เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ภายในเขตเทศบาลเป็นที่ตั้งของหน่วยงานการบริหาร, สถานศึกษา, สถานพยาบาล และสาธารณสุข ตลอดจนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดบุรีรัมย์ มีพื้นที่ทั้งหมด 6.0 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,750 ไร่ มีประชากรในปี พ.ศ. 2564 ประมาณ 30,021 คน[1]
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ | |
---|---|
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: คูเมืองโบราณ ตำนานเล่าขาน อาหารเลิศรส งามงดประเพณี คนดีมีน้ำใจ | |
พิกัด: 14°59′39″N 103°06′08″E / 14.99417°N 103.10222°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 14°59′39″N 103°06′08″E / 14.99417°N 103.10222°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | บุรีรัมย์ |
อำเภอ | เมืองบุรีรัมย์ |
จัดตั้ง | พ.ศ. 2479 (เทศบาลเมือง) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | สกล ไกรรณภูมิ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 6.00 ตร.กม. (2.32 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 163 เมตร (535 ฟุต) |
ประชากร (2564)[1] | |
• ทั้งหมด | 30,021 คน |
• ความหนาแน่น | 4,525.00 คน/ตร.กม. (11,719.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04310102 |
สนามบิน | IATA: BFV – ICAO: VTUO ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ |
ทางหลวง | ![]() ![]() ![]() |
ที่อยู่ สำนักงาน | ถนนรมย์บุรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 31000 |
เว็บไซต์ | www.buriramcity.go.th |
![]() |
ประวัติศาสตร์ แก้
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้ตราขึ้นไว้ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งมีพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 62 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2479[2]
ต่อมาเมื่อท้องถิ่นเจริญขึ้น มีชุมชนอยู่หนาแน่นทั้งในเขตและนอกเขตเทศบาลที่ต่อเนื่องกัน สมควรปรับปรุงเขตเทศบาลเสียใหม่ เพื่อขยายเขตให้เทศบาลได้ปกครองและทะนุบำรุงท้องถิ่น จึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ลงวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2504 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โดยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 78 ตอนที่ 40 วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 มีเนื้อที่รวม 6 ตารางกิโลเมตร สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมืองทั้งหมดของอำเภอเมืองบุรีรัมย์[3]
ภูมิศาสตร์ แก้
สภาพพื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีความลาดเอียงเล็กน้อย จากทางทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออก และจากทิศเหนือไปทางทิศใต้ มีความสูงของพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 163 เมตร เทศบาลเมืองบุรีรัมย์มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเทศบาลเมืองชุมเห็ด อำเภอเมืองบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเทศบาลตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์
- ทิศใต้ ติดต่อกับเทศบาลตำบลอิสาณ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลตำบลอิสาณ
สภาพอากาศทั่วไป แบ่งออกเป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
- ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนตุลาคม
- ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป จนถึงเดือนกุมภาพันธ์
ข้อมูลภูมิอากาศของเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ | |||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี |
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 31.67 (89.01) |
34.02 (93.24) |
36.02 (96.84) |
36.45 (97.61) |
33.87 (92.97) |
34.35 (93.83) |
33.60 (92.48) |
33.07 (91.53) |
32.57 (90.63) |
31.25 (88.25) |
30.52 (86.94) |
29.77 (85.59) |
33.10 (91.58) |
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 17.65 (63.77) |
20.10 (68.18) |
22.65 (72.77) |
24.47 (76.05) |
24.50 (76.1) |
24.80 (76.64) |
24.37 (75.87) |
24.17 (75.51) |
24.22 (75.6) |
23.32 (73.98) |
20.87 (69.57) |
18.30 (64.94) |
22.45 (72.41) |
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 0.07 (0.0028) |
7.10 (0.2795) |
42.02 (1.6543) |
113.75 (4.4783) |
241.87 (9.5224) |
100.82 (3.9693) |
176.10 (6.9331) |
109.87 (4.3256) |
288.90 (11.374) |
177.50 (6.9882) |
94.27 (3.7114) |
6.00 (0.2362) |
1,358.27 (53.4752) |
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย | 0 | 2 | 5 | 10 | 20 | 14 | 18 | 12 | 18 | 14 | 5 | 2 | 120 |
แหล่งที่มา: สถานีอุตุนิยมวิทยาอุทกบุรีรัมย์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ |
ประชากร แก้
จำนวนประชากรตามสถิติการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2563 แบ่งเป็นชาย จำนวน 14,001 คน หญิง จำนวน 15,620 คน รวม 30,021 คน ความหนาแน่นของประชากร 4,832.84 คนต่อตารางกิโลเมตร จำนวน 6,097 ครอบครัว[4]
ชุมชน แก้
ชุมชนในเขตเทศบาล จำนวน 18 ชุมชน ดังนี้
- ชุมเห็ด
- หลักสถานีรถไฟ
- หนองปรือ
- ประปาเก่า
- หน้าสถานีรถไฟ
- บุลำดวนเหนือ
- ตลาด บ.ข.ส.
- หลังศาล
- เทศบาล
- ตลาดสด
- วัดอิสาณ
- บุลำดวนใต้
- หลังราชภัฏ
- ต้นสัก
- หลักเมือง
- สะพานยาว
- โคกกลาง
- ฝั่งละลม
การศึกษา แก้
การจัดการศึกษาในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา
- ระดับก่อนประถมศึกษา 2 แห่ง
- ระดับก่อนประถมศึกษาและระดับประถมศึกษา 5 แห่ง
- ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา (โรงเรียนขยายโอกาส) 3 แห่ง
- ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2 แห่ง คือ โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และโรงเรียนเทศบาล 1 บุรีราษฎร์ดรุณวิทยา
- ระดับมัธยมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน 1 แห่ง คือ โรงเรียนอิสาณโกศลศึกษา
- ระดับวิทยาลัยมีสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2 แห่ง คือ วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ และวิทยาลัยสารพัดช่างบุรีรัมย์
- ระดับมหาวิทยาลัย 1 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สาธารณสุข แก้
การสาธารณสุขในเทศบาลบุรีรัมย์ มีดังนี้
- โรงพยาบาลบุรีรัมย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ขนาด 750 เตียง[5][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
- ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
- คลินิกเอกชน จำนวน 65 แห่ง[6][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
- ศูนย์บริการแพทย์แผนไทย[6][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
- คลินิกบริการสาธารณสุขของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด[6][ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
ศาสนา แก้
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ตามลำดับ
โครงสร้างพื้นฐาน แก้
โทรคมนาคมและการสื่อสาร แก้
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
- องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.)
- การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.)
- สถานีวิทยุกระจายเสียง/สถานีวิทยุโทรทัศน์ในพื้นที่
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ระบบ เอ.เอ็ม. ตั้งอยู่ที่ถนนนิวาส ข้างโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
- สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ระบบ เอฟ.เอ็ม. ตั้งอยู่ที่ถนนจิระตรงข้ามมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
- ระบบเสียงตามสายหรือหอกระจายข่าวในพื้นที่ให้บริการได้ครอบคลุมร้อยละ 80 ของพื้นที่
การประปา แก้
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์อยู่ในเขตบริการน้ำประปาของสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค ซึ่งมีจำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาในเขตเทศบาลฯ ประปาในเขตเทศบาลฯ ประมาณ 6,097 ครัวเรือน ผลิตน้ำประปาได้ 18,000–19,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และใช้น้ำประปาเฉลี่ย 17,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีห้วยจระเข้มากเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาและมีห้วยตลาดเป็นแหล่งน้ำดิบสำรอง
ไฟฟ้า แก้
ในเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีจำนวนครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าประมาณ 6,097 ครัวเรือน คิดเป็น พื้นที่ที่ให้บริการไฟฟ้า 100% ของพื้นที่ทั้งหมด
สถานที่สำคัญ แก้
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
- วิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์
- โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม
- โรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์
- โรงเรียนฮั่วเคี้ยวบุรีรัมย์
- โรงพยาบาลบุรีรัมย์
- สถานีตำรวจภูธรเมืองบุรีรัมย์
- สถานีดับเพลิงบุรีรัมย์
- สระว่ายน้ำ อบจ.บุรีรัมย์
- ห้องสมุดประชาชนจังหวัดบุรีรัมย์
- สวนสาธารณะรมย์บุรี
- คลองละลม (ตั้งอยู่กลางเมืองบุรีรัมย์มีลักษณะเป็นรูปวงรี แบ่งเป็น 6 ส่วนหรือ 6 ลูก)
- วัดกลางพระอารามหลวง
- ทวีกิจ พลาซ่า
- ตลาดไนท์บาซาร์
- ตลาดสดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์
- สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์
- สถานีรถไฟบุรีรัมย์
- สถานบันเทิงย่านตะวันแดง
การขนส่ง แก้
เทศบาลเมืองบุรีรัมย์ สามารถเดินทางติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงและติดต่อกันภายในจังหวัดได้สะดวกทั้งทางรถยนต์, รถไฟ และทางเครื่องบิน
เมืองบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร โดยทางรถยนต์ประมาณ 384 กิโลเมตร ทางรถไฟประมาณ 376 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- จังหวัดสุรินทร์: 50 กิโลเมตร
- จังหวัดนครราชสีมา: 130 กิโลเมตร
- จังหวัดมหาสารคาม: 145 กิโลเมตร
- จังหวัดขอนแก่น: 200 กิโลเมตร
- จังหวัดสระแก้ว: 230 กิโลเมตร
ทางราง แก้
สถานีรถไฟบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางตอนเหนือของเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้บริการรับส่งผู้โดยสารจากบุรีรัมย์สู่พื้นที่อื่น ๆ ของตัวจังหวัด และภาคอีสาน ทั้งรถไฟด่วนและรถไฟธรรมดา อาทิเช่น รถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี, นครราชสีมา–อุบลราชธานี, กรุงเทพ–สุรินทร์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ จะมีรถไฟสายกรุงเทพ–อุบลราชธานี และกรุงเทพ–ศรีสะเกษ เปิดเดินรถเพิ่มอีกหลายขบวน
ทางบก แก้
ในเขตเทศบาลมีถนนเป็นเส้นทางคมนาคมหลักโดยส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และถนนแอสฟัลท์ติส ถนนสายสำคัญในตัวเมือง อาทิเช่น ถนนธานี, ถนนรมย์บุรี, ถนนปลัดเมือง, ถนนจิระ, ถนนสุนทรเทพ, ถนนนิวาศ
สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของเมือง ให้บริการรถโดยสารในหลายเส้นทาง อาทิเช่น สายกรุงเทพ–บุรีรัมย์, กรุงเทพ–อุบลราชธานี, กรุงเทพ–สุรินทร์, กรุงเทพ–ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์–นางรอง, บุรีรัมย์–นครราชสีมา รถประจำทางในเมืองบุรีรัมย์ คือ รถสองแถว สายสีชมพู ให้บริการในสองเส้นทาง (สายตลาดเทศบาล-เขากระโดง และสายบ้านบัว) ในอดีตเคยมีรถโดยสารประจำทางวิ่งในตัวเมือง แต่ได้ยกเลิกและเปลี่ยนมาเป็นรถสองแถวแทน
ทางอากาศ แก้
ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ หรือ สนามบินบุรีรัมย์ เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองบุรีรัมย์มากที่สุด ตั้งอยู่ที่อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ห่างจากตัวเมือง 34 กิโลเมตร ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ สายการบินที่ให้บริการคือ นกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย เปิดทำการทุกวัน
อ้างอิง แก้
- ↑ 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2479/A/1206.PDF พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2504/A/040/463.PDF พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ พ.ศ. ๒๕๐๔
- ↑ สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลเมืองบุรีรัมย์
- ↑ ที่มา:โรงพยาบาลบุรีรัมย์
- ↑ 6.0 6.1 6.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์