คลอเฟนะมีน (อังกฤษ: Chlorphenamine) ซึ่งเป็นชื่อสากล หรือ คลอเฟนิรามีน (อังกฤษ: chlorpheniramine) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา (USAN) และเคยใช้ในประเทศอังกฤษ เป็นยาที่ขายในรูปแบบ chlorphenamine maleate เป็นสารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine รุ่นแรกที่ใช้ป้องกันอาการแพ้ เช่น เยื่อจมูกอักเสบและลมพิษ ผลระงับประสาทของมันค่อนข้างอ่อนเทียบกับสารต้านฮิสทามีนรุ่นแรกอื่น ๆ คลอเฟนะมีนเป็นสารต้านฮิสทามีนที่ใช้มากที่สุดในสัตวแพทย์สำหรับสัตว์เล็ก แม้จะไม่ได้อนุมัติให้ใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าหรือยาแก้วิตกกังวล (anxiolytic) คลอเฟนะมีนก็มีฤทธิ์เหล่านั้นด้วย[2][3]

คลอเฟนะมีน
ข้อมูลทางคลินิก
ชื่อทางการค้าPiriton, Chlorphen, Sulidine CP
AHFS/Drugs.comโมโนกราฟ
MedlinePlusa682543
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • AU: A
  • US: B (ไม่มีความเสี่ยงในสัตว์)
ช่องทางการรับยาทางปาก, IV, IM, SC
รหัส ATC
กฏหมาย
สถานะตามกฏหมาย
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์
ชีวประสิทธิผล25 ถึง 50%
การจับกับโปรตีน72%
การเปลี่ยนแปลงยาตับ (CYP2D6)
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ13.9–43.4 ชั่วโมง[1]
การขับออกไต
ตัวบ่งชี้
  • 3-(4-Chlorophenyl)-N,N-dimethyl-3-(pyridin-2-yl)-propan-1-amine
เลขทะเบียน CAS
PubChem CID
IUPHAR/BPS
DrugBank
ChemSpider
UNII
KEGG
ChEBI
ChEMBL
ECHA InfoCard100.004.596
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี
สูตรC16H19ClN2
มวลต่อโมล274.79 g·mol−1
แบบจำลอง 3D (JSmol)
การละลายในน้ำ0.55 g/100 mL, ของเหลว mg/mL (20 °C)
  • Clc1ccc(cc1)C(c2ncccc2)CCN(C)C
  • InChI=1S/C16H19ClN2/c1-19(2)12-10-15(16-5-3-4-11-18-16)13-6-8-14(17)9-7-13/h3-9,11,15H,10,12H2,1-2H3 checkY
  • Key:SOYKEARSMXGVTM-UHFFFAOYSA-N checkY
  7checkY (what is this?)  (verify)
สารานุกรมเภสัชกรรม

คลอเฟนะมีนเป็นส่วนของกลุ่มสารต้านฮิสทามีน ที่รวมเฟนิรามีน, สารอนุพันธ์แบบเฮโลเจน (halogenated) ของเฟนิรามีน, และยาอื่น ๆ รวมทั้ง fluorpheniramine, เดกซ์คลอเฟนิรามีน, บรอมเฟนิรามีน, เดกซ์บรอมเฟนิรามีน, deschlorpheniramine, ไตรโพรลิดีน, และ iodopheniramine สารต้านฮิสทามีนประเภท alkylamine แบบเฮโลเจนทั้งหมดรวมทั้งคลอเฟนะมีน มี optical isomerism เช่นกัน และคลอเฟนะมีนที่วางขายจะอยู่ในรูปแบบ chlorphenamine maleate แบบแรซิมิก เทียบกับเดกซ์คลอเฟนิรามีน ซึ่งเป็น dextrorotary stereoisomer

ฤทธิ์ต่อระบบเซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน แก้

นอกจากจะเป็นสารต้านตัวรับ histamine H1 receptor (HRH1) แล้ว ยังมีหลักฐานว่า ยายังมีฤทธิ์เป็น serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) อีกด้วย[4] และสารต้านฮิสทามีนที่คล้ายกันคือบรอมเฟนิรามีน เป็นเหตุให้ค้นพบยา zimelidine ซึ่งเป็นยากลุ่ม Selective serotonin re-uptake inhibitors (SSRI) หลักฐานทางคลินิกที่จำกัดแสดงว่า มันมีผลใกล้เคียงกับยาแก้ซึมเศร้าหลายอย่างในการยับยั้งการนำสารสื่อประสาท เซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟรินไปใช้ใหม่ (reuptake)[5]

งานศึกษาทำในหนูพันธุ์ผสม Fischer 344/Brown Norway แสดงว่า การฉีดยาเข้าในช่องสมอง (intraventricular) ลดพฤติกรรมเกี่ยวกับความกลัวและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการหาทางในวงกต และมีข้อสังเกตอีกอย่างด้วยว่า การให้ยาในระยะยาวช่วยลดความบกพร่องของการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับความสูงอายุ[6]

การใช้ยาร่วม แก้

คลอเฟนะมีนมักใช้ร่วมกับ phenylpropanolamine เป็นยาแก้ภูมิแพ้ที่มีทั้งคุณสมบัติต้านฮิสตามีนและลดการคัดจมูก แต่สหรัฐอเมริกาไม่อนุญาตให้ขาย phenylpropanolamine หลังจากพบว่า มันเพิ่มความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในหญิงอายุน้อย ส่วนคลอเฟนะมีนอย่างเดียวไม่มีความเสี่ยงเช่นนี้ แต่ในปัจจุบันได้มีการนำคลอเฟนะมีนไปใช้ร่วมกับ Phenylephrine แทน Phenylpropanolamine ซึ่งมีความปลอดภัยกว่าและผลค้างเคียงน้อยกว่า

คลอเฟนะมีนรวมกับยาง่วงซึมไฮโดรโคโดนที่ขายในยี่ห้อ Tussionex สามารถใช้แก้ไอและการหายใจไม่สะดวกส่วนบนที่สัมพันธ์กับภูมิแพ้หรือหวัดในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 6 ขวบขึ้น[7] โดยผลิตเป็นยาค่อย ๆ ออกฤทธิ์ ซึ่งสามารถทานทุก 12 ชม. ได้ เทียบกับที่ต้องทานทุก 4-6 ชม. สำหรับยาแก้ไอผสมยาง่วงซึมทั่วไป ยาน้ำเชื่อมผสมคลอเฟนะมีน/ไดไฮโดรโคดีอีนก็มีขายด้วย

สารต้านฮิสทามีนช่วยในกรณีที่ภูมิแพ้หรือหวัดเป็นเหตุให้ไอ มันยังเป็นตัวเพิ่มฤทธิ์ของยากลุ่มโอปิออยด์ ซึ่งช่วยเพิ่มฤทธิ์แก้ไอ แก้ปวด และฤทธิ์อื่น ๆ ของยาที่ให้ร่วมด้วย

ในเขตต่าง ๆ ของโลก ยาแก้หวัดรวมกับยาแก้ไอที่มีทั้งโคดีอีน (ยากลุ่มโอปิออยด์) และคลอเฟนะมีน ก็มีวางขายด้วย ส่วนยา Coricidin เป็นยารวมคลอเฟนะมีนกับยาแก้ไอ dextromethorphan

ผลที่ไม่ต้องการ แก้

ผลที่ไม่ต้องการของยารวมทั้งอาการง่วงนอน เวียนหัว สับสน ท้องผูก วิตกกังวล คลื่นไส้ ตามัว อยู่ไม่เป็นสุข ร่างกายทำงานไม่ประสาน คอแห้ง หายใจไม่เต็ม ประสาทหลอน หงุดหงิด ความจำหรือสมาธิไม่ดี เสียงในหู และปัสสาวะไม่ออก งานศึกษาขนาดใหญ่สัมพันธ์การเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมแบบอื่น ๆ กับการใช้ยาคลอเฟนะมีนและยาต้านฮิสตามีนรุ่นแรกอื่น ๆ เนื่องจากมีฤทธิ์ anticholinergic[8]

 
การสังเคราะห์คลอเฟนะมีนแบบแรก จดสิทธิบัตรในสหรัฐปี 2494 (Papa, D; Schwenk, E; Sperber, N)

การสังเคราะห์ แก้

มีวิธีการสังเคราะห์ทางอินทรีย์ที่จดสิทธิบัตรของยาหลายวิธี ยกตัวอย่างเช่น 4-chlorophenylacetonitrile จะทำปฏิกิริยากับ 2-chloropyridine รวมกับ sodium amide แล้วกลายเป็น 4-chlorophenyl(2-pyridyl)acetonitrile และเมื่อเพิ่มกลุ่ม alkyle (alkylation) ต่อสารที่เป็นผลนี้ด้วย 2-dimethylaminoethylchloride เมื่อมี sodium amide ก็จะได้ γ-(4-chlorphenyl)-γ-cyano-N,N-dimethyl-2-pyridinepropanamine ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการ hydrolysis และ decarboxylation ก็จะนำไปสู่คลอเฟนะมีนตามต้องการ

 
การสังเคราะห์คลอเฟนะมีนแบบที่สอง จดสิทธิบัตรในสหรัฐปี 2497 (Papa, D; Schwenk, E; Sperber, N)

วิธีสังเคราะห์ที่สองเริ่มจาก pyridine ซึ่งผ่านการเพิ่มสาร alkyle (alkylation) ด้วย 4-chlorophenylacetonitrile[9] กลายเป็น 2-(4-chlorobenzyl)pyridine แล้วเพิ่มกลุ่ม alkyle ด้วย 2-dimethylaminoethylchloride ร่วมกับโซเดียม ก็จะมีผลเป็นคลอเฟนะมีน

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ pmid7648771
  2. Carlsson, Arvid; Lindqvist, Margit. "Central and peripheral monoaminergic membrane-pump blockade by some addictive analgesics and antihistamines". Journal of Pharmacy and Pharmacology. Journal of Pharmacy and Pharmacology. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01.
  3. Gruetter, CA; Lemke, SM; Anestis, DK; Szarek, JL; Valentovic, MA (July 1992). "Potentiation of 5-hydroxytryptamine-induced contraction in rat aorta by chlorpheniramine, citalopram and fluoxetine". Eur J Pharmacol. Department of Pharmacology, Marshall University School of Medicine, Huntington, WV. 217: 109–18. doi:10.1016/0014-2999(92)90827-q. PMID 1358631. สืบค้นเมื่อ 2013-12-01.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. Carlsson, A.; Linqvist, M. (1969). "Central and peripheral monoaminergic membrane-pump blockade by some addictive analgesics and antihistamines". Journal of Pharmacy and Pharmacology. 21 (7): 460–464. doi:10.1111/j.2042-7158.1969.tb08287.x. PMID 4390069.
  5. Hellbom, E. (2006). "Chlorpheniramine, selective serotonin-reuptake inhibitors (SSRIs) and over-the-counter (OTC) treatment". Medical Hypotheses. 66 (4): 689–690. doi:10.1016/j.mehy.2005.12.006. PMID 16413139.
  6. Hasenöhrl, R. U.; Weth, K.; Huston, J. P. (1999). "Intraventricular infusion of the histamine H1 receptor antagonist chlorpheniramine improves maze performance and has anxiolytic-like effects in aged hybrid Fischer 344×Brown Norway rats". Experimental Brain Research. 128 (4): 435–440. doi:10.1007/s002210050866. PMID 10541737.
  7. "Tussionex® Pennkinetic® (hydrocodone polistirex and chlorpheniramine polistirex) Extended-Release Suspension" (PDF). UCB. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 3, 2014. สืบค้นเมื่อ 2017-02-06.
  8. Gray, Shelly L.; Anderson, Melissa L.; Dublin, Sascha; Hanlon, Joseph T.; Hubbard, Rebecca; Walker, Rod; Yu, Onchee; Crane, Paul K.; Larson, Eric B. (2015-01-26). "Cumulative Use of Strong Anticholinergics and Incident Dementia: A Prospective Cohort Study". JAMA Intern. Med. 175 (3): 401–7. doi:10.1001/jamainternmed.2014.7663. PMC 4358759. PMID 25621434. สืบค้นเมื่อ 2015-01-27.
  9. Djerassi, Carl (1948). "Brominations with Pyridine Hydrobromide Perbromide". Journal of the American Chemical Society. 70 (1): 417–418. doi:10.1021/ja01181a508.