นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ

นักการเมืองไทย

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นักการเมืองและทนายความชาวไทย อดีตรองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย เคยดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ประจำนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์)[1][2] อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[3] ดูแลพื้นที่ภาคใต้ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง 8 สมัย

นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ
นิพิฏฐ์ ในปี พ.ศ. 2553
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าธีระ สลักเพชร
ถัดไปสุกุมล คุณปลื้ม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพัทลุง
ดำรงตำแหน่ง
22 มีนาคม พ.ศ. 2535 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ก่อนหน้าเจริญ ภักดีวานิช
ถัดไปฉลอง เทอดวีรพงษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด30 เมษายน พ.ศ. 2500 (66 ปี)
พรรคการเมือง
ลายมือชื่อ

ประวัติ แก้

เกิดวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2500 ที่ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของชม และหนูเรียง อินทรสมบัติ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(เป็นศิษย์เก่าดีเด่นคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) และสอบได้เป็นเนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์

ก่อนเข้าสู่วงการเมือง นิพิฏฐ์เป็นทนายความ ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2535 และได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดพัทลุง โดยสอบตกไม่ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ปี 2566 เคยเป็นประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เคยเป็นกรรมการกฎหมายและกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์

ทางการเมือง แก้

ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 นิพิฏฐ์ลงสมัครรับเลือกตั้งได้รับคะแนนเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดพัทลุง และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์มีการจัดตั้ง รัฐบาลเงา นิพิฏฐ์ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเงา

นิพิฎฐ์เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายสมัย (การเลือกตั้ง 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550 และ 2554)
  • ประธานกรรมาธิการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร
  • ผู้ช่วยเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2538)
  • เลขานุการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (พ.ศ. 2553)[4]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดพัทลุงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[5] ต่อมาเขาลาออกจากพรรคประชาธิปัตย์ และเข้าร่วมงานกับพรรคสร้างอนาคตไทย กระทั่งได้รับเลือกให้ทำหน้าที่รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย[6] ต่อมาในวันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2565 นายนิพิฏฐ์ ได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคสร้างอนาคตไทยต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ทำให้พ้นจากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย โดยให้มีผลทันที ในช่วงบ่ายวันเดียวกัน นายนิพิฏฐ์ ได้เดินทางมาสมัครเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ[7] และเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 12 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[8]

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม แก้

นิพิฎฐ์ ได้ตำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในช่วงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 โดยมีตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ หรือที่รู้จักและเรียกกันโดยทั่วไปว่า "บอร์ดชาติ" อันมี ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี เป็นประธาน ซึ่งในวาระที่นายนิพิฏฐ์ได้อยู่ในบอร์ดชาติ ได้เกิดประเด็นซึ่งเป็นข้อถกเถียงกันในวงกว้างถึงความเหมาะสมของขอบเขตการใช้อำนาจ วิธีพิจารณาตัวบทกฎหมาย และวิสัยทัศน์ของการดำรงตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับวงการศิลปะวัฒนธรรม สืบเนื่องจากกรณีที่ทางบอร์ดชาติได้มีการสั่งห้ามฉายภาพยนตร์เรื่อง "Insects in the backyard" (กำกับโดยธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์) ในราชอาณาจักรไทย ทั้งๆที่ขณะดำรงตำแหน่งในบอร์ดชาตินั้น ประเทศไทยได้มีการใช้ พรบ.ว่าด้วยการจัดเรตติ้งแล้ว และทางผู้สร้างภาพยนตร์ได้ยื่นขอเรต ฉ.20 ซึ่งเป็นเรตสูงสุด ห้ามผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีรับชม แต่ทางนายนิพิฏฐ์ได้สั่งห้ามฉายโดยกล่าวอ้างว่าภาพยนตร์เรื่อง "Insects in the backyard" ขัดต่อศีลธรรมอันดีงามของประชาชน จากวาระการพิจารณาดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสังเกตและคำถามมากมายจากผู้คนในสังคมถึงความเข้าใจต่อ พรบ.ฉบับใหม่ที่ว่าด้วยการจัดระเบียบอายุผู้ชมภาพยนตร์ของนายนิพิฏฐ์ และ บอร์ดชาติในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นช่วงเวลาที่ศิลปินในสายงานต่างๆออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางและเปิดเผย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเก็บถาวร 2020-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ส่วนราชการเจ้าของเรื่อง นร04 วันที่มีมติ 13/08/2562 เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
  2. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-21. สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.
  3. "เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน". bangkokbiznews. 2019-05-21.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี (รวม ๑๘ ราย) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127 ตอน พิเศษ 72ง วันที่ 8 มิถุนายน 2553
  5. พลวุฒิ สงสกุล (19 Sep 2018). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 Feb 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "อุตตม-สนธิรัตน์ เปิดพรรคสร้างอนาคตไทยในฐานะ "พรรคฝ่ายประชาธิปไตย"". BBC News ไทย. 2022-01-19. สืบค้นเมื่อ 2022-06-17.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. เป็นนักรบต้องได้รบ! 'นิพิฏฐ์'ยื่นใบลาออก สอท.ปุ๊บ เข้าค่าย พปชร.ปั๊บ
  8. https://www.prachachat.net/politics/news-1253495
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ถัดไป
ธีระ สลักเพชร    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (ครม. 59)
(6 มิถุนายน พ.ศ. 2553 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554)
  สุกุมล คุณปลื้ม