เทศบาลเมืองสระแก้ว
สระแก้ว เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว ตั้งอยู่ห่างจากเขตแดนไทย–กัมพูชาประมาณ 48 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 200 กิโลเมตร เมืองสระแก้วเป็นเทศบาลที่ตั้งศาลากลางจังหวัดสระแก้ว และที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเมืองสระแก้ว เขตเทศบาลมีพื้นที่ 28 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมบางส่วนของตำบลสระแก้วและบางส่วนของตำบลท่าเกษม
เทศบาลเมืองสระแก้ว | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Thetsaban Mueang Sa Kaeo |
ถนนสุวรรณศรในเมืองสระแก้ว | |
คำขวัญ: ศาลเจ้าพ่อสระแก้วศักดิ์สิทธิ์ เรืองฤทธิ์หลวงพ่อทอง ถิ่นเรืองรองสระแก้ว–สระขวัญ ปูชนียสถานศาลหลักเมือง | |
พิกัด: 13°49′14″N 102°03′32″E / 13.82056°N 102.05889°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สระแก้ว |
อำเภอ | เมืองสระแก้ว |
จัดตั้ง | เป็นเทศบาลเมือง พ.ศ. 2538 |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | ตระกูล สุขกูล |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 28 ตร.กม. (11 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2561)[1] | |
• ทั้งหมด | 18,232 คน |
• ความหนาแน่น | 651.14 คน/ตร.กม. (1,686.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04270102 |
ที่อยู่ สำนักงาน | ถนนเทศบาล 2 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว 27000 |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ
แก้ในสมัยอาณาจักรสุวรรณภูมิและอาณาจักรทวารวดี สระแก้วเป็นชุมชนที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองปราจีนบุรี (เมืองประจิมในสมัยโบราณ)
"สระแก้ว" เป็นชื่อที่มาจากชื่อสระน้ำโบราณซึ่งอยู่ในพื้นที่อำเภอเมืองสระแก้ว มีอยู่จำนวน 2 สระ ในสมัยกรุงธนบุรีราวปี พ.ศ. 2323 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (เมื่อครั้งทรงเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก) เป็นแม่ทัพยกทัพไปตีกัมพูชา (เขมร) ได้แวะพักกองทัพที่บริเวณสระน้ำทั้งสองแห่งนี้ กองทัพได้อาศัยน้ำจากสระใช้สอยและได้ขนานนามสระทั้งสองว่า "สระแก้ว-สระขวัญ" และได้นำน้ำจากสระทั้งสองแห่งนี้ใช้ในการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา โดยถือว่าเป็นน้ำบริสุทธิ์
สมัยก่อนสระแก้วมีฐานะเป็นตำบลขึ้นอยู่ในการปกครองของอำเภอเมืองกระบินทร์บุรี จังหวัดกระบินทร์บุรี ซึ่งทางราชการได้ตั้งเป็นด่านสำหรับตรวจคนและสินค้าเข้า-ออก มีข้าราชการตำแหน่งนายกองทำหน้าที่เป็นนายด่าน จนเมื่อปี พ.ศ. 2452 ทางราชการได้จัดตั้งกิ่งอำเภอชื่อว่า กิ่งอำเภอสระแก้ว โดยใช้ชื่อสระน้ำเป็นชื่อกิ่งอำเภอ ขึ้นกับอำเภอเมืองกระบินทร์บุรี ภายหลังจังหวัดกระบินทร์บุรีถูกยุบ จึงถูกยุบรวมกับจังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2468 ต่อมาเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอชื่อว่า อำเภอสระแก้ว ขึ้นอยู่ในการปกครองของจังหวัดปราจีนบุรี และในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ได้มีจัดตั้งจังหวัดสระแก้ว[2] เป็นจังหวัดลำดับที่ 74 ของประเทศไทย จังหวัดสระแก้ว เป็นหนึ่งในสามจังหวัดที่ได้รับจัดตั้งยกฐานะเป็นจังหวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 พร้อมกับจังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอำนาจเจริญ
สุขาภิบาลสระแก้วได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลเมืองสระแก้ว เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2538[3]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้เทศบาลเมืองสระแก้วมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบอน และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
- ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสระขวัญ องค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเกษม
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสระแก้ว
ชุมชน
แก้เทศบาลเมืองสระแก้วได้แบ่งออกเป็น 18 ชุมชน ดังนี้
- ชุมชนที่ 1 บ้านคำเจริญ
- ชุมชนที่ 2 บ้านหนองนกเขา - พี.ที.ที.
- ชุมชนที่ 3 บ้านหนองนกเขาฝั่งซ้าย
- ชุมชนที่ 4 บ้านใหม่คลองปูน
- ชุมชนที่ 5 บ้านเนินสมบูรณ์
- ชุมชนที่ 6 บ้านชาติเจริญ
- ชุมชนที่ 7 ศูนย์การค้าสระแก้วเมืองทอง
- ชุมชนที่ 8 บ้านเนินรัตนะ 1 (เนินกลอย)
- ชุมชนที่ 9 บ้านหลังสุขศาลา
- ชุมชนที่ 10 บ้านเนินรัตนะ 2 (หลังวัด)
- ชุมชนที่ 11 สระแก้ว - สระขวัญ
- ชุมชนที่ 12 บ้านคลองจาน
- ชุมชนที่ 13 บ้านโคกกำนัน
- ชุมชนที่ 14 บ้านลัดกระสัง
- ชุมชนที่ 15 บ้านหนองเสม็ดเหนือ
- ชุมชนที่ 16 ตลาดสระแก้ว
- ชุมชนที่ 17 บ้านคลองนางชิง
- ชุมชนที่ 18 เฉลิมพระเกียรติ ร.9
- ชุมชนที่ 19 บ้านเอื้ออาทร
- ชุมชนที่ 20 สระแก้ว - สระขวัญ 2
สถานศึกษา
แก้โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระแก้ว จำนวน 2 แห่ง
- โรงเรียนเทศบาล 1 (หนองกะพ้ออนุสรณ์)
- โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านลัดกะสัง)
โรงเรียนในเขตเทศบาลเมืองสระแก้ว
- โรงเรียนสระแก้ว
- โรงเรียนอนุบาลวัดสระแก้ว
- โรงเรียนอนุบาลเมืองสระแก้ว
- โรงเรียนอนุบาลบ้านจันทร์
- โรงเรียนดาราสมุทร สระแก้ว
- โรงเรียนชุมชนพัฒนา
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2561 ท้องถิ่นเทศบาลเมืองสระแก้ว". ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536
- ↑ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว พ.ศ. 2537 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 54 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2537 อันมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2538