โกงกางใบเล็ก
โกงกางใบเล็ก | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Rhizophoraceae |
สกุล: | Rhizophora |
สปีชีส์: | R. apiculata |
ชื่อทวินาม | |
Rhizophora apiculata Blume |
โกงกางใบเล็ก เป็นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่ขึ้นได้ในดินเลนที่ค่อนข้างอ่อน ลึกและมีน้ำทะเลท่วมถึงตลอดเวลา ดังนั้นจึงพบไม้ชนิดนี้ขึ้นตามชายฝั่งทะเลริมแม่น้ำ, ชายคลองและป่าชายเลน สามารถพบได้ในตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย (รัฐควีนส์แลนด์ และนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี), กวม, ประเทศอินเดีย, ประเทศอินโดนีเซีย, ประเทศมาเลเซีย, ประเทศมัลดีฟส์, ภูมิภาคไมโครนีเซีย, นิวแคลิโดเนีย, ประเทศปาปัวนิวกินี, ประเทศฟิลิปปินส์, ประเทศสิงคโปร์, หมู่เกาะโซโลมอน, ประเทศศรีลังกา, ไต้หวัน, ประเทศไทย ประเทศวานูอาตู และประเทศเวียดนาม
มีชื่อพื้นเมืองดังนี้: โกงกาง (ระนอง), โกงกางใบเล็ก (ภาคกลาง), พังกาทราย (กระบี่), พังกาใบเล็ก (พังงา)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้โกงกางใบเล็กเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 25-35 ม. ระบบรากเป็นระบบรากแก้วมีรากเสริมออกมาเหนือโคนต้น 3-8 ม. รากที่โคนต้นหรือรากค้ำยันลำต้นแตกแขนงระเกะระกะไม่เป็นระเบียบ ทำมุมเกือบตั้งฉากกับลำต้นและหักเกือบเป็นมุมฉากลงดินเพื่อพยุงลำต้น เรือนยอดรูปกรวยคว่ำแคบ ๆ
ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30-50 ซม. เปลือกสีเทาคล้ำหรือเทาอมชมพู แตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาวทั่วไปและอาจมีร่องสั้น ๆ แตกตามขวางคั่นระหว่างร่องยาวอย่างไม่เป็นระเบียบ เมื่อทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่จะพบว่าเปลือกในจะมีสีแสดถึงแดงเลือดหมู
ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางตั้งฉาก ใบคู่ล่างๆ จะร่วงไปเหลือแต่คู่ใบ 2-4 คู่ เป็นกลุ่มที่ปลายกิ่ง รูปรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-18 ซม. ปลายแหลมหรือเป็นติ่งแหลมเล็กยาว แข็ง สีดำ โคนรูปลิ่ม เส้นกลางใบด้านล่างสีแดงเรื่อ ๆ หรือชมพูอมแดง เส้นแขนงใบปรากฏราง ๆ แผ่นใบหนา ก้านใบยาว 1.5-3.5 ซม. มักมีสีแดงเรื่อ ๆ หูใบแคบ ปลายแหลมยาวประกบกันเป็นคู่ระหว่างคู่ใบ เห็นได้ชัดที่ปลายกิ่ง ยาว 4-9 ซม. สีชมพู ร่วงง่าย ใบเล็กกว่าโกงกางใบใหญ่
ดอกสมบูรณ์เพศ ช่อดอกสั้นมาก ออกตามง่ามใบที่ใบร่วงไปแล้ว ก้านช่อดอกยาว 0.6-2 ซม. ตรงปลายก้านช่อมีดอกที่ไม่มีก้านหรือมีก้านสั้น 1 คู่ ดอกตูมรูปไข่ ยาว 1.2-1.6 ซม. ใบประดับที่ฐานดอกติดกันคล้ายรูปถ้วย กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ กว้าง 6-8 มม. ยาว 0.7-1.2 ซม. กลีบหนา ปลายแหลม ต่อมาจะโค้งลงเกือบแนบก้านดอก กลีบดอก 4 กลีบ ร่วงง่าย รูปใบหอก กว้าง 1-2 มม. ยาว 0.7-1.2 ซม. สีเหลืองอมเขียวหรือเหลืองอ่อน ขอบกลีบไม่มีขน เกสรเพศผู้ 12 อัน ก้านชูอับเรณูสั้นมากหรือไม่ปรากฏชัด
ผลมีรูปไข่กลับยาว 2-3 ซม. สีน้ำตาลคล้ำ ผิวค่อนข้างขรุขระ เมล็ดงอกได้ในขณะที่ผลยังติดอยู่กับต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงรูปทรงกระบอก เรียงโค้งเล็กน้อย ยาว 30-40 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. มีขนาดโตขึ้นที่ส่วนปลาย ผิวเป็นมัน สีเขียวหรือเขียวอมม่วง ค่อนข้างเรียบหรือมีตุ่มขรุขระกระจัดกระจาย[1] เมื่อร่วงหล่นลงสู่พื้นจะปักลงในดิน
เสริม 2561 พบว่าใบของโกงกางเป็นสมุนไพร ไว้คลาดร้อน เครียด ปวดท้องรุนแรง แต่ควรต้มก่อน สามารถรวมกับอย่างอื่นเพื่อเปลี่ยนรสชาติได้
ประโยชน์
แก้- น้ำจากเปลือกใช้ชะล้างแผล ห้ามเลือด แก้ท้องร่วง แก้บิด น.ส.พ.คม-ชัด-ลึก วันที่ : 17 ก.ค. 50
</ref>
- เปลือกให้น้ำฝาดสีน้ำตาลใช้ ย้อมผ้า อวน
- ลำต้นใช้ทำเสาเข็มในที่น้ำทะเลขึ้นถึง เผ่าถ่าน [2]
- เนื่องจากเปลือกมีสารแทนนินและฟีนอล เป็นสารที่ใช้ทำสี, หมึกและยา จึงมีการนำไปสกัด
- ใบ เป็นสมุนไพรได้ ตามเสริม
วิธีการทำสีย้อมผ้า
แก้สีน้ำตาลแก่จากเปลือกไม้โกงกาง นำเปลือกไม้โกงกางที่แห้งพอหมาด มาล้างน้ำให้สะอาด แช่น้ำไว้ 1 คืน แล้วต้มเคี่ยวไว้ 2 วัน แล้วกรองเอาแต่น้ำย้อม