ตำรวจจังหวัด
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
การบังคับใช้กฎหมายในประเทศญี่ปุ่น ตำรวจจังหวัด (ญี่ปุ่น: 都道府県警察; โรมาจิ: Todōfuken Keisatsu) นั้นมีอำนาจหน้าที่ในการกิจการตำรวจตามจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ถึงแม้ว่าตำรวจจังหวัดในประเทศญี่ปุ่นมักถูกจัดเป็นตำรวจท้องถิ่น ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามแต่ละจังหวัดตามพระราชบัญญัติตำรวจ[1] แต่ส่วนราชการส่วนใหญ่จะมีสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำกับดูแลอยู่ ในปี ค.ศ. 2017 ตำรวจจังหวัดมีกำลังพลโดยประมาณ 288,000 นาย

การแบ่งส่วนราชการ
แก้ตำรวจจังหวัดประกอบไปด้วยส่วนอำนวยการ และส่วนปฏิบัติการ กล่าวคือ คณะกรรมการความปลอดภัยจังหวัด (อังกฤษ: Prefectural Public Safety Commission) และกองบัญชาการตำรวจจังหวัด (อังกฤษ: Prefectural Police Headquarters) ตามลำดับ
คณะกรรมการความปลอดภัยจังหวัด
แก้คณะกรรมการความปลอดภัยจังหวัด เป็นคณะกรรมการธิการส่วนอำนวยการ ขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างส่วนร่วมระหว่างประชาชนและตำรวจ อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการออกข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และออกใบอนุญาตต่าง ๆ[1] คณะกรรมการฯ ประกอบไปด้วยกรรมการ 3 คนสำหรับจังหวัดที่มีประชากรไม่หนาแน่น หรือกรรมการ 5 คนในจังหวัดที่เป็นเขตเมือง[2]
กองบัญชาการตำรวจจังหวัด
แก้ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจจังหวัด (ญี่ปุ่น: 警察本部長; โรมาจิ: Keisatsu Hon Buchō) เป็นข้าราชการที่อยู่ระดับสูงที่สุดในสายการบังคับบัญชาของแต่ละกองบัญชาการตำรวจจังหวัด สำหรับตำรวจนครบาลโตเกียว จะใช้ชื่อเรียก "ผู้กำกับใหญ่ (ญี่ปุ่น: 警視総監; โรมาจิ: Keishi Sōkan; อังกฤษ: Superintendent General)"
ตำรวจจังหวัดเหล่านี้ มีหน้าที่ในการกิจการตำรวจในเขตพื้นที่ของตนเอง แต่ภารกิจที่สำคัญจะกำหนดโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งมีชั้นยศสูงกว่า ผู้ช่วยผู้บัญชาการ (ญี่ปุ่น: 警視正; โรมาจิ: Keishisei, อังกฤษ: Assistant Commissioner) จะได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแห่งชาติ ถึงแม้ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น การแต่งตั้งและปลดออกซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสจะกระทำผ่านคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะแห่งชาติ
ในแต่ละกองบัญชาการตำรวจจังหวัด ประกอบไปด้วยส่วนอำนวยการ ซึ่งสอดคล้องกับกองบัญชาการต่าง ๆ ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติดังนี้
- กองอำนวยการบริหารงานตำรวจ (ญี่ปุ่น: 警務部; โรมาจิ: Keimubu; อังกฤษ: Police Administration Department)
- กองสืบสวนคดีอาญา (ญี่ปุ่น: 刑事部; โรมาจิ: Keijibu; อังกฤษ: Criminal Investigation Department)
- กองตำรวจจราจร (ญี่ปุ่น: 交通部; โรมาจิ: Kōtsūbu; อังกฤษ: Traffic Department)
- กองความมั่งคง (ญี่ปุ่น: 警備部; โรมาจิ: Keibibu; อังกฤษ: Security Department)
- กองความปลอดภัยชุมชน (ญี่ปุ่น: 生活安全部; โรมาจิ: Seikatsu Anzenbu; อังกฤษ: Community Safety Department)
ตำรวจจังหวัดในเขตเมืองอาจมีกองบริหารงานทั่วไป (ญี่ปุ่น: 総務部; โรมาจิ: Sōmubu; อังกฤษ: General Affairs Department) และกองตำรวจชุมชนสัมพันธ์ (ญี่ปุ่น: 地域部; โรมาจิ: Chīkibu; อังกฤษ: Community Police Department)
การสืบสวนคดีอาญา
แก้ในจักรวรรดิญี่ปุ่น การสืบสวนคดีอาญานั้นมีอัยการเป็นผู้รับผิดชอบเหมือนสถาบันอัยการ (ministère public) ในกฎหมายประเทศฝรั่งเศส[3] หลังจากนั้นกฎหมายตำรวจในปี ค.ศ. 1947 (ญี่ปุ่น: 警察法; โรมาจิ: Keisatsuhou) และประมวลกฎหมายอาญาในปี ค.ศ.1948 (ญี่ปุ่น: 刑事訴訟法) อำนาจหน้าที่ในการสืบสวนถูกนิยามให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างเห็นได้ชัด เพื่อที่จะให้การสืบสวนนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กองสืบสวนคดีอาญาและกองบัญชาการสืบสวนคดีอาญา (ตำรวจศาล) ถูกจัดตั้งขึ้นในแต่ละองค์กรตำรวจ แต่ภายหลังการแก้ไขกฎหมายตำรวจในปี ค.ศ. 1954 กองและกองบัญชาการดังกล่าวถูกกำกับการโดยกองบัญชาการกิจการคดีอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
การตำรวจจราจร
แก้โดยแต่ดั้งเดิมแล้ว การอำนวยการจราจรจะดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนสัมพันธ์ แต่อย่างไหร่ก็ตาม ในช่วงปี ค.ศ. 1950 ซึ่งมีการเปลี่ยนยานพาหนะเป็นเครื่องยนต์ อุบัติเหตุจราจรทางบกได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ถูกเรียกกันอย่างแพร่หลายว่าเป็น "สงครามการจราจร (traffic war)" ทำให้ตำรวจจราจรต้องกวดขันมากขึ้น
ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1960 หน่วยลาดตระเวนเคลื่อนที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามกองบัญชาการตำรวจจังหวัดต่าง ๆ และถูกจัดตั้งในทุกกองบัญชาการตำรวจจังหวัดในปี ค.ศ. 1972 เช่น หน่วยจราจรเคลื่อนที่ (ญี่ปุ่น: 交通機動隊; โรมาจิ: Kōtsū Kidōtai; อังกฤษ: Mobile Traffic Unit) จะมียานพาหนะอย่างรถตำรวจจราจร (รวมถึงรถสายสืบ) และรถจักรยานยนต์ตำรวจ
การพัฒนาทางพิเศษนั้นได้ก้าวหน้าขึ้น ในปี ค.ศ. 1971 ก็ได้มีการจัดตั้งหน่วยจราจรทางพิเศษ (ญี่ปุ่น: 高速道路交通警察隊; โรมาจิ: Kōsokudōro Kōtsūkeisatsutai; อังกฤษ: Expressway Traffic Police Unit)
ความมั่นคงสาธารณะ
แก้ในตำรวจนครบาลโตเกียว อำนาจหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงสาธารณะ ถูกแบ่งออกเป็น 2 กองบัญชาการได้แก่ กองบัญชาการความมั่นคงสาธารณะ (ญี่ปุ่น: 公安部; โรมาจิ: Kōanbu; อังกฤษ: Public Security Bureau) มีหน้าที่ในการสืบสวน และกองบัญชาการความมั่นคง (ญี่ปุ่น: 警備部; โรมาจิ: Keibibu; อังกฤษ: Security Bureau) มีหน้าที่ในการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย ส่วนกองบัญชาการตำรวจจังหวัดอื่น ๆ การรักษาความมั่นคงสาธารณะจะตกเป็นหน้าที่ของกองความมั่นคง และถูกกำกับโดยกองบัญชาการความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ในแต่ละกองบัญชาการหรือกองความมั่นคง จะประกอบไปด้วยหน่วยปราบจราจล (ญี่ปุ่น: 機動隊; โรมาจิ: Kidōtai; อังกฤษ: Riot Police Unit) หน่วยเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าที่ปราบจราจลไปโดยสิ้นเชิง แต่ยังทำหน้าที่เป็นหน่วยตอบโต้เฉียบพลันในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นหากจำเป็น
ปฏิบัติการด้านการต่อต้านการก่อการร้ายนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่ของกองความมั่นคง มีทีมจู่โจมพิเศษ (ญี่ปุ่น: 特殊急襲部隊; โรมาจิ: Tokushu Kyūshū Butai; อังกฤษ: Special Assault Team) เป็นหน่วยในระดับชาติ และทีมต่อต้านอาวุธปืน (ญี่ปุ่น: 銃器対策部隊; โรมาจิ: Jyūki Taisaku Butai; อังกฤษ: Anti-Firearms Squad) เป็นหน่วยงานระดับท้องถิ่น หน่วยเหล่านี้ถูกจัดตั้งภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยปราบจราจล ยกเว้นทีมจู่โจมพิเศษของตำรวจนครบาลโตเกียว และกองบัญชาการตำรวจจังหวัดโอซากะจะขึ้นตรงต่อกองบัญชาการความมั่นคงและกองความมั่นคงตามลำดับ
การตำรวจชุมชน
แก้สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่นแล้ว การตำรวจชุมชนนั้นเปรียบเสมือนการป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรมขึ้น อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการลาดตระเวนในเขตชุมชน และการเยื่ยมบ้านเป็นครั้งคราว เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนนั้นมักจะมีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนในชุมชนนั้น ๆ รวมถึงการให้คำแนะนำแก่เยาวชน ป้องกันไม่ให้เด็กพลัดหลงหรือสูญหาย และการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ได้รับปัญหาต่าง ๆ[1] เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนจะถูกกระจายไปตามสถานีตำรวจท้องถิ่น ซึ่งในแต่ละสถานีตำรวจจะมีการแบ่งส่วนปฏิบัติงานดังนี้:
- ส่วนการอำนวยการบริหารตำรวจ (ญี่ปุ่น: 警務課; โรมาจิ: Keimuka; อังกฤษ: Police Administration Section)
- ส่วนจราจร (ญี่ปุ่น: 交通課; โรมาจิ: Kōtsūka; อังกฤษ: Traffic Section)
- ส่วนความมั่นคง (ญี่ปุ่น: 警備課; โรมาจิ: Keibika; อังกฤษ: Security Section)
- ส่วนกิจการตำรวจชุมชน (ญี่ปุ่น: 地域課; โรมาจิ: Chīkika; อังกฤษ: Community Police Affairs Section)
- ส่วนความปลอดภัยชุมชน (ญี่ปุ่น: 生活安全課; โรมาจิ: Seikatsu Anzenka; อังกฤษ: Community Safety Section)
- ส่วนสืบสวนคดีอาญา (ญี่ปุ่น: 刑事課; โรมาจิ: Keijika; อังกฤษ: Criminal Investigation Section)
เจ้าหน้าที่ส่วนกิจการตำรวจชุมชนจะถูกกระจายไปยังในเขตพื้นที่ของตนเองตาม ป้อมตำรวจชุมชนเมือง (โคบัง) ป้อมตำรวจชุมชนท้องถิ่น (ญี่ปุ่น: 駐在所; โรมาจิ: Chūsaisho อังกฤษ: Residential Police Boxes) รถยนต์สายตรวจวิทยุ และอื่น ๆ
เจ้าหน้าที่ตำรวจชุมชนจะได้รับการสนับสนุนจากกองตำรวจชุมชนหรือกองความปลอดภัยชุมชนในแต่ละกองบัญชาการตำรวจจังหวัด นอกเหนือจากการปฏิบัติงานด้านเครือข่ายวิทยุตำรวจ กองดังกล่าวยังให้การสนับสนุนทั้งสายตรวจระหว่างจังหวัด กองบินตำรวจ หรืออื่น ๆ หากจำเป็นหรือถูกเรียกขอ
ยศตำรวจ
แก้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะถูกแบ่งเป็นออกเป็น 9 ชั้นยศ:[a]
สถานะ | ยศตำรวจ | เทียบเท่ายศทหาร | ตำแหน่ง | เครื่องหมายยศ | กระดานบ่า |
---|---|---|---|---|---|
ข้าราชการ | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ญี่ปุ่น: 警察庁長官; อังกฤษ: Commissioner General) | ไม่มี | ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ | ||
ผู้กำกับใหญ่ (ญี่ปุ่น: 警視総監; อังกฤษ: Superintendent General) | พลเอก | ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลโตเกียว | |||
ผู้บัญชาการอาวุโส (ญี่ปุ่น: 警視監; อังกฤษ: Senior Commissioner) | พลโท | รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รองผู้กำกับใหญ่ ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจส่วนภูมิภาค หรือ ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจจังหวัด | |||
ผู้บัญชาการ (ญี่ปุ่น: 警視長; อังกฤษ: Commissioner) | พลตรี | ผู้บัญชาการกองบัญชาการตำรวจจังหวัด | |||
ผู้ช่วยผู้บัญชาการ (ญี่ปุ่น: 警視正; อังกฤษ: Assistant Commissioner) | พันเอก | ผู้กำกับการสถานีตำรวจ | |||
เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น | ผู้กำกับการ (ญี่ปุ่น: 軽視; อังกฤษ: Superintendent) | พันโท | ผู้กำกับการสถานีตำรวจขนาดเล็ก หรือกลาง รองผู้กำกับการสถานีตำรวจ หรือ ผู้บังคับการหน่วยปราบจราจล | ||
สารวัตรใหญ่ (ญี่ปุ่น: 警部; อังกฤษ: Chief Inspector) | พันตรี หรือ ร้อยเอก | ผู้บังคับหมู่ในสถานีตำรวจ หรือ ผู้บังคับกองร้อยปราบจราจล | |||
สารวัตร (ญี่ปุ่น: 警部補; อังกฤษ: Inspector) | ร้อยโท หรือ ร้อยตรี | รองผู้บังคับหมู่ในสถานีตำรวจ หรือ ผู้บังคับหมวดปราบจราจล | |||
จ่าตำรวจ (ญี่ปุ่น: 巡査部長; อังกฤษ: Police Sergeant) | พันจ่า หรือ จ่า | ผู้ดูแลสายตรวจ หรือหัวหน้าป้อมตำรวจ | |||
เจ้าพนักงานตำรวจอาวุโส (ญี่ปุ่น: 巡査長; อังกฤษ: Senior Police Officer) | สิบโท | ยศเจ้าพนักงานตำรวจกิตติมศักดิ์ | |||
เจ้าพนักงานตำรวจ (ญี่ปุ่น: 巡査; อังกฤษ: Police Officer) | สิบตรี | เจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดเริ่มต้นที่ยศนี้ |
เครื่องแบบ
แก้ในช่วงที่มีการเกิดขึ้นของสนธิสัญญาความร่วมมือและความมั่นคงร่วมระหว่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ในปี ค.ศ. 1960 หมวกปราบจราจล และชุดป้องกันส่วนบุคคลสำหรับตำรวจปราบจราจลได้ถูกพัฒนาให้ดีขึ้น ในทางกลับกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่นจะสวมเสื้อเกราะกันมีดบาดใต้เครื่องแบบ แต่ในช่วงปี ค.ศ. 2000 ได้มีการพัฒนาและใช้เป็นเสื้อเกราะกันแทงขึ้น เจ้าหน้าที่ตำรวจท้องถิ่น ตำรวจปราบจราจล สายสืบ หน่วยสวาต และผู้ปฏิบัติการงานต่อต้านการก่อการร้ายจะสวมเสื้อเกราะที่ไม่เหมือนกันในมาตรฐานที่แตกต่างกัน
อาวุธปืน
แก้ในช่วงก่อนสงคราม เจ้าพนักงานบังคับใช้กฎหมายญี่ปุ่นจะมีเพียงแค่ดาบเท่านั้น มีเพียงเฉพาะนักสืบ องครักษ์ หรือหน่วยสวาต เช่น หน่วยบริการฉุกเฉินของตำรวจนครบาลโตเกียวเท่านั้น ที่จะพกพาอาวุธปืนสั้น จนถึงช่วงการยึดครองญี่ปุ่นที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดต่อฝ่ายพันธมิตรที่แนะนำให้ตำรวจฯ พกพาอาวุธปืนไปกับตัว แต่เพราะด้วยความขาดแคลนในอาวุธปืนพก เจ้าหน้าที่ตำรวจเลยเริ่มรับอาวุธปืนพกโดยเช่าจากฝ่ายพันธมิตรตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 และจนถึง ค.ศ. 1951 เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอาวุธปืนพกเพื่อใช้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
สำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจญี่ปุ่นแล้ว ปืนพกที่ออกให้โดยราชการฯ จะถูกเก็บไว้ในที่ทำงานเมื่อพวกเขาไม่ได้อยู่ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
ยานพาหนะ
แก้ภาคพื้นดิน
แก้ในญี่ปุ่นมียานพาหนะตำรวจมากถึง 42,600 คันทั่วประเทศ[1] โดยที่ส่วนใหญ่แล้วเป็นโตโยต้า คราวน์ หรือรถเก๋งที่มีขนาดใหญ่เท่า ๆ กัน อีกทั้งยังมีการใช้รถยนต์นั่งขนาดเล็กในป้อมตำรวจชนบทหรือในศูนย์ใจกลางเมืองต่าง ๆ ส่วนรถยนต์ไล่ติดตามนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ละจังหวัด เช่น ฮอนด้า เอ็นเอชเอ็กซ์ ซูบารุ อิมเพรสซ่า ซูบารุ เลกาซี มิตซูบิชิ แลนเซอร์ นิสสัน สกายไลน์ หรือ นิสสัน แฟร์เลดี้ แซด ก็ถูกนำไปใช้ในการลาดตระเวนบนทางพิเศษเช่นกัน
แต่มีข้อยกเว้นสำหรับรถสายสืบ ยานพาหนะทุกคันของกองบัญชาการตำรวจจังหวัดจะถูกทาสีแต่ละสีไม่เหมือนกัน รถสายตรวจทั่วไปจะทาสีเป็น สีดำและสีขาว โดยที่ส่วนบนของรถสายตรวจเป็นสีขาว และรถจักรยานยนต์สายตรวจจะเป็นสีขาวล้วน ส่วนยานพาหนะต่าง ๆ ที่ใช้ในการปราบจราจลจะเป็นสีน้ำเงินและสีขาว และยานพาหนะสำหรับหน่วยกู้ชีพของตำรวจนครบาลโตเกียวถูกทาสีเป็นสีเขียวและขาว
-
รถสายตรวจวิทยุ (โตโยต้า คราวน์)
-
รถจักรยานยนต์ตำรวจ (ฮอนด้า VFR800P)
-
รถจักรยานตำรวจ
-
รถสายสืบพร้อมไฟหมุนวิบวาบสีแดง (โตโยต้า โคโรน่า)
-
รถบัสตำรวจกันเกราะสุน (อีซูซุ กิก้า)
-
รถบัสตำรวจ (อีซูซุ เอรุกะ มิโอะ)
-
รถปราบจราจล (มิตซูบิชิ ฟุโซ ไฟเตอร์)
-
รถกู้ภัย (ฮีโน่ เรนเจอร์)
-
รถฉุกเฉินทางวิบาก (อูนิมอก)
-
รถหน่วยสวาต (มิตสูบิชิ ฟุโซ แคนเทอร์)
-
รถตู้ตำรวจพร้อมป้ายปรับเปลี่ยนข้อความ กองบัญชาการตำรวจจังหวัดไอจิ (โตโยต้า ไฮเอซ)
-
รถตำรวจ กองบัญชาการตำรวจจังหวัดฮกไกโด (ซูซูกิ โซลิโอ)
กองบิน
แก้ในปี ค.ศ. 1960 ญี่ปุ่นได้ริเริ่มการใช้เฮลิคอปเตอร์ตำรวจในการรายงานสภาพการจราจร การติดตามไล่ล่าผู้ต้องสงสัย การค้นหาและกู้ภัย หรือภารกิจอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ตำรวจญี่ปุ่น มีเฮลิคอปเตอร์ประมาณ 80 ลำ[1]ใน 47 จังหวัดทั่วประเทศ บางลำมีการติดตั้งกล้องโทรทัศน์และระบบลิงก์ไมโครเวฟ
ตำรวจน้ำ
แก้เรือตำรวจน้ำญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม: ประเภท 23 เมตร 20 เมตร 17 เมตร 12 เมตร และ 8 เมตร[1] ในปี ค.ศ.2014 มีเรือตำรวจทั้งหมด 150 ลำทั่วประเทศ ด้วยสาเหตุที่ว่าหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นมีหน้าที่ปกป้องแนวชายฝั่ง ตำรวจน้ำญี่ปุ่นเลยรับหน้าที่ดูแลแม่น้ำ แต่อย่างไหร่ก็ตามในบางครั้ง ตำรวจน้ำญี่ปุ่นก็ถูกเรียกเพื่อไปช่วยเหลือการตำรวจภาคพื้นดิน
เชิงอรรถ
แก้- ↑ ไม่ใช่ชื่อไทยอย่างเป็นทางการ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 POLICE OF JAPAN สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) (ภาษาอังกฤษ) สืบค้นเมื่อ 2021-09-19
- ↑ เรียนรู้เรื่องราวตำรวจญี่ปุ่นกันครับ preeda44 สืบค้นเมื่อ 2021-09-19
- ↑ "คณะกรรมการตุลาการฝรั่งเศส". www.public-law.net.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) สืบค้นเมื่อ 2021-09-21