จักรพรรดิชิรากาวะ
จักรพรรดิชิรากาวะ (ญี่ปุ่น: 白河天皇; โรมาจิ: Shirakawa-tennō; 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1053 – 24 รกฎาคม ค.ศ. 1129) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 72[1] ตามลำดับการสืบราชบัลลังก์แบบดั้งเดิม[2]
จักรพรรดิชิรากาวะ 白河天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
![]() | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 18 มกราคม ค.ศ. 1073 – 3 มกราคม ค.ศ. 1087 | ||||
ราชาภิเษก | 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1073 | ||||
ก่อนหน้า | โกะ-ซันโจ | ||||
ถัดไป | โฮริกาวะ | ||||
พระราชสมภพ | 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1058 | ||||
สวรรคต | 17 สิงหาคม ค.ศ. 1135 | (77 ปี)||||
ฝังพระศพ | โจโบได-อิง โนะ มิซาซางิ (成菩提院陵; เกียวโต) | ||||
คู่อภิเษก | ฟูจิวาระ โนะ เค็นชิ | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น... | |||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิโกะ-ซันโจ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ ชิเงโกะ [ja] |
รัชสมัยของจักรพรรดิชิรากาวะกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1073 ถึง 1087[3]
พระบรมวงศานุวงศ์
แก้เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน จักรพรรดิโก-ซันโจ ที่ประสูติแต่ ฟูจิวาระ ชิเงโกะ
ก่อนขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ชิรากาวะมีพระนามเดิม (อิมินะ)[4] ว่า เจ้าชายซาดาฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 貞仁親王; โรมาจิ: Sadahito-shinnō)[5]
พระองค์เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิโกะ-ซันโจกับฟูจิวาระ ชิเงโกะ (藤原茂子)[6]
ชิรากาวะมีจักรพรรดินีองค์เดียวและพระมเหสีองค์เดียว กับพระราชโอรสธิดารวม 9 พระองค์[7]
- จักรพรรดินี (ชูงู): ฟูจิวาระ โนะ เค็นชิ (藤原賢子)—ธิดาในมินาโมโตะ อากิฟูซะ รับเลี้ยงโดยฟูจิวาระ โมโรซาเนะ
- พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายอัตสึฟูมิ (敦文親王; 1075–1077)
- พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงยาซูโกะ (媞子内親王) ภายหลังเป็น อิกูโฮมนอิง (郁芳門院)
- พระราชธิดาองค์ที่ 3: เจ้าหญิงเรชิ (令子内親王) ไซงู
- พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายทารูฮิโตะ (善仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโฮริกาวะ
- พระราชธิดาองค์ที่ 4: เจ้าหญิงชินชิ (禛子内親王; 1081–1156)—สึจิมิกาโดะไซอิง (土御門斎院)
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิชิรากาวะ
แก้เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์ ความสัมพันธ์ของพระองค์กับพระบิดาของพระองค์ จักรพรรดิโก-ซันโจ นั้นเย็นชาแต่ก็เปี่ยมด้วยความรัก และในปี ค.ศ. 1068 เมื่อพระบิดาของพระองค์ขึ้นครองสิริราชสมบัติ พระองค์ก็ได้รับการสถาปนาให้เป็นชินโน (เจ้าชาย) กลายเป็นเจ้าชายซาดาฮิโตะ ในปี ค.ศ. 1069 พระองค์เป็น โคไตชิ หรือรัชทายาทและในเวลาที่เหมาะสม พระองค์กลายเป็นจักรพรรดิเมื่อพระชนมายุได้ 19 พรรษา
- 18 มกราคม ค.ศ. 1073 (วันที่ 8 เดือน 12 ปี เอ็งคิว ที่ 4) : ปีที่ 5 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโก-ซันโจทรงสละราชบัลลังก์ให้กับพระราชโอรสคือเจ้าชายซะดะฮิโตะขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิชิระกะวะ หลังจากนั้นไม่นานได้มีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก
- 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1073 (วันที่ 29 เดือน 12 ปี เอ็งคิว ที่ 4) : ได้มีการประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิชิระกะวะอย่างเป็นทางการที่ พระราชวังหลวงเฮอัง
- ค.ศ. 1074 (วันที่ 7 เดือน 2 ปี โจโฮ ที่ 1) : อดีต คัมปะกุ ฟุจิวะระ โนะ โยะริมิชิ ผู้สร้าง วัดเบียวโด ถึงแก่อสัญกรรมด้วยวัย 83 ปีในปีเดียวกันพี่สาวของโยะริโมะชิอดีตจักรพรรดินีใน จักรพรรดิอิจิโจ สิ้นพระชนม์ด้วยพระชนมายุ 87 พรรษา
- ค.ศ. 1074 (วันที่ 3 เดือน 10 ปี โจโฮ ที่ 1) : ท่าน โจโตมงอิง อดีตจักรพรรดินีในอดีต จักรพรรดิอิจิโจ สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 87 พรรษา
- ค.ศ. 1087 (เดือน 9 ปี โอโตะกุ ที่ 3) : จักรพรรดิชิระกะวะแถลงที่จะสละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายทะรุฮิโตะพระราชโอรส
- 3 มกราคม ค.ศ. 1087 (วันที่ 26 เดือน 12 ปี โอโตะกุ ที่ 3) : ปีที่ 13 ในรัชสมัยจักรพรรดิชิระกะวะสละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายทะรุฮิโตะขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมาเป็น จักรพรรดิโฮะริกะวะ โดยเป็น ไดโจเท็นโน (มหาจักรพรรดิ) กุมพระราชอำนาจเหนือพระราชโอรสในรูปแบบ การว่าราชการในวัด
แต่เดิมจักรพรรดิโก-ซันโจมีพระราชประสงค์ที่จะแต่งตั้งให้พระอนุชาต่างพระมารดาของจักรพรรดิชิระกะวะคือ เจ้าชายซะเนะฮิโตะ เป็นผู้สืบทอดต่อจากจักรพรรดิชิระกะวะแต่เจ้าชายพระองค์นั้นก็สิ้นพระชนม์ไปเมื่อ ค.ศ. 1085 ทำให้จักรพรรดิชิระกะวะทรงแต่งตั้งพระราชโอรสคือเจ้าชายทะรุฮิโตะขึ้นเป็นรัชทายาท
- ค.ศ. 1087 (เดือน 5 ปี คังจิ ที่ 1) : ไดโจเท็นโน ชิระกะวะ เสด็จย้ายไปประทับที่ อุจิ
- ค.ศ. 1088 (เดือน 1 ปี คังจิ ที่ 2) : จักรพรรดิโฮะริกะวะ เสด็จไปเฝ้าพระราชบิดาที่ พระตำหนักชิระกะวะ ที่อดีตจักรพรรดิชิระกะวะโปรดเกล้าให้สร้างขึ้นที่ อุจิ
- ค.ศ. 1090 (เดือน 12 ปี คังจิ ที่ 4) : ฟุจิวะระ โนะ โมะโระซะเนะ ซึ่งดำรงตำแหน่ง เซ็ชโช ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง คัมปากุ
- ค.ศ. 1094 (วันที่ 8 เดือน 3 ปี คังจิ ที่ 8) : คัมปากุ ฟุจิวะระ โนะ โมะโระซะเนะ ได้ลาออกจากตำแหน่งคัมปากุ
- ค.ศ. 1095 (เดือน 8 ปี กาโฮ ที่ 2) : จักรพรรดิโฮะริกะวะประชวรทำให้พระองค์ต้องผนวชเพื่อให้พระอาการดีขึ้น
- ค.ศ. 1096 (วันที่ 9 เดือน 11 ปี กาโฮ ที่ 3) : อดีตจักรพรรดิชิระกะวะผนวชเมื่อพระชนมายุ 44 พรรษาโดยได้รับฉายาทางธรรมว่า ยูคัง ทำให้พระองค์ได้เป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา) ซึ่งใช้เรียกอดีตจักรพรรดิที่ออกผนวช
สาเหตุที่ทำให้อดีตจักรพรรดิชิระกะวะออกผนวชเนื่องจากพระราชธิดาพระองค์หนึ่งซึ่งได้รับการสถาปนาในภายหลังเป็น พระพันปีอิคุโยะชิ ได้สิ้นพระชนม์ในปีนั้น
หลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิโฮะริกะวะพระราชนัดดาของพระองค์ได้ขึ้นเป็น จักรพรรดิโทะบะ พระองค์ก็ยังคงกุมพระราชอำนาจทางการเมืองเหนือพระราชนัดดาแม้จะอยู่ในสมณเพศจนกระทั่งจักรพรรดิโทะบะสละราชบัลลังก์ซึ่งพระองค์ก็ยังคงกุมพระราชอำนาจต่อไปในรัชสมัยของพระราชปนัดดา (เหลน) คือ จักรพรรดิซุโตะกุ
- 24 กรกฎาคม ค.ศ. 1129 (วันที่ 7 เดือน 7 ปี ไดจิ ที่ 4) : ปีที่ 6 ในรัชสมัย จักรพรรดิซุโตะกุ ไดโจโฮโอ ชิระกะวะ สวรรคตเมื่อพระชนมายุ 76 พรรษาสิ้นสุดการปกครองแบบ การว่าราชการในวัด ของจักรพรรดิชิระกะวะที่ยาวนานถึง 42 ปีซึ่งหลังจากนั้นจักรพรรดิรัชกาลต่อ ๆ มาก็ดำเนินตามรอยจักรพรรดิชิระกะวะในพระราชสถานะ ไดโจเท็นโน และ ไดโจโฮโอ
พระราชพงศาวลี
แก้พงศาวลีของจักรพรรดิชิรากาวะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 白河天皇 (72)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 77.
- ↑ translated by D.M. Brown and I. Ishida (1979). Fujiwara Yoshinobu's Part in Go-Sanjō's Appointment as Crown Prince, pp. 72The Future and the Past: A Translation and Study of the Gukanshō, an Interpretative History of Japan Written in 1219 , p. 72, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Titsingh, p. 169; Brown, 314; Varley, p. 198.
- ↑ Brown, 72
- ↑ Brown, p. 317.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 26 May 2018.
ข้อมูล
แก้- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Kitagawa, Hiroshi and Bruce T. Tsuchida, ed. (1975). The Tale of the Heike. Tokyo: University of Tokyo Press. ISBN 0-86008-128-1 OCLC 164803926
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842
ก่อนหน้า | จักรพรรดิชิรากาวะ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิโกะ-ซังโจ | จักรพรรดิญี่ปุ่น (1073 - 1087) |
จักรพรรดิโฮะริกะวะ |