จักรพรรดิโฮริกาวะ
จักรพรรดิโฮริกาวะ (ญี่ปุ่น: 堀河天皇; โรมาจิ: Horikawa-tennō; 8 สิงหาคม ค.ศ. 1079 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 1107) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 73[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แบบดั้งเดิม[2]
| |||||
---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 3 มกราคม ค.ศ. 1087 – 9 สิงหาคม ค.ศ. 1107 | ||||
ราชาภิเษก | 16 มกราคม ค.ศ. 1087 | ||||
ก่อนหน้า | ชิรากาวะ | ||||
ถัดไป | โทบะ | ||||
พระราชสมภพ | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1079 | ||||
สวรรคต | 9 สิงหาคม ค.ศ. 1107 | (28 ปี)||||
ฝังพระศพ | โนจิ โนะ เอ็นเกียว-จิ โนะ มิซาซางิ (後円教寺陵; เกียวโต) | ||||
คู่อภิเษก | โทกูชิ (สมรส 1093) | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น ๆ... |
| ||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิชิรากาวะ | ||||
พระราชมารดา | ฟูจิวาระ โนะ อิชิ |
รัชสมัยของโฮริกาวะอยู่ในช่วง ค.ศ. 1087 ถึง 1107[3]
พระราชประวัติ
แก้ก่อนจะขึ้นสืบราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ โฮริกาวะมีพระนามส่วนพระองค์ (อิมินะ)[4] ว่า เจ้าชายทารูฮิโตะ (ญี่ปุ่น: 善仁親王; โรมาจิ: Taruhito-shinnō)[5] หรือ เจ้าชายโยชิฮิโตะ[6]
โฮริกาวะเป็นพระราชโอรสในจักรพรรดิชิรากาวะกับฟูจิวาระ โนะ เค็นชิ (藤原賢子) ธิดาบุญธรรมในฟูจิวาระ โมโรซาเนะ (藤原師実)
พระมเหสีและพระราชโอรสธิดา
แก้- จักรพรรดินี (ชูงู): เจ้าหญิงโทกูชิ (篤子内親王) พระราชธิดาในจักรพรรดิโกะ-ซันโจ
- พระมเหสี (เนียวโงะ): ฟูจิวาระ โนะ อิชิ (藤原苡子; 1076-1103) ธิดาในฟูจิวาระ โนะ ซาเนซูเอะ
- เจ้าชายมูเนฮิโตะ (宗仁親王) ภายหลังเป็นจักรพรรดิโทบะ
- นางกำนัล (ไนชิ): เจ้าหญิงจินชิ (仁子女王; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1126) พระธิดาในเจ้าชายยาซูซูเกะ
- เจ้าหญองโซชิ (悰子内親王, 1099–1162)
- นางกำนัล (ไนชิ): ฟูจิวาระ มูเนโกะ (藤原宗子; สิ้นพระชนม์ ค.ศ. 1129) ธิดาในฟูจิวาระ ทากามูเนะ
- คังเงียว (寛暁; 1103–1159)
- นางกำนัล (ไนชิ): ธิดาในฟูจิวาระ โทกิตสึเนะ
- เจ้าชายนักบวชไซอุง (最雲法親王; 1105–1162) หัวหน้านักบวชนิกายเท็นได
- มารดาไม่ทราบนาม
- เจ้าหญิงคิชิ (喜子内親王)
- เจ้าหญิงไคชิ (懐子内親王)
ครองราชย์
แก้หลังกลายเป็นมกุฎราชกุมาร พระองค์ขึ้นครองราชย์หลังพระราชบิดาสละราชสมบัติในวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 1087 (ปีโอโตกุที่ 3)[7] ฟูจิวาระ โมโรซาเนะ คัมปากุของพระราชบิดา กลายเป็นผู้สำเร็จราชการ และรัชสมัยของพระองค์ถูกบดบังโดยการว่าราชการในวัดของอดีตจักรพรรดิชิรากาวะ โฮริกาวะทรงสนพระทันในด้านวิชาการ กวี และดนตรี
เมื่อจักรพรรดินี-พระมเหสีฟูจิวาระ โนะ อิชิ (藤原苡子) สวรรคตใน ค.ศ. 1103 เจ้าชายมูเนฮิโตะ พระราชโอรส ถูกนำไปเลี้ยงดูโดยจักรพรรดิชิรากาวะผู้สละราชสมบัติ ภายหลังพระราชโอรสขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโทบะ[8]
โฮริกาวะสวรรคตตอนพระชนมายุ 28 พรรษาในวันที่ 9 สิงหาคม ค..ศ 1107 (ปีคาโจที่ 2)[9]
รัชสมัย
แก้ปีในรัชสมัยของโฮริกาวะมีมากกว่าหนึ่งชื่อศักราช (เน็งโง)[10]
- โอโตกุ (1084–1087)
- คันจิ (1087–1094)
- คาโฮ (1094–1096)
- เอโจ (1096–1097)
- โจโตกุ (1097–1099)
- โควะ (1099–1104)
- โชจิ (1104–1106)
- คาโจ (1106–1108)
คูเงียว
แก้ในรัชสมัยโฮริกาวะ คูเงียวชั้นสูงที่อยู่ในราชสำนักมีดังนี้:
- เซ็ชโช/ไดดจไดจิง ฟูจิวาระ โมโรซาเนะ (1043–1101)[11]
- คัมปากุ/นิไดจิง ฟูจิวาระ โมโรมิจิ (1062–1099)[11]
- คัมปากุ/อูไดจิง/ไดนางง ฟูจิวาระ ทาดาซาเนะ[11][12]
พระราชพงศาวลี
แก้พงศาวลีของจักรพรรดิโฮริกาวะ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 堀河天皇 (73)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 78.
- ↑ Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 317–320; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. p. 202; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 171–178., p. 171, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Brown, pp. 264; prior to Emperor Jomei, the personal names of the emperors were very long and people did not generally use them. The number of characters in each name diminished after Jomei's reign.
- ↑ Varley, p. 202.
- ↑ Titsingh, p. 172; Brown, p. 317.
- ↑ Titsingh, p. 172; Brown, p. 317; Varley, p. 44.
- ↑ Titsingh, p. 178.
- ↑ Brown, p. 319; Titsingh, p. 178.
- ↑ Titsingh, p. 171-178; Brown, p. 319.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 Brown, p. 318.
- ↑ Titsingh, p. 176.
- ↑ "Genealogy". Reichsarchiv (ภาษาญี่ปุ่น). April 30, 2010. สืบค้นเมื่อ June 27, 2018.
ข้อมูล
แก้- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Mosher, Gouverneur. (1978). Kyoto: A Contemplative Guide. ISBN 9780804812948; OCLC 4589403
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842