ตัวเลขจีน คืออักษรจีนที่ใช้สำหรับเขียนแทนจำนวนในภาษาจีน ในทุกวันนี้ผู้พูดภาษาจีนใช้ระบบเลขสามแบบ คือ เลขอาหรับสมัยใหม่ และเลขจีนโบราณอีกสองระบบ การเขียนและการอ่านเลขจีนเขียนคล้ายจำนวนในภาษาไทย คือมีเลขโดดและค่าประจำหลัก แต่ก็มีหลักเกณฑ์บางอย่างที่ต่างออกไป

การเขียนจำนวน

แก้

จำนวนธรรมดา

แก้

จำนวนธรรมดาในที่นี้หมายถึงจำนวนเต็มบวกและศูนย์ ภาษาจีนมีอักษรที่ใช้แทนค่าเลขโดดตั้งแต่ 0 ถึง 9 กับอักษรแทนค่าประจำหลักอีกจำนวนหนึ่งใช้แทน 10, 100, 1000 ฯลฯ ประกอบกันเป็นจำนวนโดยเรียงลำดับหลักจากมากไปหาน้อย คล้ายกับการอ่านจำนวนในภาษาไทย อักษรจีนที่ใช้แทนจำนวนมีอยู่สองชุด ชุดหนึ่งสำหรับใช้ในงานการบัญชีเพื่อป้องกันการแก้ไขจำนวน เรียกว่า ตัวเขียนใหญ่ (จีนตัวย่อ: 大写; จีนตัวเต็ม: 大寫; พินอิน: dàxiě) และอีกชุดหนึ่งสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน เรียกว่า ตัวเขียนเล็ก (จีนตัวย่อ: 小写; จีนตัวเต็ม: 小寫; พินอิน: xiǎoxiě) ตัวอย่างเช่นจำนวน 30 กับ 5,000 ตัวเขียนใหญ่จะเขียนว่า 叁拾 กับ 伍仟 ส่วนตัวเขียนเล็กจะเขียนว่า 三十 กับ 五千 ตามลำดับ สำหรับการอ่านและแปลความหมายจำนวนจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป

สมมติให้ (ต) หมายถึงอักษรจีนตัวเต็ม และ (ย) หมายถึงอักษรจีนตัวย่อ

ตัวเขียนใหญ่ ตัวเขียนเล็ก ค่า พินอิน หมายเหตุ
0 líng 〇 เป็นการนำเสนอที่ไม่เป็นทางการ แต่อักษรตัวเต็ม 零 มีการใช้ในโรงเรียนมากกว่า
1 ตัวเขียนใหญ่ เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弍 (2) หรือ 弎 (3) ได้ง่าย
(ต)
(ย)
2 èr ตัวเขียนใหญ่ เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弌 (1) หรือ 弎 (3) ได้ง่าย
สำหรับการใช้ (ต) หรือ (ย) ให้ดูหัวข้อถัดไป
(ต)
(ย)
3 sān ตัวเขียนใหญ่ เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弌 (1) หรือ 弍 (2) ได้ง่าย
นอกจากนี้ยังมีอักษรต่างรูป (ต) หรือ (ย) อีกด้วย
4 นอกจากนี้ยังมีอักษรต่างรูป อีกด้วย (ส่วนซ้ายของตัวเขียนใหญ่ ประกอบกับตัวเขียนเล็ก)
5  
(ต)
(ย)
6 liù  
7  
8  
9 jiǔ  
 
10 shí บางคนใช้ เป็นตัวเขียนใหญ่ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 伍 (5) หรือ 仟 (1,000) ได้ง่าย
100 bǎi  
1,000 qiān
(ต)
(ย)
10,000 wàn เลขจีนจะมีการแบ่งช่วงค่าประจำหลักทุก ๆ 4 หลัก คือทุกหนึ่งหมื่น
(ต)
亿 (ย)
108 ดูที่จำนวนขนาดใหญ่ในหัวข้อถัดไป

อักษรที่ใช้เฉพาะบางภูมิภาค

แก้
ตัวเขียนใหญ่ ตัวเขียนเล็ก ค่า พินอิน (จีนกลาง) รูปแบบธรรมดา หมายเหตุ
(ไม่มี) 1 yāo ความหมายเดิมของคำนี้คือ "เล็กที่สุด" มีการใช้ในภาษาจีนกลางเพื่อลดความสับสนของตัวเลข 1 ที่อยู่ในกลุ่มตัวเลข อย่างหมายเลขโทรศัพท์หรือหมายเลขประจำตัว เพราะว่า 一 (1 อี) ออกเสียงคล้ายกับ 七 (7 ชี) ซึ่งจะไม่นำมาใช้นับจำนวนหรืออ่านค่าต่าง ๆ ตามปกติ ในไต้หวันคำนี้จะใช้ในการทหาร ตำรวจ และการบริการฉุกเฉินเท่านั้น ไม่มีการใช้เช่นนี้ในภาษากวางตุ้ง
(ไม่มี) (ต)
(ย)
2 liǎng อีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการแสดงเลข 2 ซึ่งมีการใช้แตกต่างกันไปตามสำเนียงหรือแม้แต่คนต่อคน ตัวอย่างเช่นจำนวน 2,222 ในภาษาจีนกลางสามารถเขียนว่า 二千二百二十二 หรือ 两千二百二十二 หรือแม้แต่ 两千两百二十二 นอกจากนั้นก็ใช้เพื่อลดความสับสนของตัวเลข เมื่อพูด 两 (2 เหลี่ยง) จะชัดเจนกว่า 二 (2 เอ้อร์)
(ไม่มี) 7 guǎi ใช้เพื่อลดความสับสนของตัวเลข เพราะว่า 一 (1 อี) ออกเสียงคล้ายกับ 七 (7 ชี)
(ไม่มี) 9 gōu ใช้เพื่อลดความสับสนของตัวเลข เพราะว่า 九 (9 จิ่ว) ออกเสียงคล้ายกับ 六 (6 ลิ่ว)
(ไม่มี) 10 ในการพูดภาษากวางตุ้ง เมื่อ 十 ถูกใช้ในระหว่างจำนวน โดยมีเลขโดดนำหน้าและตามหลังอย่างละตัว 十 จะเปลี่ยนเป็น 呀 (aa6) เช่น 六呀三 (63) การเปลี่ยนอักษรเช่นนี้ไม่มีในภาษาจีนกลาง
(ไม่มี)
廿
20 niàn 二十
 
แสตมป์ 20 หยวนของจีน ค.ศ. 1931

รูปแบบการเขียนอย่างย่อสำหรับเลข 20 ในภาษาจีน โดยเฉพาะวันที่ในปฏิทินจีนและราคาบนแสตมป์ ส่วนรูปแบบการพูดยังคงมีอยู่ในหลายสำเนียงของภาษาจีน
ในภาษากวางตุ้ง 廿 (jaa6) จะต้องตามด้วยเลขโดด 1-9 เช่น 廿三 (23) หรือมิเช่นนั้นก็จะต้องเขียนเป็น 廿幾 (ยี่สิบ-เท่าไร) เพราะตัวมันเองไม่ได้หมายความว่าเท่ากับ 20 นอกจากนี้ยังมี เป็นอักษรต่างรูปที่พบได้น้อย

(ไม่มี) 30 三十 รูปแบบการเขียนอย่างย่อสำหรับการอ้างอิงวันที่ในภาษาจีนเช่น May 30 Movement (五卅运动) ส่วนรูปแบบการพูดยังคงมีอยู่ในหลายสำเนียงของภาษาจีน วิธีใช้ในภาษากวางตุ้งเหมือนกับกรณี 廿
(ไม่มี) 40 四十 รูปแบบการพูดยังคงมีอยู่ในหลายสำเนียงของภาษาจีน ถึงแม้จะพบการใช้น้อยมาก วิธีใช้ในภาษากวางตุ้งเหมือนกับกรณี 廿
(ไม่มี) 200 二百 พบการใช้น้อยมาก ตัวอย่างหนึ่งคือการตั้งชื่องานเขียน 《皕宋楼》

จำนวนขนาดใหญ่

แก้

ระบบเลขจีนมีแนวคิดสเกลสั้นและยาว (long and short scales) เหมือนกับระบบเลขของตะวันตก สำหรับอักษรจีนที่มีค่ามากกว่า 万 (10,000) จะมีสี่ระบบที่ใช้แทนความหมายทั้งแบบโบราณและแบบยุคใหม่

อักษรจีน (ต)
亿 (ย)
(ต)
(ย)
(ต)
(ย)
(ต)
(ย)
หมายเหตุ
พินอิน zhào jīng gāi ráng gōu jiàn zhēng zài
อักษรแบบอื่น (ต)
(ย)
พินอิน jīng zhù rǎng
ระบบที่ 1 105 106 107 108 109 1010 1011 1012 1013 1014 แต่ละจำนวนห่างกัน 10 เท่า
ระบบที่ 2 108 1012 1016 1020 1024 1028 1032 1036 1040 1044 แต่ละจำนวนห่างกัน 10,000 เท่า
ระบบที่ 3 108 1016 1024 1032 1040 1048 1056 1064 1072 1080 แต่ละจำนวนห่างกัน 108 เท่า
ระบบที่ 4 108 1016 1032 1064 10128 10256 10512 101024 102048 104096 แต่ละจำนวนห่างกันโดยยกกำลังสอง

ในภาษาจีนยุคใหม่ใช้เพียงระบบที่สองเท่านั้น ถึงแม้จะยังมีการถกเถียงเกี่ยวกับค่าของ 兆 การให้อักษรตัวนี้มีค่าเท่ากับ 1012 นั้นสอดคล้องกันทั้งในจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี ตัวอย่างหนึ่งของความกำกวมของ 兆 คือการใช้แทนความหมายของ 106 ในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศในหลายปีที่ผ่านมา (โดยเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่) เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ รัฐบาลจีนจึงไม่ใช้อักษรตัวนี้ในเอกสารราชการ แต่จะใช้ 万亿 (104·108) แทน เช่นเดียวกับรัฐบาลไต้หวัน

จำนวนจากพุทธศาสนา

แก้

จำนวนที่มากกว่า 载 นำมาจากข้อความพุทธศาสนาในภาษาสันสกฤต แต่จำนวนเหล่านี้เป็นการใช้เฉพาะสมัยโบราณเท่านั้น

อักษรจีน/ชื่อจีน ค่า พินอิน หมายเหตุ
(ต)
(ย)
1048
恆河沙 (ต)
恒河沙 (ย)
1052 hénghéshā แปลตรงตัวว่า "ทรายแห่งคงคา" เปรียบกับปริมาณเม็ดทรายที่อยู่ในแม่น้ำคงคา
阿僧祇 1056 āsēngqí จากคำสันสกฤตว่า อสงไขย
那由他 1060 nàyóutā จากคำสันสกฤตว่า นยุต
不可思議 (ต)
不可思议 (ย)
1064 bùkěsīyì แปลตรงตัวว่า "ประมาณมิได้"
無量 (ต)
无量 (ย)
1068 wúliàng แปลตรงตัวว่า "ไร้ขอบเขต"
大數 (ต)
大数 (ย)
1072 dàshù แปลตรงตัวว่า "จำนวนใหญ่"

จำนวนขนาดเล็ก

แก้

ตัวอักษรต่อไปนี้ใช้เพื่อแสดงอันดับของขนาดในภาษาจีนในสมัยโบราณ อักษรบางตัวก็ยังใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อให้เข้ากับคำอุปสรรคในหน่วยเอสไอ ในขณะที่อักษรอื่นกลายเป็นคำที่ไม่ได้ใช้

อักษรจีน ค่า พินอิน หมายเหตุ
10−12 (จีนโบราณ) ปัจจุบันใช้ (pí) สอดคล้องกับคำอุปสรรค พิโก
10−11 miǎo (จีนโบราณ)
10−10 āi (จีนโบราณ)
(ต)
(ย)
10−9 chén (จีนโบราณ) ปัจจุบันใช้ / (nài) และ / (nà) สอดคล้องกับคำอุปสรรค นาโน
10−8 shā (จีนโบราณ)
(ต)
(ย)
10−7 xiān (จีนโบราณ)
10−6 wēi ยังใช้อยู่ สอดคล้องกับคำอุปสรรค ไมโคร
10−5 (จีนโบราณ)
(ต)
(ย)
10−4 (จีนโบราณ)
0.001 háo ยังใช้อยู่ สอดคล้องกับคำอุปสรรค มิลลิ นอกจากนี้ยังมี (máo)
0.01 ยังใช้อยู่ สอดคล้องกับคำอุปสรรค เซนติ นอกจากนี้ยังมี (lí)
0.1 fèn ยังใช้อยู่ สอดคล้องกับคำอุปสรรค เดซิ