ตำบลลำสนธิ
ลำสนธิ เป็น 1 ใน 6 ตำบลของอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เป็นตำบลที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือตัดผ่าน (สายชุมทางแก่งคอย - ชุมทางบัวใหญ่) เป็นที่ตั้งของอุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย มีพื้นที่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา[3] และเป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการของอำเภอ
ตำบลลำสนธิ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Lam Sonthi |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
อำเภอ | ลำสนธิ |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 25.57 ตร.กม. (9.87 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 3,239 คน |
• ความหนาแน่น | 126.67 คน/ตร.กม. (328.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 15190 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 161001 |
องค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ | |
---|---|
อุโมงค์เขาพังเหย เป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอด 1 ใน 7 แห่งของประเทศไทย และเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดบนเส้นทางรถไฟสายชุมทางแก่งคอย-ชุมทางบัวใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตหมู่ 2 ตำบลลำสนธิ | |
พิกัด: 15°18′14.8″N 101°21′33.7″E / 15.304111°N 101.359361°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ลพบุรี |
อำเภอ | ลำสนธิ |
จัดตั้ง | • 7 ตุลาคม 2518 (สภาตำบลลำสนธิ) • 25 ธันวาคม 2539 (อบต.ลำสนธิ) |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 25.57 ตร.กม. (9.87 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564)[2] | |
• ทั้งหมด | 3,239 คน |
• ความหนาแน่น | 126.67 คน/ตร.กม. (328.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 06161005 |
ที่อยู่ที่ทำการ | เลขที่ 100 หมู่ที่ 1 ตำบลลำสนธิ อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี 15190 |
เว็บไซต์ | lamsonthi |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลลำสนธิมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลเขารวก (อำเภอลำสนธิ)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองรี (อำเภอลำสนธิ)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลวะตะแบก (อำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ) และตำบลบึงปรือ (อำเภอเทพารักษ์ จังหวัดนครราชสีมา)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลหนองรี และตำบลเขารวก (อำเภอลำสนธิ)
ประวัติ
แก้ในแผนที่เดินทัพในรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีปรากฏว่า จุด "สนธิกำลัง" อยู่ที่บริเวณนี้ ในการที่จะยาตราทัพไปสู่ที่ราบสูงโคราช และสู่หัวเมืองลาว ทั้งเวียงจันทน์ และหลวงพระบาง โดยที่เส้นทางคมนาคมในสมัยโบราณนั้นใช้เส้นทางตามลำน้ำเป็นหลัก กองทัพจากศูนย์กลางคือ กรุงเทพมหานครจะไปยังหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือหรือแดนลาวนี้ ต้องรวมพลกันที่กรุงเทพฯ และหัวเมืองที่อยู่เหนือขึ้นไป เช่น เมืองสวรรค์ (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท) เมืองอินทร์ (อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองพรหม (อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี) เมืองป่าโมก เมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ในอ่างทอง จะมารวมพลบรรจบกันกับทัพเมืองหลวงที่กรุงเก่า คือพระนครศรีอยุธยา แล้วเดินทางโดยเรือแพไปตามลำน้ำป่าสัก ที่วัดหลวงพ่อพนัญเชิงไปบรรจบกำลังกับเมืองสระบุรี ที่เตรียมรับอยู่ ณ ตำบลแก่งคอย (อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี) ซึ่งมีแก่งหินใหญ่ขวางลำน้ำป่าสักอยู่ ต้องคอยท่าเปลี่ยนเรือแพชุดใหม่กันที่นั่น อันเป็นจุดนัดพบ คือแก่งคอยไปตามลำน้ำป่าสักที่มีกำลังของเมืองชัยบาดาลรออยู่ ณ จุดหมายของการรวมทัพใหญ่ที่บริเวณเมืองบัวชุม และหัวเมืองทางเหนือของแม่น้ำป่าสักขึ้นไปคือ เมืองวิเชียรบุรี เมืองเพชรบูรณ์ เมืองหล่มสัก เมืองหล่มเก่า (อำเภอหล่มสัก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์-รวมทั้งอำเภอวิเชียรบุรี ซึ่งปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของเพชรบูรณ์) ได้ล่องเรือมาตามแม่น้ำป่าสักจากเหนือลงใต้ มาบรรจบกับกองทัพที่ทวนน้ำจากใต้ขึ้นเหนือ บริเวณที่มาพบกันนั้น คือจุดที่ลำน้ำสายหนึ่งมาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก แล้วจัดกระบวนทัพเป็นกระบวนบก จัดหมวดหมู่กรมกองกันอยู่บริเวณเชิงเทือกเขาสูงชัน ที่ตระหง่านอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นการ "สนธิกำลัง" กันอย่างสมบูรณ์ เพื่อยาตราต่อไปยังที่หมาย
"ลำน้ำที่มาบรรจบกับแม่น้ำป่าสัก และกำลังที่มาทางเรือได้จัดเป็นกระบวนบกนั้น มีชื่อว่า ลำน้ำสนธิ และบริเวณที่จัดกระบวนทัพ พักผ่อนไพร่พล ดำเนินการสนธิกำลังกันนั้น คือบ้านลำสนธิ หรือบ้านสนธิ"
เดิมหมู่บ้านลำสนธิเป็นหมู่บ้านในการปกครองตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล ต่อมาในปี พ.ศ. 2514 หมู่บ้านได้ย้ายมาขึ้นการปกครองกับตำบลหนองรี[4] ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2518 ได้แบ่งหมู่ที่ 3–7 และหมู่ที่ 10 ของตำบลหนองรี ตั้งขึ้นเป็น "ตำบลลำสนธิ"[5] ต่อมาในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 นายนิยม วรปัญญา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี ได้ยื่นเรื่องราวต่อราชการ ขอให้ตั้งกิ่งอำเภอขึ้นที่ตำบลลำสนธิ[6] โดยเสนอให้รวมท้องที่ตำบลเขารวก ตำบลกุดตาเพชร ตำบลหนองรี ตำบลซับสมบูรณ์ เพื่อรวมขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ปีต่อมา พ.ศ. 2530 กรมการปกครองได้พิจารณาดำเนินการจัดตั้งกิ่งอำเภอ ซึ่งจังหวัดลพบุรีได้เสนอขอตั้งกิ่งอำเภอลำสนธิในท้องที่อำเภอชัยบาดาล ซึ่งกรมการปกครองได้บรรจุเข้าแผนการจัดตั้งกิ่งอำเภอและอำเภอระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2530 - 2534)
ต่อมาเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แยกตำบลลำสนธิ ตำบลซับสมบูรณ์ ตำบลหนองรี ตำบลกุดตาเพชร และตำบลเขารวก ออกจากการปกครองของอำเภอชัยบาดาล รวมตั้งเป็น "กิ่งอำเภอลำสนธิ"[7] ตามชื่อตำบลลำสนธิ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 จึงมีพระราชกฤษฎีกาฯ ยกฐานะขึ้นเป็น "อำเภอลำสนธิ"[8] เป็นอำเภอที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 10 จาก 11 อำเภอของจังหวัดลพบุรี
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้ตำบลลำสนธิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ 1 | บ้านลำสนธิ | (Ban Lam Sonthi) | หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองยายโต๊ะ (พ.ศ. 2514)[4]
หมู่ 3 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5] | |||
หมู่ 2 | บ้านท่าเยี่ยม | (Ban Tha Yiam) | หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองยายโต๊ะ (พ.ศ. 2514)[4]
หมู่ 4 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5] | |||
หมู่ 3 | บ้านโพธิ์งาม | (Ban Pho Ngam) | หมู่ 5 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5] | |||
หมู่ 4 | บ้านโค้งกุญชร | (Ban Khong Khunchon) | หมู่ 6 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5] | |||
หมู่ 5 | บ้านหนองนา | (Ban Nong Na) | หมู่ 7 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5] | |||
หมู่ 6 | บ้านโค้งลำสนธิ | (Ban Khong Lam Sonthi) | หมู่ 10 (เดิม) โอนมาจากตำบลหนองรี (พ.ศ. 2518)[5] |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่ตำบลลำสนธิ มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพียงแห่งเดียว คือ องค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำสนธิทั้งหมด ซึ่งเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลลำสนธิและยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539[9]
ประชากร
แก้พื้นที่ตำบลลำสนธิประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 6 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 3,239 คน แบ่งเป็นชาย 1,597 คน หญิง 1,642 คน (เดือนธันวาคม 2564)[10] เป็นตำบลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 5 ในอำเภอลำสนธิ
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[11] | พ.ศ. 2563 [12] | พ.ศ. 2562[13] | พ.ศ. 2561[14] | พ.ศ. 2560[15] | พ.ศ. 2559[16] | พ.ศ. 2558[17] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
โค้งลำสนธิ | 656 | 650 | 644 | 628 | 627 | 640 | 626 |
หนองนา | 638 | 632 | 629 | 641 | 633 | 629 | 628 |
โพธิ์งาม | 568 | 567 | 558 | 566 | 578 | 579 | 579 |
ลำสนธิ | 510 | 519 | 531 | 537 | 540 | 550 | 547 |
ท่าเยี่ยม | 397 | 399 | 397 | 392 | 393 | 389 | 383 |
โค้งกุญชร | 338 | 345 | 348 | 342 | 344 | 327 | 328 |
*ทะเบียนบ้านกลาง | 132 | 142 | 355 | 362 | 356 | 364 | 371 |
รวม | 3,239 | 3,254 | 3,462 | 3,468 | 3,471 | 3,478 | 3,462 |
อ้างอิง
แก้- ↑ พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลลำสนธิ.
- ↑ ประชากรในเขตอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าซับลังกา ในท้องที่ตำบลกุดตาเพชร และตำบลลำสนธิ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (235 ก): (ฉบับพิเศษ) 13-15. วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2529
- ↑ 4.0 4.1 4.2 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอโคกสำโรง และอำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (87 ง): 2215–2222. วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2514
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอชัยบาดาลและอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2485–2518. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518
- ↑ "กระทู้ถามที่ ๘๐ ร. เรื่อง ขอตั้งกิ่งอำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี ของ นายนิยม วรปัญญาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 104 (22 ง): (ฉบับพิเศษ) 38-42. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอลำสนธิ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (40 ง): 1885. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21. วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2532
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอเหนือคลอง อำเภอนายายอาม อำเภอท่าตะเกียบ อำเภอขุนตาล อำเภอแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ลาว อำเภอรัษฎา อำเภอพุทธมณฑล อำเภอวังน้ำเขียว อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอชำนิ อำเภอโนนดินแดง อำเภอปางมะผ้า อำเภอลำสนธิ อำเภอหนองม่วง อำเภอเบญจลักษ์ อำเภอโพนนาแก้ว อำเภอบุ่งคล้า อำเภอดอนมดแดง และอำเภอลืออำนาจ พ.ศ. ๒๕๓๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (62 ก): 5–8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-05-21. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21. วันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (ตอนพิเศษ 52 ง): 1–365. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2022-09-21. วันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2539
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.