จักรพรรดิโทบะ

(เปลี่ยนทางจาก จักรพรรดิโทะบะ)

จักรพรรดิโทบะ (ญี่ปุ่น: 鳥羽天皇โรมาจิToba-tennō; 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1103 – 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1156) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 74[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แบบดั้งเดิม[2]

จักรพรรดิโทบะ
鳥羽天皇
จักรพรรดิญี่ปุ่น
ครองราชย์9 สิงหาคม ค.ศ. 1107 – 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1123
ราชาภิเษก15 มกราคม ค.ศ. 1108
ก่อนหน้าโฮริกาวะ
ถัดไปซูโตกุ
พระราชสมภพ24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1103
สวรรคต20 กรกฎาคม ค.ศ. 1156(1156-07-20) (53 ปี)
ฝังพระศพอันรากูจูอิง โนะ มิซาซางิ (เกียวโต)
คู่อภิเษก
พระราชบุตร
กับพระองค์อื่น ๆ...
พระสมัญญานาม
สึอิโง:
จักรพรรดิโทบะ (鳥羽院 หรือ 鳥羽天皇)
ราชสกุลราชวงศ์ญี่ปุ่น
พระราชบิดาจักรพรรดิโฮริกาวะ
พระราชมารดาฟูจิวาระ โนะ อิชิ [ja]

รัชสมัยของจักรพรรดิโทบะกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1107 ถึง 1123[3]

พระราชวงศ์

แก้

ก่อนเสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ โทบะมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ว่า เจ้าชายมูเนฮิโตะ (宗仁親王)[5]

จักรพรรดิโทบะเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิโฮริกาวะกับพระนางฟูจิวาระ โนะ อิชิ (藤原苡子)

จักรพรรดิโทบะมีจักรพรรดินี 3 พระองค์ พระราชโอรสและพระราชธิดา 14 พระองค์[6]

  • ชูงู : ฟูจิวาระ โนะ ทามาโกะ (藤原璋子) ภายหลังเป็น ไทเก็มมนอิง (待賢門院) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ คินซาเนะ
    • พระราชโอรสองค์แรก: เจ้าชายอากิฮิโตะ (顕仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิซูโตกุ
    • พระราชธิดาองค์แรก: เจ้าหญิงโยชิโกะ/คิชิ (禧子内親王; 1122–1133) – ไซอิงที่ศาลเจ้าคาโมะ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 2: เจ้าชายมิจิฮิโตะ (通仁親王; 1124–1129)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 3: เจ้าชายคิมิฮิโตะ (君仁親王; 1125–1143)
    • พระราชธิดาองค์ที่ 2: เจ้าหญิงมูเนโกะ (統子内親王) lภายหลังเป็น โจไซมนอิง (上西門院), – ไซอิงที่ศาลเจ้าคาโมะ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 4: เจ้าชายมาซาฮิโตะ (雅仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 5: เจ้าชายโมโตฮิโตะ? (本仁親王; 1129–1169) ภายหลังเป็น เจ้าชายนักบวชคากูโช (覚性法親王)
  • โคโง: ฟูจิวาระ โนะ นาริโกะ (藤原得子) ภายหลังเป็น บิฟูกูมนอิง (美福門院) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ นางาซาเนะ[7]
    • พระราชธิดา: เจ้าหญิงโทชิโกะ/เอชิ (叡子内親王; 1135–1148)
    • พระราชธิดา: เจ้าหญิงอากิโกะ (暲子内親王; 1137–1211) ภายหลังเป็น ฮาจิโจอิง (八条院)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 9: เจ้าชายนาริฮิโตะ (体仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโคโนเอะ
    • พระราชธิดา: เจ้าหญิงโยชิโกะ/ชูชิ (姝子内親王) ภายหลังเป็น ทากามัตสึอิง (高松院) ชูงู (จักรพรรดินี) ในจักรพรรดินิโจ)
  • นางกำนัลคิ อิเอโกะ (紀家子), มิโนะ-โนะ-สึโบเนะ (美濃局) ธิดาในคิ โนะ มิตสึกิโยะ
    • พระราชโอรสองค์ที่ 6: เจ้าชายนักบวชโดเก (道恵法親王; 1132–1168)
    • พระราชโอรสองค์ที่ 7: เจ้าชายนักกบวชคากูไก (覚快法親王; 1134–1181)
    • พระราชธิดา: อายะ โกเซ็ง (阿夜御前; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1195)
  • ซันโจ-โนะ-สึโบเนะ (三条局; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1138) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ อิเอมาซะ
    • พระราชธิดา: เจ้าหญิงเค็นชิ (妍子内親王; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1161) โยชิดะ ไซงู (เจ้าหญิงที่รับใช้ในศาลเจ้าอิเซะ)
  • คาซูงะ-โนะ-สึโบเนะ (春日局) ธิดาในโทกูไดจิ ซาเนโยชิ
    • พระราชธิดาองค์ที่ 7: เจ้าหญิงโชชิ/โนบูโกะ (頌子内親王; 1145–1208)
  • ฟูจิตสึโบะ-เนียวโงะ (藤壺女御) ธิดาในทาจิบานะ โทชิตสึนะ
    • ชิน-โยะ? (真誉) – ภิกษุณี
  • โทซะ-โนะ-สึโบเนะ (土佐局) ธิดาในมินาโมโตะ โนะ มิตสึยาซุ
  • ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ซาเนฮิระ
    • พระราชธิดา: เจ้าหญิงทากามัตสึ (高松宮) (ไม่มีความเกี่ยวข้องกับอาริซูงาวะ-โนะ-มิยะ ซึ่งเดิมมีนามว่าทากามัตสึ-โนะ-มิยะ)
  • ไม่ทราบ
    • เจ้าชายนักบวชไซจู (最忠法親王)
    • เจ้าชายโดกะ? (道果親王)

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโทบะ

แก้

เมื่อพระมารดาของพระองค์สิ้นพระชนม์ พระอัยกา (ปู่) ของพระองค์คืออดีตจักรพรรดิชิรากาวะดูแลและเลี้ยงดูพระองค์

  • 9 สิงหาคม ค.ศ. 1107 (ปีคาโจที่ 2, วันที่ 19 เดือน 7): ปีที่ 21 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโฮริกาวะ (堀河天皇21年) องค์จักรพรรดิสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อพระชนมายุเพียง 29 พรรษา; และสืบราชบัลลังก์โดยพระโอรสองค์เดียวของพระองค์ หลังจากนั้นไม่นาน เจ้าชายมูเนฮิโตะได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ[8]

ในช่วงปีแรก ๆ ของรัชสมัยของจักรพรรดิโทบะ พระราชอำนาจที่แท้จริงอยู่ที่พระอัยกาของพระองค์ ซึ่งก็คืออดีตจักรพรรดิชิรากาวะ ซึ่งว่าราชการในวัด

  • ค.ศ. 1110 (ปีเท็นเอที่ 3, เดือน 6): วัดมิอิเดระ (三井寺時) ถูกไฟไหม้เป็นครั้งที่สอง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1081[9]
  • 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1123 (ปีโฮอังที่ 4, วันที่ 28 เดือน 1): ปีที่ 17 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโทบะ (鳥羽天皇17年) จักรพรรดิโทบะถูกบังคับให้สละราชบัลลังก์โดยพระอัยกาของพระองค์คือ อดีตจักรพรรดิชิรากาวะ จักรพรรดิโทบะสละราชบัลลังก์ให้กับเจ้าชายอากิฮิโตะ พระโอรสองค์โปรดของพระองค์ ซึ่งจะกลายเป็นจักรพรรดิซูโตกุ จักรพรรดิโทบะมีพระชนมายุเพียง 20 พรรษาเมื่อพระองค์สละราชบัลลังก์ และครองราชบัลลังก์มาแล้ว 16 ปี ในเวลานี้ อดีตจักรพรรดิโทบะได้รับพระอิสริยยศเป็นไดโจเท็นโน (太上天皇) และสืบราชบัลลังก์โดยพระราชโอรสของพระองค์[10] The succession (senso) was received by his son.[11]
  • ค.ศ. 1123 (ปีโฮอังที่ 4, เดือน 2): จักรพรรดิซูโตกุขึ้นครองราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ[12]
  • ค.ศ. 1129 (ปีไดจิที่ 4): "อดีต"จักรพรรดิชิรากาวะสวรรคต และโทบะเริ่มปกครองในฐานะไดโจโฮโอ (太上法皇) อดีตจักรพรรดิโทบะยังคงครองพระราชอำนาจต่อไปตลอดรัชสมัยของจักรพรรดิทั้งสามซึ่งเป็นพระราชโอรสและผู้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากพระองค์ ได้แก่ จักรพรรดิซูโตกุ จักรพรรดิโคโนเอะ และจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ
  • ค.ศ. 1134 (ปีโชโชที่ 3): อดีตจักรพรรดิโทบะทำการแสวงบุญที่ศาลเจ้าคูมาโนะ โดยมีซาไดจิง ฮานาโซโนะ โนะ อาราฮิโตะ และอูไดจิง นากะ-โนะ-อิง มูเนตาดะ ร่วมเดินทาง[13]

นามรัชสมัย

แก้

ในช่วงที่จักรพรรดิโทบะทรงราชย์ มีการตั้งชื่อรัชสมัยอยู่หลายชื่อด้วยกัน คือ

  • คาโจ (ค.ศ. 1106–1108)
  • เท็นนิง (ค.ศ. 1108–1110)
  • เท็นเอ (ค.ศ. 1110–1113)
  • เอกีว (ค.ศ. 1113–1118)
  • เก็นเอ (ค.ศ. 1118–1120)
  • โฮอัง (ค.ศ. 1120–1124)

พระราชพงศาวลี

แก้

[14]

อ้างอิง

แก้
  1. Imperial Household Agency (Kunaichō): 鳥羽天皇 (74)
  2. Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, pp. 79.
  3. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 178–181; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 320–322; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp. 203–204.
  4. Brown, pp. 264. [Up until the time of Emperor Jomei, the personal names of the emperors (their imina) were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.]
  5. Titsingh, p. 178; Brown, p. 320; Varley, p. 203.
  6. Brown, p. 321.
  7. Kitagawa, Hiroshi. (1975). The Tale of the Heike, p. 240.
  8. Titsingh, p. 178; Brown, pp. 320; Varley, p. 44. [A distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.]
  9. Brown, p. 322.
  10. Brown, pp. 320–321; Titsingh, p.181.
  11. Brown, p. 322; Varley, p. 44.
  12. Titsingh, p. 182; Varley, p. 44.
  13. Brown, p. 322 n56.
  14. "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 21 October 2018.

ข้อมูล

แก้
ก่อนหน้า จักรพรรดิโทบะ ถัดไป
จักรพรรดิโฮะริกะวะ    
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น
(ค.ศ. 1107–1123)
  จักรพรรดิซุโตะกุ