ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ

ฤดูกาลของละครซีรีส์ไทย

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ หรือ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช The Series ภาคประกาศอิสรภาพ เป็นละครโทรทัศน์อิงประวัติศาสตร์ ภาคที่สองของละครเรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ กำกับการแสดงโดย หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล เป็นการสร้างละครที่อิงเอาเนื้อเรื่องทั้งหมดจากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๒ ประกาศอิสรภาพ และเนื้อเรื่องบางส่วนจากภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี ที่หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคลได้สร้างไว้มาสร้างใหม่อีกครั้ง โดยใช้กระบวนการถ่ายทำและเทคนิคแบบภาพยนตร์ ด้วยความมุ่งหมายจะให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์กว่าในแบบฉบับภาพยนตร์ ละครเรื่องนี้เป็นภาคต่อของ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา โดยซีรีส์เรื่องนี้ออกฉายในระบบออนไลน์ที่เว็บไซต์โมโนแม๊กซ์ เว็บไซต์ในเครือของช่อง โมโน 29 ละครเรื่องนี้มีภาคต่อคือ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคศึกล้างแผ่นดิน

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ
ไฟล์:ตำนานสมเด็จฯ The Series 2 Ver2.jpg
โปสเตอร์ละครซีรีส์
ประเภทประวัติศาสตร์
สร้างโดยบริษัท โมโน บรอดคาซท์ จำกัด
บริษัท ฟุ๊คดุ๊ค โปรดักชั่น จำกัด
เขียนโดยบทประพันธ์ : พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
บทโทรทัศน์ : หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล
วรยุทธ พิชัยศรทัต
กำกับโดยหม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล
แสดงนำทวีฤทธิ์ จุลละทรัพย์
พชรวรรณ วาดรักชิต
ภัทรวดี เหลาสา
ราชัน ชาม่า
ณัฐริกา เฝ้าด่าน
พชรณมน นนทภา
อังค์กูณฑ์ ธนาทรัพย์เจริญ
ไรวินทร์ รัศมีนิยมกุล
อธิวัฒน์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
ศิรประภา สุขดำรงค์
ปรเมศร์ น้อยอ่ำ
กษาปณ์ จำปาดิบ
จำนวนตอน5 ตอน
การผลิต
ผู้อำนวยการผลิตพิชญ์ โพธารามิก
ดร. โสรัชย์ อัศวะประภา
นวมินทร์ ประสพเนตร
ซัง โด ลี
ผู้อำนวยการสร้างหม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล
คุณากร เศรษฐี
บังอร อิ่มเอม
กฤษ อินสมพันธ์
อุเทน ออกช่อ
ธัชพงศ์ ศุภศรี
ความยาวตอน93 นาที
ออกอากาศ
เครือข่ายโมโนแม๊กซ์

ออกอากาศซ้ำทางช่อง 9 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18.00-19.00 น. เริ่มตอนแรกในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564 และออกอากาศตอนจบในวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ต่อจากละคร ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคองค์ประกันหงสา

เนื้อเรื่อง

แก้

หลังจากพระองค์ดำหรือพระนเรศหนีกลับพระพิษณุโลกสองแควได้แล้วนั้น หลายปีผ่านไป พระองค์ได้เจริญชันษาขึ้น และกลายเป็นอุปราชผู้รั้งเมืองพระพิษณุโลกสองแควแทน สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาที่ไปครองราชธานีกรุงศรีอยุธยา พระนเรศวรทรงฝึกปรนการต่อสู้ทุกวัน โดยมีแทล้วทหารกล้ามากมายอยู่รอบพระองค์ ทั้ง ออกพระราชมนู หรือ ไอ้บุญทิ้ง พระสหายของพระนเรศวรมาตั้งแต่ครั้งยังประทับอยู่หงสาวดี และได้มี ออกพระศรีถมอรัตน์ และ ออกพระชัยบุรี เจ้าเมืองชัยบุรี มาสวามิภักดิ์ขออยู่ด้วย รวมทั้ง พระเอกาทศรถ หรือ องค์ขาว พระอนุชา และ มณีจันทร์ ต่างก็เจริญวัยขึ้นเช่นกัน

กิตติศัพท์การชนะศึกของสมเด็จพระนเรศระบือไกลถึงแผ่นดินละแวก เจ้ากรุงละแวกมิได้ทอดธุระ ได้ลอบส่งจารชนชาวจีนฝีมือกล้านามว่า “พระยาจีนจันตุ” มาลอบสืบความ ที่กรุงศรีอยุธยาแต่ถูกจับพิรุธได้จนต้องลอบตีสำเภาหนีกลับกรุงละแวก สมเด็จพระนเรศทรงนำทัพเรือออกตามจนเกิดยุทธนาวี แต่พระยาจีนจันตุหนีรอดไปได้

ในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้าบุเรงนอง เสด็จสวรรคต ต่อมา มหาอุปราชานันทบุเรง ขึ้นครองราชย์เป็น พระเจ้านันทบุเรง สืบต่อ หงสาวดีได้มีพระราชสาสน์ส่งไปยังพระพิษณุโลกสองแควให้ส่งตัวแทนมาร่วมพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพที่หงสาวดี พระนเรศวรได้เสนอตัวพระองค์เองแม้จะทรงรู้ว่า จะเป็นการคืนกลับไปอยู่ยังมือศัตรูอีกครั้ง แต่เพราะพระเจ้าบุเรงนองมีบุญคุณต่อพระนเรศวรเฉกเช่นพระราชบิดาแท้ ๆ อีกองค์หนึ่ง พระนเรศวรจึงจำเป็นต้องเสด็จเดินทางไป และด้วยพระองค์รู้ว่าการเดินทางไปครั้งนี้จะพบกับอันตรายมากมาย จึงเสด็จไปเพียงลำพัง โดยไม่นำพระเอกาทศรถตามเสด็จด้วย เมื่อไปถึง พระมหาอุปราชามังสามเกียด พระโอรสของพระเจ้านันทบุเรงที่รังเกียจพระนเรศวรมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ และ มังจาปะโร พระสหายคนสนิท ต่างเพ็ดทูลให้พระนเรศวรต้องพบกับอันตรายซึ่งจะนำมาซึ่งพระชนม์ชีพ โดยที่งานพระบรมศพครั้งนี้ เมืองคังซึ่งเป็นประเทศราชหงสาวดีมิได้ส่งตัวแทนมา พระเจ้านันทบุเรงจึงมีพระบรมราชโองการให้อุปราชของ 3 เมือง คือ พระนเรศวร, นัดจินหน่อง อุปราชเมืองตองอู และพระมหาอุปราชามังสามเกียด ยกทัพไปปราบเมืองคัง โดยแข่งขันกัน

เมื่อไปถึง เมืองคังเป็นเมืองที่อยู่บนภูเขาสูง ยากที่จะโจมตี กองทัพหงสาวดีของพระมหาอุปราชามังสามเกียดแม้จะยกพลบุกเข้าโจมตีซึ่ง ๆ หน้าก็ไม่สำเร็จ เพราะถูกต่อต้านอย่างหนักจาก เลอขิ่น ธิดาของเจ้าฟ้าเมืองคัง ที่ใช้ทั้งธนูและก้อนหินทุ่มลงมา วันต่อมา ทัพตองอูของนัดจินหน่องเข้าโจมตีบ้าง โดยใช้แผ่นไม้เป็นโล่กั้นแต่ก็ไม่สำเร็จเพราะถูกจู่โจมด้วยไฟ ขณะที่ทัพตองอูกำลังโจมตีอยู่นั้น ข้างพระนเรศวรได้สำรวจสภาพรอบเมืองคัง พบว่าหลังเมืองมีแหล่งน้ำที่ชาวเมืองลงมาตักใช้และเป็นทางขึ้นไปยังเมืองคังได้ จึงทรงจัดทัพแบ่งเป็น 2 ทาง ทางแรกแสร้งให้พระชัยบุรี และพระศรีถมอรัตน์จู่โจมหน้าด้านเหมือนเช่น 2 เมืองก่อนหน้านั้น ส่วนพระองค์จะจู่โจมที่ด้านหลัง ผลปรากฏว่า พระนเรศวรสามารถตีเมืองคังได้สำเร็จ และได้จับตัวเลอขิ่นและเจ้าฟ้าเมืองคังกลับไปรับโทษยังหงสาวดีได้สำเร็จ

การที่พระนเรศวรกระทำการสำเร็จดังนั้น สร้างความแค้นเคืองให้พระมหาอุปราชามังสามเกียดยิ่งนักเพราะถือว่าถูกลบหลู่พระเกียรติ ขณะที่นัดจินหน่องมองพระนเรศวรอย่างไม่ดูแคลนเพราะถือว่าในอนาคตพระนเรศวรอาจเป็นได้ทั้งมิตรและศัตรูคนสำคัญ เมื่อถึงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรงมีคำสั่งให้เผาทั้งเป็นเจ้าฟ้าเมืองคัง แต่พระนเรศวรได้ทูลขอชีวิตไว้ พระเจ้านันทบุเรงจึงให้ปล่อยตัวกลับไป ต่อมา พระเจ้านันทบุเรง กับพระเจ้าตะโดเมงสอ เกิดขัดแย้งกันเพราะ พระมหาอุปราชามังกยอชวาเอาหัวของพระนางนัดเชงเมดอโขกกับปลายเตียงจนมีพระโลหิตไหล พระนางนัดเชงเมดอได้ส่งผ้าซับพระพักตร์ที่เปื้อนพระโลหิตไปหาพระเจ้าตะโดเมงสอ พระเจ้าตะโดเมงสอทรงพิโรธมากจึงประกาศศึกกับหงสาวดี ขณะที่พระเจ้านันทบุเรงเสด็จออกไปทำสงครามยังเมืองอังวะ พระมหาอุปราชามังสามเกียด เป็นผู้รั้งพระนครได้ทำอุบายร้ายต่อพระนเรศวรขณะเสด็จถึงเมืองแครง แต่ว่า พระยาเกียรติ และ พระยาราม ทหารมอญที่ถูกส่งมาลอบปลงพระชนม์พระนเรศวรได้สำนึกในบุญคุณครั้งอดีตที่พระนเรศวรเคยมีต่อตนจึงได้สารภาพความจริงโดยนำความบอกผ่านมายัง พระมหาเถรคันฉ่อง ที่เมื่อพระเจ้าบุเรงนองสวรรคตแล้วได้อกมาจำพรรษายังนอกเมือง พระมหาเถรคันฉ่องได้นำความมาบอกแก่พระนเรศวร พระนเรศวรได้กระทำพิธีหลั่งน้ำทักษิโณทกประกาศไม่ขึ้นต่อหงสาวดี เป็นการแสดงว่านับแต่นี้ต่อไป พระพิษณุโลกสองแควและอยุธยาจะไม่ขึ้นตรงต่อหงสาวดีอีกแล้ว

ขณะที่เล่อขิ่นได้เดินทางกลับเมืองคัง เลอขิ่นได้ติดตามไปกับกองทัพของพระนเรศวร เพื่อช่วยชาวไทใหญ่ของตนที่ถูกทหารหงสาจับตัวไว้ที่เมืองกำแพงเพชร โดยมี หมอกมู องครักษ์หญิงติดตามไปด้วย ขณะที่เล่อขิ่นและหมอกมูกำลังเดินทางในป่า มือสังหารชาวนาคาได้ลงมือลอบสังหาร รวมทั้งลอบปลงพระชนม์พระนเรศวรถึงที่พำนักด้วย โดยพระมหาอุปราชามังสามเกียดเป็นผู้ส่งไป ทำให้พระนเรศวรต้องเริ่งเดินทางให้เร็วขึ้นเพื่อให้พ้นเขตแดนหงสาวดี ทาง สุระกรรมา แม่ทัพอาวุโสแห่งหงสาวดีได้เตือนพระมหาอุปราชามังสามเกียดว่าอย่าได้ประมาทพระนเรศวร แต่มหาอุปราชามังสามเกียดเถียงว่า อย่ามาเถียงกับมหาอุปราชอย่างตนเอง

กองทัพของหงสาวดีไล่ตามพระนเรศวรกระชั้นชิดยิ่งขึ้น หมอกมูเพื่อปกป้องเลอขิ่นได้รับบาดเจ็บ นางจึงฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้เป็นภาระ ทำให้เลอขิ่นนำข่าวมาบอกพระนเรศได้ง่ายขึ้น ออกราชมนูได้ย้อนกลับมาเพื่อช่วย ขณะที่ทุกคนกำลังข้ามแม่น้ำสะโตง พระนเรศวรทรงสั่งให้พระราชมนูพามณีจันทร์และเลอขิ่นขามแม่น้ำสะโตง และพระองค์ก็สามารถข้ามแม่น้ำตามไปได้สำเร็จ อีกทั้งพระองค์ยังใช้พระแสงปืนต้นกระบอกที่พระองค์ได้รับมาจากซักแซกยอถ่างที่เมืองแครง ยิงสุระกรรมาตกจากคอช้างถึงแก่ความตายได้อีกด้วย

นักแสดงนำ

แก้

นักแสดงหลัก

นักแสดงสมทบ

นักแสดงร่วม

นักแสดงรับเชิญ

ความแม่นยำทางประวัติศาสตร์

แก้
  • เลอขิ่น หมอกมู และมูเตอเป็นตัวละครที่สมมติขึ้นมา โดยที่ผู้สร้าง หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล ได้นำแบบอย่างมาจากลักษณะตัวละครในภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
  • เมืองคัง นักวิชาการในปัจจุบันก็ยังไม่ทราบที่ตั้งที่ชัดเจนว่าอยู่ที่ไหน ทราบแต่เพียงว่าเป็นเมืองตั้งบนภูเขาสูง ทั้งนี้ก็มาจากการระบุถึงในพงศาวดาร[2]
  • ในละครโทรทัศน์นั้น หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล ผู้สร้างละครโทรทัศน์ได้ตีความตัวละครใหม่ โดยกำหนดให้ ซักแซกยอถ่าง เจ้าเมืองแครงถูกสุรกรรมาสังหาร หลังจากที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพแล้ว เพราะตัวละครนี้เป็นเจ้าเมืองชาวมอญ ซึ่งในการประกาศอิสรภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น ซักแซกยอถ่าง ได้ยอมแพ้และช่วยเหลือพระนเรศทุกอย่าง จึงเข้าข่ายเป็นกบฎต่อหงสาวดี
  • ไม่ได้มีหลักฐานใดระบุว่ามีการลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชแต่อย่างใด

อ้างอิง

แก้
  1. "คุณชายอดัม เปิดกองลุยถ่ายฉากสงครามยิ่งใหญ่ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ซีซั่น 3". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-03. สืบค้นเมื่อ 2018-01-26.
  2. เที่ยวอินเดีย - วันเนา โดย Cinephile (นามแฝงของ มจ.ชาตรีเฉลิม ยุคล)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้