มหาสนุก

นิตยสารการ์ตูนไทยแนวตลกขำขันบนแผงหนังสือเมืองไทย

มหาสนุก เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเล่มหนึ่งในประเทศไทย จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบรรลือสาส์นได้ออกนิตยสารขายหัวเราะในปี พ.ศ. 2516 และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีวิธิต อุตสาหจิต เป็นบรรณาธิการ

ปกนิตยสารมหาสนุก ฉบับที่ 929 ประจำวันที่ 14-21 มกราคม พ.ศ. 2552 ภาพปกโดย สุพล เมนาคม (ต้อม)

รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารมหาสนุกนั้นคล้ายคลึงกับนิตยสารขายหัวเราะ กล่าวคือ เน้นการตีพิมพ์การ์ตูนแก๊กเป็นหลัก (โดยทีมงานนักเขียนการ์ตูนในนิตยสารเล่มนี้ใช้ทีมเดียวกับที่เขียนในขายหัวเราะ) เนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจ การเมือง หรือกระแสความนิยมต่างๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ขำขัน ภาพตลกจากต่างประเทศ สาระน่ารู้ต่างๆ แต่ส่วนที่ต่างไปจากขายหัวเราะคือ การตีพิมพ์เรื่องสั้นในมหาสนุกนั้นจะตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวต่อฉบับ และมีการ์ตูนเรื่องสั้นหรือนิยายภาพชุดต่างๆ จากฝีมือของนักเขียนการ์ตูนบรรลือสาส์นลงพิมพ์ฉบับละ 2 เรื่อง[1] ในท้ายเล่มยังมีเกมชิงรางวัลรูปแบบต่างๆ และการตอบจดหมายของผู้อ่านโดยนักเขียนการ์ตูน (ปัจจุบันได้มีการเลิกตีพิมพ์หน้าตอบจดหมายแล้ว) จากนั้นได้เพิ่มอีก 3 เกม อย่างเช่น "คิดดีๆ มีรางวัล" "ตาไวๆ ได้รางวัล" และ "ปริศนาอักษรไขว์"

เฉพาะการ์ตูนเรื่องสั้นซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกนั้น การ์ตูนชุดใดที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากก็จะได้รับการตีพิมพ์เป็นนิตยสารรวมเล่มในชื่อชุด "มหกรรมมินิซีรีส์" เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งการ์ตูนบางชุดก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาอย่างต่อเนื่องและมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ของภักดี แสนทวีสุข การ์ตูนชุด "บ้าครบสูตร" และ "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" ของอารีเฟน ฮะซานี เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้นำการ์ตูนเรื่องสั้นชุดของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกแล้วก็ตาม

ส่วนขนาดรูปเล่มของมหาสนุก ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 เช่นเดียวกับขายหัวเราะ ต่อมาในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2532 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า "มหาสนุกฉบับกระเป๋า" มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือมหาสนุกในปัจจุบัน ส่วนมหาสนุกเล่มใหญ่ยังคงทยอยออกมาอีกระยะหนึ่งจึงเลิกจัดพิมพ์ไปในปี พ.ศ.2537[2]

กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสิบวัน และรายสัปดาห์ตามลำดับพร้อมกับขายหัวเราะ โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับ และปรับราคาจำหน่ายของมหาสนุกในปี พ.ศ. 2552 อยู่ที่เล่มละ 15 บาท

ในช่วงปี พ.ศ.2545 ทางบรรลือสาสน์ได้เปิดแผนก Vithita Animation และได้ริเริ่มนำผลงานการ์ตูนยอดนิยมในนิตยสารมหาสนุก เช่น ปังปอนด์ มาสร้างในแบบการ์ตูนอนิเมชั่น 3 มิติ[3]เป็นจุดเริ่มต้นของการต่อยอดสร้างความนิยมด้วยการนำผลงานในเครือของตนสู่สื่อในรูปแบบอื่นๆในอีกหลายปีต่อมา

ปี พ.ศ. 2560 มหาสนุก ได้ปรับการวางแผงเป็นรายเดือน และปรับราคาอยู่ที่ เล่มละ 20 บาท[4]

ในช่วงปี พ.ศ. 2563 นิตยสารมหาสนุกได้ปรับรูปแบบอีกครั้ง ในฉบับที่ 1355 เดือน ตุลาคม ไปเป็น มหาสนุก Happy Learners เน้นไปในแนวทางนิตยสารที่เน้นไปทางการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กในวัย 7-12ปีพร้อมปรับขึ้นราคา เป็น 95 บาท [5] ตีพิมพ์อยู่จนถึงฉบับที่ 1362 ในปี พ.ศ. 2564 ก่อนจะเลิกออกไปเงียบๆ[6]

ปี 2566 บรรลือสาสน์ได้ทำการ Reprint นิตยสารการ์ตูนฉบับ ปฐมฤกษ์ ในเครือ เช่น ขายหัวเราะเล่มใหญ่ ฉบับที่ 1 ,ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า เล่ม1 ,นิตยสาร มหาสนุก เล่ม 1,สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่,ไอ้ตัวเล็ก,หนูหิ่นอินเตอร์ ฉบับแรก มาขายรวมกันในชื่อชุด เล่ม1 ฮ่าสิบปีRemastered Collection วางจำหน่ายในงานสัปดาห์หนังสือและ ช่องทางออนไลน์ ในจำนวนจำกัด 555ชุด [7]

รายชื่อการ์ตูนเรื่องสั้นที่ได้รับการรวมเล่ม แก้

 
หนูหิ่นอินเตอร์ โดย ผดุง ไกรศรี
 
Super Dunker สตรีทบอลสะท้านฟ้า เล่ม 1 โดย จักรพันธ์ ห้วยเพชร
ผลงานของ ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย)
  • ไอ้ตัวเล็ก (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น "ปังปอนด์") (2532 - ปัจจุบัน)
  • ปังปอนด์ The comics (รวมผลงานการ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ตีพิมพ์ซ้ำในแบบพิมพ์สี่สี)


ผลงานของ อารีเฟน ฮะซานี (เฟน สตูดิโอ)


ผลงานของ ผดุง ไกรศรี (เอ๊าะ)


ผลงานของ นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ (นิค)
  • เวตาลมหาสนุก (ดัดแปลงมาจากเรื่องปริศนาของเวตาล)
  • คนอลเวง (2533 - 2536)
  • เรียกข้าว่าพญายม (2536 - 2538)
  • เพื่อนซี้ 24 น. (2537 - 2538)
  • คนปลอมตัว (2539 - 2540)
  • พีพี...ไอ้ตี๋ซ่า (2541 - 2546)


ผลงานของ ณรงค์ จรุงธรรมโชติ (ขวด)
  • แนวร่วมต๊อง
  • สายลับช่องแอร์
  • เจ้าป่าอะเมซิ่ง
  • ด็อกอาร์มี่
  • A-TEAM ภารกิจพิชิตจักรวาล


ผลงานของ สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์ (หมู)
  • กระบี่หยามยุทธภพ (2533 - 2536)
  • บ้านนี้ 4 โชะ (2535 - 2546)
  • สามก๊ก มหาสนุก (45 เล่ม)
  • อีสป มหาสนุก
  • เกมมหาสนุก (ล้อเลียนรายการเกมโชว์ชื่อดังต่างๆ)
  • อะไรๆ ก็สนุก (ดัดแปลงมาจากเรื่องสั้นของนักเขียนหลายๆคนในนิตยสารขายหัวเราะ)
ผลงานของ วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ (วัฒนา)
  • พาเหรด (2 เล่ม)


ผลงานของ จำนูญ เล็กสมทิศ (จุ๋มจิ๋ม)
  • ศาสตราจารย์เพี้ยน (1 เล่ม)
ผลงานของ สุพล เมนาคม (ต้อม)
  • แก๊งจอมป่วน (2 เล่ม)


ผลงานของ ศุภมิตร จันทร์แจ่ม (ปุ๋ย)
  • สติแตกสุดขอบฟ้า (2 เล่ม)
  • วรรณคดีคอเมดี้ (มีแค่เล่มเดียว ให้รอ บ.ก. พิจรณาก่อน)
  • บรื้อ! น่ากลัวก็ไม่บอก (เค้าโครงจากวรรณกรรมสยองขวัญของครูเหม เวชกร)


ผลงานของ จักรพันธ์ ห้วยเพชร (ต้น)


ผลงานของ วิรัตน์ ยืนยงพัฒนากิจ (เอก วิรัตน์)
  • ดร. แมลงสาบ ฮีโร่พันธุ์ก๊าก (งานเขียนดัดแปลงจากการ์ตูนชุด "ไอ้แมลงสาบ" ของภักดี แสนทวีสุข)
  • วิลลี่ เดอะชิกเก้น ฮีโร่พันธุ์กะต๊าก (งานเขียนซึ่งได้แรงบันดาลใจจากตัวการ์ตูน "ไก่ย่างวัลลภ" ของสุพล เมนาคม)
  • สามก๊ก มหาสนุก ฉบับสมบูรณ์ (2 เล่มจบ - ย่อจากการ์ตูนชุด "สามก๊ก มหาสนุก" ซึ่งมีความยาว 45 เล่มจบ)
  • กลมกลิ้งสิงห์สตั๊ด (ในหนังสือมหาสนุก)

อ้างอิง แก้

  1. นิรวาณ คุระทอง. (2553). ประวัติย่อการ์ตูนไทย. สำนักพิมพ์ LET'S Comic. ISBN 9786169012863,น.236-237
  2. บ้านการ์ตูนไทย
  3. บ้านการ์ตูนไทย
  4. คิดยังไงกับการเปลี่ยนไปของ "ขายหัวเราะ" และ "มหาสนุก"?
  5. WORK WITH KIDS: พิมพ์พิชา อุตสาหจิต—กับภารกิจแปลงโฉม ‘มหาสนุก’ ให้เป็นการ์ตูนความรู้สำหรับเด็กเจนฯ Z
  6. ฉบับที่ 1362ที่ Se-ed
  7. store minimore
  8. man5baht (2007-07-05). "บ้าครบสูตร". MAN5BAHT ' S COLLECTION. www.oknation.net. สืบค้นเมื่อ 2009-05-25.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้