงข้ามเป็นคู่ ใต้ใบไม่ซีดแบบแสมขาว ใบหนาอวบน้ำป้องกันการสูญเสียน้ำ มีต่อมเกลือที่ใบช่วยขับเกลือออก ดอกสีขาว-เหลือง 4 กลีบ เป็นช่อคล้ายดอกแสมขาว แต่ดอกใหญ่กว่า ผลเป็นรูปกระเปาะคล้ายแสมขาว แต่สั้นกว่า ผลเป็นรูปหยดน้ำ ปลายผลงอ มีขนสีน้ำตาลอ่อนคลุมทั้งผล ผลลอยน้ำได้[2]

แสมดำ
Indian mangrove
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
เคลด: แอสเทอริด
Asterids
อันดับ: กะเพรา
Lamiales
วงศ์: เหงือกปลาหมอ
Acanthaceae
สกุล: Avicennia
Avicennia
L.
สปีชีส์: Avicennia officinalis
ชื่อทวินาม
Avicennia officinalis
L.

การใช้ประโยชน์

แก้

มีสารแทนนินในเปลือกใช้ฟอกหนัง ผลใช้ทำขนมลูกแสมซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านของอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรีได้ โดยนำลูกแสมมาแกะไส้กลางซึ่งเป็นเอ็มบริโอออกไปก่อน นำไปต้มไล่ความขมออกหลายน้ำจนจืด นำลูกแสมต้มนี้ไปคลุกเกลือรับประทาน หรือนำไปผสมกับแป้งมันสำปะหลัง แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำตาลปี๊บ แล้วนำไปนึ่ง ลูกแสมที่นิยมนำมาทำขนมจะเป็นผลอ่อน เปลือกสีเขียวอ่อน ถ้าผลแก่จะใช้ทำขนมไม่ได้[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Duke, N.; Kathiresan, K.; Salmo III, S.G.; Fernando, E.S.; Peras, J.R.; Sukardjo, S.; Miyagi, T. (2010). "Avicennia officinalis". IUCN Red List of Threatened Species. 2010: e.T178820A7616950. สืบค้นเมื่อ 8 May 2021.
  2. จักกริช พวงแก้ว; สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิช; วิภาพรรณ นาคแพน (2006). นักสืบชายหาด: พืชและสัตว์ชายหาด. กทม.: มูลนิธิโลกสีเขียว. p. 155. ISBN 9747076195.
  3. เส้นทางขนมไทย. กทม.: แสงแดด. 2010. p. 168. ISBN 9786167016177.

อนุกรมวิธาน

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้