อสงไขย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
อสงไขย (สันสกฤต: असंख्येय อสํเขฺยย; บาลี: อสงฺเขยฺย หรือ อสํเขยฺย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นจำนวนธรรมชาติเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง 20 (10,000,00020)[1] หรือ 10140 (เลข 1 แล้วตามด้วยเลข 0 ต่อท้ายทั้งหมด 140 ตัว)
บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a=5, b=103 ส่วนพระศิกษานันทะตีความว่า a=7, b=103 และ Thomas Cleary ตีความว่า a=10, b=104 [ต้องการอ้างอิง]
อสงไขยเป็นระยะเวลาที่ยาวนานจนไม่อาจคำนวณได้ มีอุปมาว่า ประมาณเม็ดฝนของการเกิดฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานานถึง 3 ปี ไม่ได้ขาดสายเลย[ต้องการอ้างอิง] ในศาสนาพุทธจึงมักใช้กล่าวถึงระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สั่งสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า
นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถายังมีการใช้คำว่า "อสงไขย" เฉย ๆ ด้วยเช่นกัน แต่เป็นอติพจน์และใช้ในความหมายที่ว่า มากมาย หรือ นับไม่ถ้วน (infinity) ไม่ได้ใช้ในแง่ของการบอกปริมาณว่าเท่ากับ 10140 และไม่ได้หมายถึงอสงไขยกัป[ต้องการอ้างอิง]
ประเภท
แก้อรรถกถากล่าวถึง อสงไขย ไว้ดังนี้
- อสงไขย หมายถึง ช่วงเวลายาวนานจนไม่สามารถจะนับได้ เกินการคำนวณด้วยมหากัป[2] คัมภีร์ปรมัตถทีปนี อรรถกถาจริยาปิฎก จึงเรียกช่วงเวลาที่โลกปราศจากพระพุทธเจ้ายาวนานเช่นนี้ว่า "อสงไขยหนึ่งแห่งมหากัป" ดังนี้
ในระหว่างพระทศพลพระนามว่าทีปังกร และพระทศพลพระนามว่าโกณฑัญญะ โลกได้ว่างพระพุทธเจ้าไปตลอดอสงไขยหนึ่งแห่งมหากัป. ในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะ และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ามังคละ ก็เหมือนกัน ในระหว่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าโสภิตะ พระนามว่าอโนมทัสสี พระนามว่านารทะ พระนามว่าปทุมุตตระ ก็เหมือนกัน.[2]
วิธีนับอสงไขยในแง่ของตัวบ่งปริมาณ
แก้การนับอสงไขยให้เทียบเอาดังนี้[ต้องการอ้างอิง]
- สิบ สิบหน เป็น หนึ่งร้อย
- สิบร้อย เป็น หนึ่งพัน
- สิบพัน เป็น หนึ่งหมื่น
- สิบหมื่น เป็น หนึ่งแสน
- ร้อยแสน เป็นหนึ่งโกฏิ
- ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ
- ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ
- ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต
- ร้อยแสนนหุต เป็น หนึ่งนินนหุต
- ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี
- ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ
- ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งอพุทะ
- ร้อยแสนอพุทะ เป็น หนึ่งนิระพุทะ
- ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ
- ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ
- ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ
- ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ
- ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ
- ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ
- ร้อยแสนกมุทะ เป็น หนึ่งปทุมะ
- ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ
- ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น หนึ่งอกถาน
- ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
- ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย
หมายเหตุ: ร้อยแสน=สิบล้าน
อสงไขย | ค่า | ชื่อภาษาอังกฤษ (Short scale) |
---|---|---|
สิบ | 101 | Ten |
ร้อย | 102 | Hundred |
พัน | 103 | Thousand |
หมื่น | 104 | Ten thousands |
แสน | 105 | Hundred thousands |
โกฏิ | 107 | Ten millions |
ปโกฏิ | 1014 | Hundred trillion |
โกฏิปโกฏิ | 1021 | Sextillion |
นหุต | 1028 | Ten octillion |
นินนหุต | 1035 | Hundred Decillion |
อักโขเภนี | 1042 | Tredecillion |
พินทุ | 1049 | Ten Quindecillion |
อพุทะ | 1056 | Hundred Septendecillion |
นิระพุทะ | 1063 | Vigintillion |
อหหะ | 1070 | |
อพพะ | 1077 | |
อฏฏะ | 1084 | |
โสคันธิกะ | 1091 | |
อุปละ | 1098 | |
กมุทะ | 10105 | |
ปทุมะ | 10112 | |
ปุณฑริกะ | 10119 | |
อกถาน | 10126 | |
มหากถาน | 10133 | |
อสงไขย | 10140 |
จำนวนอสงไขย
แก้ช่วงระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แบ่งตามประเภทของพระโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ประเภทปัญญาธิกะใช้เวลา 20 อสงไขย กับอีกแสนมหากัป
พระโพธิสัตว์ประเภทศรัทธาธิกะใช้เวลา 40 อสงไขย กับอีกแสนมหากัป
พระโพธิสัตว์ประเภทวิริยาธิกะใช้เวลา 80 อสงไขย กับอีกแสนมหากัป
สำหรับพระโคตมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ประเภทปัญญาธิกะ ใช้เวลา 20 อสงไขย กับอีกแสนมหากัป คือ[5][ระบุข้อมูลทางบรรณานุกรมไม่ครบ]
- นันทอสงไขย
- สุนันทอสงไขย
- ปฐวีอสงไขย
- มัณฑอสงไขย
- ธรณีอสงไขย
- สาครอสงไขย
- บุณฑริกอสงไขย
- สัพพภัททอสงไขย
- สัพพผุลลอสงไขย
- สัพพรัตนอสงไขย
- สภักขันธอสงไขย
- มานิภัททอสงไขย
- ปทุมอสงไขย
- อุสภอสงไขย
- ขันธุตตมอสงไขย
- สัพพผาลอสงไขย
- เสลอสงไขย[ต้องการอ้างอิง]
- ภาสอสงไขย[ต้องการอ้างอิง]
- ไชยอสงไขย[ต้องการอ้างอิง]
- รูปิยอสงไขย (บางตำราว่า รุจิ,รุจิระ อสงขัย)[ต้องการอ้างอิง]
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1381
- ↑ 2.0 2.1 2.2 อกิตติจริยา, อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก
- ↑ พระสัทธัมมโชติกะ, ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ, พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, 2546, หน้า 224
- ↑ ๑๐, อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อนมตัคคสังยุตต์ ทุติยวรรคที่ ๒
- ↑ http://www.kalyanamitra.org/th/uniboon_detail.php?page=1781
- พระคัมภรีอนาคตวงศ์, ประภาส สุระเสน, พ.ศ. 2540, มหามกุฏราชวิทยาลัย, ISBN 974-580-742-7