จักรพรรดิโฮริกาวะ

จักรพรรดิโฮริกาวะ (ญี่ปุ่น: 堀河天皇โรมาจิHorikawa-tennō) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 73 แห่ง ราชวงศ์ญี่ปุ่น[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2]

จักรพรรดิโฮริกาวะ
จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น องค์ที่ 73
ครองราชย์
3 มกราคม [ตามปฎิทินเก่า: 26 เดือน 11] 1087 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 1107
พิธีราชาภิเษก16 มกราคม ค.ศ. 1087
ไดโจไซ16 ธันวาคม ค.ศ. 1087
รัชศกโอโตะกุ
คะโจ
รัชกาลก่อนหน้าชิรากาวะ
รัชกาลถัดไปโทบะ

พระราชสมภพ8 สิงหาคม ค.ศ. 1079
พระบรมนามาภิไธยทะรุฮิโตะ
โยะชิฮิโตะ
สวรรคต9 สิงหาคม ค.ศ. 1107
พระราชวังหลวงเฮอัง
สุสานหลวงโนะชิ โนะ เยนเคียวจิ
พิธีฉลองการเจริญวัย17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1089
พระราชบิดาจักรพรรดิชิรากาวะ
พระราชมารดาฟุจิวะระ โนะ เคนชิ
จักรพรรดินี (ชูงู)เจ้าหญิงโทะกุชิ
พระสนมฟุจิวะระ โนะ อิชิ
พระราชโอรส-ธิดาจักรพรรดิโทะบะ

พระราชประวัติ แก้

ก่อนจะขึ้นสืบ ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ ทรงมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายทะรุฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 善仁親王โรมาจิTaruhito-shinnō)

เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ใน จักรพรรดิชิระกะวะ โดยสูญเสียพระราชมารดาไปเมื่อพระชนมายุเพียง 5 พรรษา

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพของจักรพรรดิโฮะริกะวะ แก้

พระองค์เป็นรัชทายาทและขึ้นครองราชบัลลังก์ในวันเดียวกับที่พระราชบิดาสละราชบัลลังก์ รัชสมัยของพระองค์ถูกบดบังโดยการว่าราชการในวัดของอดีตจักรพรรดิชิรากาวะ

  • 3 มกราคม ค.ศ. 1087 (วันที่ 26 เดือน 11 ปี โอโตะกุ ที่ 3) : ปีที่ 14 ในรัชสมัยของจักรพรรดิชิรากาวะ (白河天皇十四年) องค์จักรพรรดิสละราชบัลลังก์และสืบราชบัลลังก์โดยพระราชโอรสของพระองค์ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิโฮริกาวะขึ้นครองราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ

คัมปากุในรัชสมัยของพระราชบิดาคือฟูจิวาระ โนะ โมโรซาเนะ กลายเป็นเซ็ชโช (ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) แต่อดีตจักรพรรดิชิรากาวะครองพระราชอำนาจอย่างแท้จริงในฐานะไดโจโฮโอ (太上法皇) จักรพรรดิโฮริกาวะเติมเต็มรัชสมัยของพระองค์ด้วยการศึกษา กวีนิพนธ์ และดนตรี

เมื่อจักรพรรดินีของพระองค์สิ้นพระชนม์ พระราชโอรสของพระองค์คือ เจ้าชายมุเนะฮิโตะ ซึ่งได้กลายเป็นรัชทายาท (และต่อมาได้กลายเป็นจักรพรรดิโทบะ) ถูกนำไปเลี้ยงดูโดยพระราชบิดาของจักรพรรดิโฮริกาวะ ซึ่งก็คืออดีตจักรพรรดิชิรากาวะ

  • ค.ศ. 1105 (เดือน 6 ปี โชจิ ที่ 2): เกิดหิมะสีแดงตกหนักทั่วญี่ปุ่น
  • 9 สิงหาคม ค.ศ. 1107 (วันที่ 19 เดือน 7 ปี กาโจ ที่ 2): จักรพรรดิโฮริกาวะสวรรคตอย่างกะทันหันเมื่อพระชนมายุเพียง 29 พรรษา

พงศาวลี แก้

แผนผัง แก้