ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ

วิธีการใช้ แก้

การออกแบบรูปแบบสำหรับหน้าย่อยเหล่านี้อยู่ที่ ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/Layout

  1. เพิ่มบทความที่ได้เลือกใหม่สำหรับเป็นหน้าย่อยถัดไป
  2. สำหรับ "การนำเสนอเนื้อหา" สำหรับทุกบทความแนะนำ ควรจะนำเสนอเนื้อหาประมาณ 10 บรรทัด เพื่อให้เกิดการแสดงเนื้อหาที่เหมาะสมในหน้าหลักของสถานีย่อย
  3. อัปเดต "max=" เพื่อรวมใหม่สำหรับ {{Random portal component}} บนหน้าหลัก

รายการบทความแนะนำ แก้

ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/1

ปยุต เงากระจ่าง เป็นบรมครูด้านการ์ตูนเคลื่อนไหวของไทย อาจารย์วิทยาลัยเพาะช่าง และผู้กำกับหนังการ์ตูนขนาดยาวเรื่องแรกของประเทศไทย สุดสาคร รวมไปถึงเป็นผู้นำเอาการ์ตูนเข้าไปใช้ในภาพยนตร์โฆษณา ทำให้เกิดงานสร้างสรรค์หลายๆ ชิ้น เช่น ภาพยนตร์โฆษณาแป้งเย็นควีนนา (กระจกวิเศษ), นกกระสากับเด็กในโฆษณายาน้ำยี่ห้อหนึ่ง

ปยุต เงากระจ่าง เกิดวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2472 ที่หมู่บ้านคลองวาฬ ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สำเร็จการศึกษาจาก โรงเรียนเพาะช่าง ตั้งแต่วัยเยาว์ เด็กชายปยุต มีความหลงใหลในตัวการ์ตูนเป็นพิเศษ โดยเฉพาะกับบุคลิกของตัวตลก ในหนังตลุงอย่างไอ้แก้ว ไอ้เปลือย ไอ้เท่ง รวมถึงตัวการ์ตูนแมวเฟลิกซ์ จากหนังการ์ตูนอเมริกันเรื่อง Felix the Cat ของ Pat Sullivan ซึ่งเคยมีโอกาสเข้าไปฉายในประจวบคีรีขันธ์

แรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนของปยุต เกิดขึ้นเมื่อเขาได้พบกับ เสน่ห์ คล้ายเคลื่อน จิตรกรชื่อดังคนหนึ่งของเมืองไทย โดยบังเอิญ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2484 การพบกันครั้งนั้น เสน่ห์ได้ชวนเด็กชายปยุต ไปทำภาพยนตร์การ์ตูนด้วยกันเมื่อเข้ากรุงเทพ


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/2

ชัย ราชวัตร เป็นนามปากกาของ นักวาดการ์ตูนชาวไทย มีผลงานเป็นที่รู้จักกันคือ ผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน โดย เป็นการ์ตูนรายวันตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

"ชัย ราชวัตร" มีชื่อจริงว่า "สมชัย กตัญญุตานันท์" เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อ พ.ศ. 2484 ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน หลังจากจบการศึกษาที่บ้านเกิดแล้ว ก็เข้ากรุงเทพมาเรียนวิชาบัญชีที่โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย เพราะต้องการทำงานธนาคาร เมื่อเรียนจบก็ได้เข้าทำงานที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แต่ก็ลาออกเพราะรู้สึกว่าเป็นงานที่น่าเบื่อ

ชัยเริ่มทำงานด้านหนังสือโดยการเป็นฝ่ายศิลป์ให้หนังสือกีฬา ชื่อ เดอะเกม และหนังสือพิมพ์การเมือง ชื่อ ธงไชย และหนังสือพิมพ์มหาราษฎร์ ซึ่งชัยได้เริ่มต้นการเขียนการ์ตูนการเมืองชิ้นแรก ชื่อ “ใครจะเอากระพรวนไปแขวนคอแมว” จากนั้นได้วาดภาพประกอบ 'งิ้วการเมือง' และสร้างผลงานผู้ใหญ่มากับทุ่งหมาเมิน ในหนังสือพิมพ์รายวัน เดลินิวส์ และ ไทยรัฐ


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/3

ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต หรือ เปล่ง ไตรปิ่น เป็นนักเขียนปกและภาพล้อในสมัย รัชกาลที่ 6 ซึ่งภายหลังได้รับการยกย่องให้เป็นนักเขียนการ์ตูนคนแรกของเมืองไทย ทั้งยังเป็นผู้นำวิชาการทำบล็อกเข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ไม่คิดเลย" และครูสอนวิชาวาดเขียนในโรงเรียนเพาะช่าง

ประวัติของขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิตนั้นไม่ใคร่ชัดเจนนัก ไม่มีข้อมูลว่าท่านเกิดที่ไหน เมื่อไร ทราบแต่ว่าเป็นบุตรของนายสอนกับนางเภา ท่านเคยดั้นด้นไปเรียนวิชาจิตรกรรมที่อังกฤษ แล้วเดินทางไปนอร์เวย์ เดนมาร์ก อิตาลี สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย รวมระยะเวลากว่า 20 ปี ต่อมาได้เดินทางกลับเมืองไทยพร้อมคณะซื้อม้าของพระยาคทาทรธรนินทร์ (ชุ่ม อภัยวงศ์)

เมื่อกลับมาแล้ว กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน อธิบดีกรมรถไฟหลวง ได้บรรจุให้เปล่งเข้าทำงานในตำแหน่งช่างถ่ายภาพกรมรถไฟหลวง แต่ลาออกในภายหลังเนื่องจากไปขัดแย้งกับเจ้าหน้าที่ฝรั่ง จากนั้นท่านจึงไปเขียนภาพล้อตามหนังสือพิมพ์ต่างเช่น กรุงเทพฯ, เดลิเมล์, ไทยหนุ่ม, บางกอกไตม์ เป็นต้น แล้วจึงไปเป็นครูโรงเรียนเพาะช่าง

ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต เนื่องจากได้นำเทคโนโลยีการพิมพ์อย่างใหม่ คือ การทำบล็อกแม่พิมพ์ เข้ามาในเมืองไทย


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/4

วิธิต อุตสาหจิต บรรณาธิการหนังสือการ์ตูนในเครือบรรลือสาส์น และอดีตผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ผีหัวขาด มีผู้ให้สมญานามแก่เขาว่า “ราชาแห่งการ์ตูนไทย” ในยุคปัจจุบัน แฟนการ์ตูนบรรลือสาส์นรู้จักกันดีในนาม “บ.ก.วิติ๊ด”

วิธิต อุตสาหจิต เป็นบุตรของนายบันลือ อุตสาหจิต เจ้าของและผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ลำดับที่ 1 จากจำนวนพี่น้องทั้งหมด 9 คน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2496 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสตรีจุลนาค ต่อมาย้ายไปเรียนต่อสายวิชาชีพจนได้วุฒิประกาศนียบัตรทางวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนพณิชยพระนคร ช่วงนี้เองที่วิธิตมีโอกาสได้เรียนรู้ และเข้าไปฝึกงานด้านฟิล์ม โดยเข้าฝึกงานกองถ่ายภาพยนตร์ ก่อนจะไปตัดสินใจไปเรียนการทำภาพยนตร์ที่ London College ประเทศอังกฤษ จนจบปริญญาตรี

ภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้ว วิธิตจึงรับช่วงต่อธุรกิจจากบิดา เพื่อรับหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่ขับเคลื่อนธุรกิจโรงพิมพ์ และหนังสือขายมุขในเครือบรรลือสาส์นช่วงประมาณปี 2520


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/5

ภักดี แสนทวีสุข หรือ ต่าย ขายหัวเราะ นักเขียนการ์ตูนไทยสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ผู้เป็นส่วนหนึ่งในการบุกเบิกหนังสือการ์ตูนขายหัวเราะและมหาสนุก และเป็นเจ้าของผลงานชุด "ปังปอนด์" ในปัจจุบัน

ภักดี แสนทวีสุข เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2503 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาชั้นสุดท้ายที่ระดับประกาศนียบัตรวีชาชีพชั้นสูง (ปวส.) แผนกการโฆษณา จากวิทยาลัยการพาณิชย์พระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2522

ขณะที่ภักดีกำลังเรียนอยู่ชั้น ปวช. ปี 2 เขาได้นำต้นฉบับการ์ตูนมาเสนอต่อ บ.ก.วิธิต อุตสาหจิต บรรณาธิการหนังสือในเครือสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น หลังจากพิจารณาผลงานอยู่ 2 วันแล้ว บ.ก. วิธิต จึงได้รับภักดีเข้าทำงานเขียนการ์ตูนในหนังสือการ์ตูน ขายหัวเราะ มหาสนุก ในต้นปี พ.ศ. 2523 ทันที นอกจากนี้เขายังได้เขียนนิยายภาพลงในหนังสือ หลายรส ซึ่งเป็นของบรรลือสาส์นเช่นกันอยู่ระยะหนึ่งด้วย


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/6

ผดุง ไกรศรี หรือ เอ๊าะ เป็นนักเขียนการ์ตูนในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด หนูหิ่น อินเตอร์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงจนได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2549

ผดุง ไกรศรี เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ที่ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี จบการศึกษาจาก วิทยาเขต เพาะช่าง กรุงเทพ เข้าสู่วงการการ์ตูนโดยเขียนนิยายภาพลงในการ์ตูนเล่มละบาท ต่อมาได้เขียนนิยายภาพในหนังสือรายสัปดาห์ “มหัศจรรรย์” ของ สำนักพิมพ์จินดาสาส์น นาน 10 ปี ต่อมาได้เข้ามาเขียนการ์ตูนให้กับนิตยสารสวนเด็ก หนูจ๋า เบบี้ ขายหัวเราะ และ มหาสนุก ของสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เมื่อ พ.ศ. 2535 โดยเขียนทั้งนิยายภาพสะท้อนชีวิตเด็กชนบท และการ์ตูนรวมเล่มชุด อะตุ๊กะ (แถมนิตยสารรู้รอบตัว พ.ศ. 2534) และการ์ตูนตลก 3 ช่อง (ตีพิมพ์ในขายหัวเราะและมหาสนุก) รวมทั้งการ์ตูนเรื่องสั้นจบในตอน ชุด หนูหิ่น อินเตอร์ ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในมหาสนุกช่วงปลายปี พ.ศ. 2538 และกลายเป็นผลงานสร้างชื่อชิ้นสำคัญของผดุง ภายหลังผดุงได้เขียนเรื่องนี้ลงในหนังสือหนูหิ่นอินเตอร์โดยเฉพาะ และยังเขียนเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/7

เตรียม ชาชุมพร เป็นนักเขียนการ์ตูนฝีมือระดับแนวหน้าของไทย ผู้มีผลงานอันโดดเด่นอยู่จากลายเส้นและบรรยากาศแบบไทยๆ ในงานเขียนต่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานภาพประกอบแบบเรียนภาษาไทยระดับประถมศึกษาชุด มานะ มานี ปิติ ชูใจ

เตรียม ชาชุมพร เกิดที่บ้านหนองหวาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 ได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนบ้านหนองหวาย แล้วไปศึกษาต่อชั้นมัธยมที่โรงเรียนสิทธิธรรมวิทยาศิลป์ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จนสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม.ศ. 3)

ระหว่างที่เรียนในช่วงปลาย ม.ศ. 3 เตรียมก็ได้รู้จักกับจุลศักดิ์ อมรเวช (หรือ จุก เบี้ยวสกุล) นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง ซึ่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนสิทธิธรรมวิทยาศิลป์ที่เขาเรียนอยู่ จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของจุก เบี้ยวสกุล กระทั่งเมื่อจบ ม.ศ.3 แล้ว เตรียมจึงทำงานเป็นครูผู้ช่วยสอน และสอบได้วาดเขียนโท โดยเขาสอนหนังสือและเขียนการ์ตูนไปด้วย เมื่อฝีมือใช้ได้ จุก เบี้ยวสกุล จึงนำงานการ์ตูนของเตรียมไปเสนอให้ทีมงานหนังสือการ์ตูน "ท้อปป๊อป" ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนแนวนิยายภาพพิจารณาตีพิมพ์ เตรียม ชาชุมพร จึงได้เปิดตัวครั้งแรกในหนังสือ "ท้อปป๊อป" ด้วยเรื่อง "มังกรผยอง" นิยายภาพแนวเรื่องจีนซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในเวลานั้น แต่ได้ลงพิมพ์เพียงตอนเดียวเท่านั้น เนื่องจาก "ท้อปป๊อป" ได้ปิดตัวเองลงในเวลาต่อมา


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/8

โอม รัชเวทย์ ศิลปิน นักเขียนการ์ตูน นักวาดภาพประกอบ จบการศึกษาแผนกวิจิตรศิลป์ จากเพาะช่าง เป็นหนึ่งในทีมศิลปินผู้วาดภาพผลงานการ์ตูนฉบับพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก และ คุณทองแดง และในอดีตเคยเป็นผู้ออกแบบภาพยนตร์โฆษณาในโครงการตาวิเศษ รวมไปถึงผลงานภาพประกอบในแบบเรียนสำหรับชั้นประถมชุดมานี-มานะ

ผลงานการเขียนการ์ตูนของโอม รัชเวทย์ มักจะเป็นเรื่องราวในวรรณคดี นิทานพื้นบ้าน นิทานสำหรับเด็ก มีแง่คิด คติสอนใจแฝงซ่อนอยู่ในการ์ตูนเสมอ


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/9

วาทิน ปิ่นเฉลียว หรือ ต่วย บรรณาธิการบริหารของ ต่วย’ตูน นิตยสารพ็อกเกตบุ๊กรายปักษ์ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ พ.ศ. 2514 เป็นผู้บัญญัติคำว่า "แฟนานุแฟน"

วาทิน ปิ่นเฉลียว เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2473 เป็นบุตรคนกลางของนายวิวัธน์ และนางพวง ปิ่นเฉลียว มี่พี่สาวชื่อ มาลัย มีพี่ชายชื่อ ปกรณ์ ปิ่นเฉลียว (ทิฆัมพร หยาดเมฆา) มีน้องสาวชื่อ จินตนา ปิ่นเฉลียว (จินตวีร์ วิวัธน์) จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยทำงานเป็นสถาปนิกควบคุมงานก่อสร้างเขื่อนยันฮี เริ่มเข้าสู่วงการหนังสือ ตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 ด้วยการวาดรูปการ์ตูนในหนังสือฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นไปเขียนภาพประกอบเรื่องให้ "นิตยสารสยามสมัย" และวาดการ์ตูนให้กับ "นิตยสารชาวกรุง" วาทินมีบุตรสองคนคือ ดาว ปิ่นเฉลียว และดุลย์ ปิ่นเฉลียว


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/10

จักรพันธ์ ห้วยเพชร ชื่อเล่น ต้น เป็นนักเขียนการ์ตูนชาวไทย และมีผลงานสร้างชื่ออย่าง "สตรีทบอลสะท้านฟ้า" (Super Dunker) ที่ทำให้เขาได้รับรางวัลชนะเลิศโกลด์อะวอร์ด จากอินเตอร์เนชั่นแนล มังงะอะวอร์ด ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นโดยกระทรวงการต่างประเทศ ประเทศญี่ปุ่น ในพ.ศ. 2552 โดยมีการ์ตูนทั้งหมด 303 เรื่อง จาก 55 ประเทศทั่วโลกที่เข้าร่วมประกวดในปีดังกล่าว นอกจากนี้เขายังมีผลงานหนังสือการ์ตูน "Flyff COMIC!" ที่มีต้นฉบับมาจากเกม "ฟลิฟ ออนไลน์" ซึ่งเป็นเกมออนไลน์ จากเกาหลีใต้ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ และมีงานเขียนสารคดีกึ่งอัตชีวประวัติที่มีชื่อว่า "บุกเมืองมังงะ" จัดพิมพ์โดยบันลือกรุ๊ป อันเป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เขาเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/11

สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ เป็นนักเขียนการ์ตูนในสังกัดสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ผู้เป็นที่รู้จักกันในนามปากกา "หมู นินจา" เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด บ้านนี้ 4 โชะ กระบี่หยามยุทธภพ และสามก๊ก มหาสนุก

สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์เกิดเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2502 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาจากวิทยาลัยเพาะช่าง โดยระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยเพาะช่างนั้น เขาได้ทำงานหารายได้ระหว่างเรียนโดยการเป็นนักข่าวและฝ่ายศิลป์ในกับนิตยสาร "แหล่งรถ" ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 จึงได้ย้ายมาทำงานให้กับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น โดยเป็นฝ่ายศิลป์ให้กับนิตยสาร "วัยกรี๊ด" และเริ่มเขียนการ์ตูนแก๊ก 3 ช่องจบให้ขายหัวเราะและมหาสนุก

ในปี พ.ศ. 2531 สุชาติได้ย้ายไปทำงานให้กับสำนักพิมพ์บางกอก เพื่อออกนิตยสารการ์ตูนชื่อ "บางกอกฮาฮา" (ทำแจกคู่กับ "นิตยสารบางกอก") แต่ออกได้เพียง 5 ฉบับ หนังสือ "บางกอกฮาฮา" ก็ปิดตัวลงในปี พ.ศ. 2534 สุชาติจึงกลับมาเขียนการ์ตูนที่บรรลือสาส์นอีกครั้ง โดยในระยะนี้สุชาติได้เขียนการ์ตูนเรื่องสั้นที่โด่งดังหลายชุด เช่น จอมยุทธ์นินจา พะโล้สตอรี่ ย้อนศร กระบี่หยามยุทธภพ และบ้านนี้ 4 โชะ ซึ่งเรื่องหลังนี้ บริษัททีวีธันเดอร์ได้ซื้อลิขสิทธิ์ไปทำเป็นละครโทรทัศน์ในชื่อเดียวกัน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2537


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/12

สมโพธิ แสงเดือนฉาย เป็นทั้งผู้อำนวยการสร้าง และผู้กำกับภาพยนตร์ชาวไทย ซึ่งเป็นประธานบริษัท ไชโยโปรดักชั่นส์ จำกัด และเป็นบุคคลสำคัญผู้สร้างอุลตร้าแมน สมโพธิเกิดที่จังหวัดสมุทรปราการ เขาเป็นบุตรของชาวจีนโพ้นทะเลมณฑลกวางตุ้ง สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทคนิคทางภาพยนตร์ในกรุงเทพ ต่อมาสมโพธิได้รับทุนการศึกษาจากธนาคารออมสิน กับธนาคารมิตซุยไปศึกษาต่อด้านเทคนิคภาพยนตร์ที่ประเทศญี่ปุ่นในบริษัท โตโฮโปรดักชั่นส์ จำกัด และได้พบกับอาจารย์เอยิ สึบุราย่า

สมโพธิ เป็นอดีตเด็กวัด เคยเป็นนักศึกษาฝึกงานร่วมกับอาจารย์เอยิ สึบุราย่า ในการสร้างซีรีส์ อุลตร้าแมน และในภายหลังได้มีการฟ้องร้องกรณีเรียกสิทธิจากซึบูราญ่าโปรดักส์ชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น โดยอ้างถึงการเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในส่วนที่เกี่ยวของกับอุลตร้าแมนในประเทศต่างๆ รวมถึงสิทธิ์ด้านการตลาดที่ประเทศจีน เนื่องด้วยอุลตร้าแมนเป็นตัวละครที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางเช่นดียวกับประเทศไทย


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/13

มุนินทร์ สายประสาท เป็นนักวาดการ์ตูนชาวไทยในสังกัดจำอ้าวสำนักพิมพ์ เธอมีชื่อเสียงในวงการนักวาดการ์ตูนโดยการ์ตูนเล่มแรกของเธอ "มุนินฺ" ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี นอกจากนี้ เธอยังเป็นเจ้าของลายเส้นประกอบมิวสิกวิดีโอเพลง "ราตรีสวัสดิ์" ด้วยเช่นกัน

มุนินทร์ สายประสาท เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2531 ในจังหวัดขอนแก่น กำลังศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุดประกายการเป็นนักวาดการ์ตูนเริ่มจากการที่ มุนินทร์ สายประสาท ได้เริ่มวาดรูปส่งเข้าประกวดงานต่างๆ จนเธอก็ได้รางวัลมาตลอดได้ใบประกาศนียบัตรการันตีมาแล้วหลายงาน โดยตอนชั้นอนุบาลเธอจะชอบวาดรูปตามหนังสือการ์ตูนชื่อดัง และตอนมัธยมเธอนั้นชอบการ์ตูนญี่ปุ่น เลยวาดตามและนำเรื่องเพื่อนๆมาแต่งเป็นการ์ตูน จนหลายคนชื่นชมจึงนำการวาดภาพมาเป็นงานอดิเรก จนมาเรียนในมหาวิทยาลัยเธอก็ได้วาดการตูนเผยแพร่ในสังคมออนไลน์ เช่น ยูทูบ จนจ้ำอ้าวสำนักพิมพ์ ได้มาชักชวนเธอให้มาออกหนังสือ


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/14 วีระชัย ดวงพลา หรือ เดอะดวง เกิดวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 เป็นนักวาดการ์ตูนชาวไทย มีผลงานเป็นที่รู้จักอยู่มากมาย โดยเฉพาะเรื่อง "เรื่องมีอยู่ว่า" ที่สร้างชื่อเสียงให้เขา โดยเป็นเรื่องที่ทำให้เขาได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (Silver Award) จากเวทีประกวดรางวัลการ์ตูนนานาชาติ ครั้งที่ 4 ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2554

วีระชัยหัดวาดรูปตั้งแต่อายุ 3 ขวบ โดยมีคุณพ่อเป็นแรงบันดาลใจคนแรก และจากการ์ตูนญี่ปุ่นที่เขาชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นดราก้อนบอล หรือวันพีช ล้วนเป็นแรงบันดาลใจให้เขาหันมาเอาดีด้านวาดการ์ตูน จนอายุ 14 ก็ได้มีผลงานเล่มแรกคือเรื่อง “มันอยู่ในหู” ลงตีพิมพ์ในนิตยสาร C-kids จากนั้นก็มีผลงานตามมาอีกมากมาย

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้เขามากอีกเรื่องก็คือ "เรื่องมีอยู่ว่า" เป็นเรื่องที่ทำให้เขาได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (Silver Award) จากเวทีประกวดรางวัลการ์ตูนนานาชาติ ครั้งที่ 4 (4th International MANGA Award) ที่ประเทศญี่ปุ่นมาครองได้สำเร็จ


ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/15 ผู้ใช้:B20180/สถานีย่อย:การ์ตูนไทย/บุคคลในวงการ/15

เสนอบทความ แก้

การเพิ่มบทความ
  • ทุกคนมีสิทธิ์เสนอบทความ โดยสามารถเพิ่มบทความ (ที่มีความน่าสนใจ) ได้ทางด้านบนของรายการ
  • ถ้าคุณไม่แน่ใจหรือไม่ทราบวิธีการ กรุณาสอบถามหรือขอความช่วยเหลือได้ที่หน้าพูดคุย คุยเรื่องสถานีย่อย:การ์ตูนไทย