ลายวงกต

(เปลี่ยนทางจาก วงกต)

ลายวงกต หรือ ลาบรินธ์ (อังกฤษ: Labyrinth) ในตำนานเทพเจ้ากรีก “Labyrinth” (กรีก: λαβύρινθος, labyrinthos) คือโครงสร้างอันซับซ้อนที่ออกแบบและสร้างโดยเดดาลัสสำหรับกษัตริย์ไมนอสแห่งครีตที่คนอสซอส โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้เป็นกับดักมิโนทอร์ที่เป็นสิ่งที่มีร่างเป็นมนุษย์หัวเป็นวัว ผู้ในที่สุดก็ถูกสังหารโดยวีรบุรุษชาวเอเธนส์เธเซียส (Theseus) เดดาลัสสร้างวงกตอย่างวกวนจนเมื่อสร้างเสร็จตนเองก็แทบจะหาทางออกมาไม่ได้[1] อารีอัดเน (Ariadne) ให้ความช่วยเหลือเธเซียสให้หาทางออกจากได้โดยการมอบม้วนด้ายให้ม้วนหนึ่งให้วางตามเส้นทางเพื่อที่จะเดินตามรอยด้ายกลับออกมาจากวงกตได้

“วงกตคลาสสิก” เจ็ดชั้น
เขาวงกตครีตทำด้วย 2500 TeaLights การเผาไหม้ในศูนย์คริสเตียนสมาธิและจิตวิญญาณของสังฆมณฑลบูร์กที่โบสถ์ Holy Cross ใน แฟรงก์เฟิร์ต-Bornheim
ลายวงกตยุคสำริดแอตแลนติก
ลายวงกตในภาพวาดในถ้ำในอิตาลี
วงกตบนพื้นที่มหาวิหารอาเมียงส์ในฝรั่งเศส
เหรียญ “ลายวงกต” จากคนอสซอส

ในภาษาพูดของภาษาอังกฤษ “Labyrinth” มีความหมายพ้องกับคำว่า “Maze” (วงกตปริศนา) แต่นักวิชาการร่วมสมัยให้ความแตกต่างว่า “วงกตปริศนา” หมายถึงลวดลายวกวนที่ซับซ้อนที่มีทางเข้าทางออกได้หลายทาง แต่ “ลายวงกต” จะมีทางเข้าทางออกทางเดียว และทางจะไม่แตกออกไปเป็นทางย่อยเช่นที่เกิดขึ้นในวงกตปริศนาที่นำ ที่จะนำเข้าไปยังศูนย์กลาง ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่าลายวงกตจะเป็นเส้นทางที่ไม่กำกวมที่นำเข้าไปยังศูนย์กลางของวงกตและนำออกมา และไม่มีวัตถุประสงค์ที่ทำให้ยากต่อการเดินตามเส้นทางเข้าไปและออกมา[2]

แม้ว่าเหรียญครีตยุคแรกบางเหรียญจะเป็นลายวกวนซ้อน (multicursal patterns)[3] แต่ลายวกวนเดี่ยวเจ็ดชั้นแบบคลาสสิกก็กลายมาเป็นลวดลายที่ใช้บนเหรียญส่วนใหญ่มาตั้งแต่ราว 430 ปีก่อนคริสต์ศักราช[4] และใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกว่าเป็นวงกต – แม้ว่าในการบรรยายจะกล่าวว่ามิโนทอร์ติดกับอยู่ในวงกตปริศนาก็ตาม[5] แม้เมื่อลายวงกตพัฒนาซับซ้อนขึ้น แต่ลายวงกตตั้งแต่สมัยโรมันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา แต่ก็เป็นลายวกวนทางเดียว (unicursal) “วงกตปริศนา” เพิ่งเริ่มมาเป็นที่นิยมกันเมื่อใช้ในการออกแบบสวนวงกตที่นิยมกันในสมัยฟื้นฟูศิลปะวิทยา

ลายวงกตอาจจะปรากฏเป็นลวดลายบนเครื่องปั้นดินเผา, ตะกร้า, ลายสักบนร่างกาย, ลายบนผนังหรือกำแพงของคริสต์ศาสนสถาน โรมันใช้ลายวงกตในการตกแต่งบนผนัง, พื้นด้วยโมเสก ลายวงกตที่สร้างบนพื้นบางครั้งก็จะมีขนาดใหญ่พอที่จะใช้ในการเดินตามเส้นเข้าออกได้สำหรับการเดินกรรมฐาน

วงกตโบราณ

แก้

ใน “สารานุกรมธรรมชาติวิทยา” (Naturalis Historia) พลินิกล่าวถึงวงกตสี่ประเภท: วงกตครีต, วงกตอียิปต์, วงกตเล็มนอส และ วงกตอิตาลี

“Labyrinth” เป็นคำที่มาก่อนภาษากรีก (ภาษาพาลาสเจียน) ที่นำเข้ามาใช้ในภาษากรีกคลาสสิกที่อาจจะมีความสัมพันธ์กับคำจากภาษาลิเดียว่า ว่า “Labrys” (“ขวานลาบริส” หรือขวานสองคมซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจซึ่งตรงกับทฤษฎีที่ว่าวงกตเดิมเป็นพระราชวังมิโนอันบนเกาะครีต และ แปลว่า “พระราชวังแห่งขวานสองคม”) สมาสกับคำว่า “-inthos” ที่แปลว่า “สถานที่” (เช่น “โครินธ์”) กลุ่มพระราชวังแห่งคนอสซอสบนเกาะครีตมักจะได้รับการกล่าวถึง แต่ลานเต้นรำที่เป็นลวดลายวงกตจริงยังไม่พบ แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ผู้ที่ไปเยี่ยมชมก็จะได้รับการชี้ให้ดูสิ่งที่กล่าวกันว่าเป็นวงกตแห่งคนอสซอส (ฟิลอสทราทอส, Apollonii Tyanei iv.34).[6]

ตามตำนานเทพเจ้ากรีกมิได้กล่าวถึงสตรีที่พำนักอยู่ในวงกตในครีต แต่ศิลาที่จารึกเป็นอักษรไลเนียร์บีที่พบที่คนอสซอสบันทึกถึงของขวัญ “แด่ทวยเทพถวายน้ำผึ้ง; แต่เทพีแห่งวงกตถวายน้ำผึ้ง” ซึ่งก็หมายความว่าเทพทั้งหมดรวมกันแล้วก็ได้รับน้ำผึ้งเท่ากับเทพีแห่งแห่งวงกตเพียงองค์เดียว นักเทพวิทยาเคโรลี เคอเรนยี (Károly Kerényi) ตั้งข้อสังเกตว่า “เทพีแห่งวงกตน้ำผึ้งคงจะต้องเป็นเทพผู้มีความสำคัญเป็นอันมาก”[7]

วงกตของกรีกเป็นลวดลายวกวนอันไม่มีที่สิ้นสุดของลวดลายที่กันในปัจจุบันว่า “ลายกุญแจกรีก[8] (Meander) ในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช เหรียญกษาปณ์จากคนอสซอสก็ยังคงใช้ลวดลายวงกตบนเหรียญ ลวดลายวงกตที่นิยมใช้ตั้งแต่ช่วงเวลานี้เป็นลายวงกตเจ็ดชั้นที่กันว่า “วงกตคลาสสิก”

ต่อมาคำว่า “Labyrinth” นำมาใช้ในการเรียกวงกตวกวนทางเดี่ยวไม่ว่าจะเป็นทรงกลมหรือทรงสี่เหลี่ยม เมื่อถึงศูนย์กลางทางที่เส้นทางนำเข้าไปแล้วก็จะเป็นเส้นทางที่นำออกมาจากวงอีก ในบทสนทนาโสกราตีสที่เพลโตเขียนใน “บทสนทนายูธีเดมัส” (Euthydemus) โสกราตีส บรรยายการโต้แย้งตรรกศาสตร์เส้นวงกตว่า:

และแล้วก็ดูเหมือนว่าเราตกอยู่ภายในวงกต: เราคิดว่าเราถึงจุดจบ, แต่เส้นทางของเราหันโค้งและเราพบว่าตนเองกลับไปตั้งต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่, และไกลจากจุดที่เราพยายามหาหนทางที่จะไปให้ถึงตั้งแต่แรก ... ฉะนั้นความคิดเกี่ยวกับวงกตในปัจจุบันว่าเป็นสถานที่ที่เราสามารถหลงทางได้ก็ตัองพักเอาไว้ทางหนึ่ง [วงกต]คือเส้นทางที่ทำให้สับสน, ตามได้ยากโดยไม่มีสายด้าย, แต่ถ้า[ผู้เดินทาง]ไม่เสียทีไปเสียก่อนกลางทาง, ก็จะแน่นอนว่าแม้ว่าจะเป็นเส้นทางวกวนเวียน, ก็จะนำไปสู่จุดที่เริ่มต้นได้[9]

วงกตครีตที่คนอสซอส

แก้

วงกตครีตที่คนอสซอสเป็นสิ่งที่สานพันอย่างลึกล้ำในตำนาน แต่ก็ปรากฏอย่างแจ่มแจ้งในหลักฐานทางโบราณคดีในรูปแบบของวงกตยุคสัมริดขนาดใหญ่ที่คนอสซอส การสร้างวงกตเป็นลานเต้นรำและสำหรับอารีอัดเนไม่ไช่สำหรับไมนอสได้รับการบรรยายโดยโฮเมอร์ใน “อีเลียด” xviii.590–593 ในรูปของลวดลายที่เฮเฟียทัสจารึกบนเกราะของอคิลลีส ที่เป็นภาพของลานเต้นรำ “เช่นเดียวกับลานที่เดดาลัสออกแบบในเมืองอันกว้างใหญ่แห่งคนอสซอสสำหรับอารีอัดเน...” และบรรยายต่อไปถึงการเต้นรำวงกตบนเกราะว่าเมื่อ “หนุ่มสาวเมื่อถึงวัยสมรสจะเต้นรำกันบนลานนี้โดยการจับข้อมือต่อๆ กัน...เต้นเวียนประสานจังหวะกับเท้าเหมือนกับเต้นรอบแป้นหมุนสำหรับปั้นหม้อ...และจะเต้นจนกระทั่งแถวต่างๆ ที่เต้นเข้าไปหากันและกัน”

วงกตอียิปต์ของเฮโรโดทัส

แก้

วงกตอาจจะใช้กับลักษณะสิ่งที่ซับซ้อนที่คล้ายกับโครงสร้างของวงกตปริศนาได้ เฮโรโดทัสใน “ประวัติศาสตร์” (Histories) เล่มสองบรรยายกลุ่มสิ่งก่อสร้างวงกตในอียิปต์ไว้ว่า “ตั้งอยู่ใกล้กับเมืองที่เรียกว่าโครโคดิโบโพลิส (เมืองจระเข้)” ที่เฮโรโดทัสมีความเห็นว่ามีความซับซ้อนยิ่งไปกว่าการสร้างพีระมิดเสียอีก:

[วงกต]มีลานคลุมสิบสองลาน — หกลานเป็นแถวที่หันไปทางเหนือ, หกลานไปทางใต้ — ประตูของลานหนึ่งตั้งตรงกับประตูของลานถัดไป ภายในเป็นสิ่งก่อสร้างสองชั้นที่มีห้องหับสามพันห้อง, ครึ่งหนึ่งอยู่ใต้ดิน, และอีกครึ่งหนึ่งตั้งอยู่เหนือชั้นใต้ดินโดยตรง ข้าพเจ้าถูกนำเดินทะลุไปตามห้องชั้นบน, ฉะนั้นสิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวถึงเป็นสิ่งที่ได้ทำการสังเกตด้วยตนเอง, แต่สำหรับห้องใต้ดินนั้นข้าพเจ้าบรรยายได้แต่จากรายงานเพราะเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลชาวอียิปต์ไม่ยอมอนุญาตให้ข้าพเจ้าได้เข้าชม, เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการบรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงสร้างวงกต, และเป็นที่เก็บศพของจระเข้อันศักดิ์สิทธิ์ แต่ห้องชั้นบนข้าพเจ้าได้มีโอกาสเห็นด้วยตนเองจริง, และเป็นการยากที่จะเชื่อว่าเป็นงานที่สร้างด้วยฝีมือมนุษย์; ทางผ่านอันละเอียดและน่าตลึงงันจากห้องหนึ่งไปยังอีกห้องหนึ่ง และจากลานหนึ่งไปยังอีกลานหนึ่งเป็นทางที่ไม่จบไม่สิ้นอันน่าทึ่งสำหรับข้าพเจ้า เมื่อเราผ่านจากลานเข้าไปยังห้อง, จากห้องเข้าไปยังระเบียง, จากระเบียงเข้าไปยังห้องอีก และ ต่อไปเรื่อยๆ ยังลานอีก ผนังที่ผ่านก็เต็มไปด้วยรูปสลัก, และแต่ละลานก็สร้างอย่างวิจิตรด้วยหินอ่อนขาวเรียงรายล้อมรอบด้วยแนวเสา[10]

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการขุดพบวงกตที่ยังคงเหลืออยู่ที่ยาว 11.5 ไมล์ตั้งแต่พีระมิดฮาวาราในจังหวัดไฟยุม[11] วงกตคงจะได้รับการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในสมัยต่อมา ภายในก็มีพระนามของพระมหากษัตริย์หลายพระองค์ พระนามที่เก่าที่สุดเป็นของฟาโรห์อเมเนมฮัตที่ 3[11] “เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวว่าไม่แต่จะเป็นงานชิ้นใหญ่อันสำคัญ แต่ยังเป็นงานที่เป็นอนุสรณ์แก่พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ของอียิปต์ด้วย”[11]

ในปี ค.ศ. 1898 “พจนานุกรมฮาร์เพอร์คลาสสิกโบราณ” (Harpers Dictionary of Classical Antiquities) บรรยายวงกตอียิปต์ว่าเป็น “ศาสนสถานที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาศาสนสถานต่างๆ ในอียิปต์, ที่เรียกกันว่า “วงกต”, ซึ่งยังคงเหลือแต่ฐานที่ได้การอนุรักษ์อยู่”[12]

วงกตเล็มนอสของพลินิ

แก้

หนังสือ “สารานุกรมธรรมชาติวิทยา” (Naturalis Historia) (36.90) กล่าวถึงประติมากรกรีกสมิลิสว่าเป็นผู้มีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกันกับเดดาลัส และ กับสถาปนิกและประติมากรรอยคอส (Rhoikos) และ ธีโอโดรอส (Theodoros) สองคนที่กล่าวกันว่าเป็นผู้สร้างวงกตเล็มนอส (Lemnian labyrinth) ซึ่งแอนดรูว์ สจวต[13] กล่าวว่าเป็น “สาเหตุของความเข้าใจผิดของที่ตั้งของศาสนสถานเซเมียน en limnais (ในเชิงเลน)”

วงกตอิตาลีของพลินิ

แก้

ตามบทเขียนของพลินิ ที่บรรจุศพของขุนพบอีทรัสคันลาร์ส พอร์เซนาประกอบด้วยวงกตปริศนาใต้ดิน คำบรรยายของพลินิของส่วนที่เข้าไปได้ของที่บรรจุศพเป็นที่ที่หาทางเข้าไม่ได้ พลินิดูเหมือนจะไม่ได้ตรวจสอบโครงสร้างด้วยตนเอง แต่บรรยายจากบทเขียนของนักประวัติศาสตร์โรมันมาร์คัส เทเรนเชียส วาร์โร

วงกตโบราณนอกยุโรป

แก้
 
งานแกะสลักเป็นภาพนักรบ Abhimanyu เข้า chakravyuhaHoysaleswara temple ที่ Halebidu ในอินเดีย

ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่มีวงกตกรีก ลวดลายวงกตก็ปรากฏในวัฒนธรรมของกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกันในสหรัฐอเมริกา, ในวงกตของโทโฮโน อูแดมที่เป็นลวดลายของ “ลิตอย” (I'itoi) หรือ “คนในวงกต” วงกตของโทโฮโน อูแดมมีลักษณะสองอย่างที่แตกต่างจากวงกตกรีก ตรงที่เป็นลายที่กระจายออกจากศูนย์กลางเป็นลักษณะรัศมี และทางเข้าจะอยู่ตอนบน ซึ่งของกรีกจะอยู่ตอนล่าง

ลายสลักหิน (Petroglyph) จากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ปรากฏตามริมฝั่งแม่น้ำที่กัวก็มีลวดลายที่สร้างมาตั้งแต่ราว 2500 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวอย่างอื่นที่พบก็ได้แก่ศิลปะในถ้ำทางตอนเหนือของอินเดีย และเพิงหินในบริเวณเทือกเขานิลคีรีที่ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่นอนว่าสร้างขึ้นเมื่อใด วงกตสมัยแรกในอินเดียมีลักษณะเดียวกับ “วงกตคลาสสิก” บางวงกตก็ได้รับการบรรยายว่าเป็นผังสำหรับป้อม หรือ เมือง[1] เก็บถาวร 2009-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ปัทมยุทธ วงกตปรากฏในงานบันทึกลายลักษณ์อักษรและในวัชรยานตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ที่มักจะเรียกว่า “จักรยุทธ” (Chakravyuha) ที่หมายถึงการจัดกองทัพให้ฝ่ายศัตรูไม่สามารถฝ่าเข้ามาได้ในมหากาพย์มหาภารตะ ลงกาซึ่งเป็นเมืองในรามเกียรติ์ก็ได้รับการบรรยายว่ามีลักษณะเป็นวงกตในฉบับที่แปลในปี ค.ศ. 1910 ใน “อินเดีย” โดยอบู เรย์ฮัน บิรูนี[14]

นอกจากนั้นที่หมู่เกาะโซโลเวทสกีในทะเลขาวก็มีวงกตหินกว่า 30 วงที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ ที่เด่นที่สุดคือวงกตหินบนเกาะบอลชอยซายัทสกี ซึ่งเป็นกลุ่มวงกตสิบสามสิบสี่วงกตในบริเวณ .4 ตารางกิโลเมตรบนเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่ง ที่เชื่อกันว่ามีอายุเก่าแก่ราว 2,000 ถึง 3,000 ปีมาแล้ว[15]

วงกตเป็นลวดลาย

แก้

ในสมัยโบราณวงกตที่ไม่ซับซ้อนเท่าใดนักก็เริ่มเป็นที่ใช้กันมาตั้งแต่ยุคกลาง พื้นโมเสกของโรมันก็จะใช้เส้นวกวนง่ายเป็นลวดลายริมขอบ ที่มีลักษณะเป็นเหลี่ยมแต่ก็ยังมองเห็นได้ว่ามาจากลายวงกต และกลางภาพก็มักจะเป็นภาพของมิโนทอร์ ลวดลายของโรมันค่อยพัฒนาซับซ้อนขึ้นจนกลายเป็นสี่ชั้นที่มาเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นทรงวงกตยุคกลาง วงกตยังคงมีความเกี่ยวพันกับความตายและการหวนกลับมาอย่างมีชัย ที่ ฮาดรูเมทัมในแอฟริกาเหนือ (ปัจจุบัน Sousse) ที่บรรจุศพของครอบครัวโรมันมีพื้นเป็นวงกตสี่ชั้นโดยมีมิโนทอร์ที่กำลังจะสิ้นใจอยู่กลางภาพ ที่มีคำจารึกว่า “HICINCLUSUS.VITAMPERDIT” หรือ “ถูกจำขังอยู่ที่นี่, มิโนทอร์สิ้นชีพ”(Kerenyi, fig.31).

วงกตของยุคกลางและวงกตปริศนา

แก้
 
วงกตที่แอบบีแทร็พพิสต์, วอลโลเนีย, เบลเยียม

การออกแบบวงกตของยุคกลางมารุ่งเรืองที่สุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 13 เมื่อมีการสร้างวงกตขนาดใหญ่บนพื้นมหาวิหารแบบกอธิคโดยเฉพาะที่มหาวิหารโนเทรอดามแห่งชาร์ทร์, มหาวิหารโนเทรอดามแห่งแรงส์ และ มหาวิหารโนเทรอดามแห่งอาเมียงส์ ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส และที่มหาวิหารเซียนาในทัสกานีในอิตาลี วงกตเหล่านี้อเดิมอาจจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์นัยยะของกรุงเยรูซาเลม ผู้ทำการสักการะก็มักจะเดินสวดมนต์เวียนตามทางบนพื้นวงกต[16] แต่ก็ไม่มีหลักฐานสนับสนุนสมมุติฐานนี้[17]

วงกตบนพื้นมหาวิหารเชื่อกันว่าเป็นที่มาของการออกแบบวงกตหญ้า (Turf maze) ในอังกฤษเช่น “The Old Maze” ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 40 ฟุตที่วิง, รัทแลนด์ที่เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ยุคกลาง หรือวงกตหญ้าจูเลียนส์เบาเวอร์ ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 43 ฟุตที่อาร์เธอร์ มีกล่าวถึงในหนังสือเกี่ยวกับลิงคอล์นเชอร์ว่าสร้างโดยนักบวชในคริสต์ศตวรรษที่ 12 แต่ใน “Lincolnshire Directory of 1872” ของไวท์กล่าวว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยโรมันสำหรับเป็นส่วนหนึ่งของการเล่นเกม

ในช่วงเวลาเดียวกันนั้นก็ได้มีการสร้างวงกตราว 500 วงหรือกว่านั้นที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาในสแกนดิเนเวีย วงกตเหล่านี้มักจะสร้างกันตามริมฝั่งทะเลโดยการวางหินเป็นลวดลายแบบวงกตคลาสสิกง่ายๆ และมักจะมีชื่อต่างๆ ที่แปลแล้วออกมาเป็น “วงกตเมืองทรอย” (Troy Town) ที่เชื่อกันว่าเป็นวงกตที่สร้างโดยหมู่บ้านชาวประมง เพื่อดักโทรลล์หรือลมในขดวงกตเพื่อให้การเดินทางไปหาปลาปลอดภัย นอกจากนั้นก็ยังมีวงกตที่พบที่หมู่เกาะซิลลีย์แต่ก็ไม่วงใดที่เก่าเท่ากับที่พบที่สแกนดิเนเวีย

การใช้หรือการสร้างวงกตก็อาจจะมีลักษณะหรือใช้วัสดุหลายอย่างที่รวมทั้งลายสลักหิน, วงกตคลาสสิก, วงกตยุคกลาง, ทางเท้า, หญ้า และ ตะกร้า และปรากฏในบริเวณต่างๆ ทั่วโลกตั้งแต่ในทวีปอเมริกาไปจนถึงเอเชีย

วงกตสมัยใหม่

แก้
 
วงกตที่เซนต์แลมแบร์ทัสที่มิงโกลสไฮม์ในเยอรมนี
 
วงกตบนพื้นภายในมหาวิหารเกรซที่ซานฟรานซิสโก

ในช่วงปีที่ผ่านมาเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้มีการรื้อฟื้นความนิยมกันในสัญลักษณ์วงกตกันขึ้นมาอีก ที่เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสิ่งก่อสร้างโดยเฉพาะที่วิลเลนพาร์คที่มิลตันคีนสในสหราชอาณาจักร, มหาวิหารเกรซที่ซานฟรานซิสโก หรือ “Labyrinth in Shed 16” ที่ มอนทรีออล และ จตุรัสทรินิตีในโทรอนโตในประเทศแคนาดา

หรือเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างวิดีโอเกมเป็นจำนวนมากที่ใช้วงกต และวงกตปริศนาเป็นหัวใจของเกม

นักเขียนชาวอาร์เจนตินาฮอเฮ ลุยส์ บอร์เจสหลงมนต์เสนห์ของวงกตและใช้ความคิดนี้หลายครั้งในการเขียนเรื่องสั้นหลายเรื่อง การใชวงกตของบอร์เจสเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักเขียนผู้อื่นเช่นอุมแบร์โต เอโคใน “The Name of the Rose”, มาร์ค ซี. แดเนียลลิวสกี ใน “House of Leaves” หรือในหนังสือแฟนตาซี “The Chronicles of Amber” โดย โรเจอร์ เซลาซนี ที่ใช้วงกตชื่อ “the Pattern” ที่ว่าถ้าผู้ใดได้เดินเข้าไปแล้วก็มีอำนาจที่จะเคลื่อนระหว่างโลกสองโลกได้ หรือในภาพยนตร์อาวองการ์ดที่ใช้จอหลายจอในเรื่อง “In the Labyrinth” นักเขียนชาวออสเตรเลียซารา ดักกลาสใช้ความคิดเกี่ยวกับวงกตในหนังสือชุด The Troy Game ที่วงกตที่สร้างในครีตเป็นวงกตหนึ่งของโลกยุคโบราณที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งของพลังอำนาจทางเวทมนตร์

ลายวงกตใช้ในงานวิจิตรศิลป์ร่วมสมัยเช่นในงาน “Dam and Ocean” โดยปิเอต์ มงดริอง (ค.ศ. 1915), “วงกต” โดย โคอัน มีโร (ค.ศ. 1923), “Minotauromachia” โดยปาโบล ปีกัสโซ (ค.ศ. 1935), “Relativity” โดย เมาริทส์ คอร์เนเลียส เอสเชอร์ (ค.ศ. 1953), “วงกต” โดย ฟรีเดนส์ไรค์ ฮุนเดอร์วาสเซอร์ (ค.ศ. 1957), “Logological Cabinet” โดย ฌอง ดูบูเฟต์ (ค.ศ. 1970), “Connemara” โดย ริชาร์ด ลอง (ค.ศ. 1971), “Earth Maze” โดย โจ ทิลสัน (ค.ศ. 1975), “Chain Link Maze” โดย ริชาร์ด ไฟลสค์เนอร์ (ค.ศ. 1978), “Atlantis Anamorphosis'” โดย อิสท์วาน โอรอสซ์ (ค.ศ. 2000), “วงกต” โดย ดมิทรี ราคอฟ (ค.ศ. 2003) และ “Labyrinthine projection” โดย โม มอราลเลส (ค.ศ. 2000)

ความหมายทางวัฒนธรรม

แก้

วัตถุประสงค์ของการสร้างวงกตของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเพื่อเป็นกับดักวิญญาณ/สิ่งชั่วร้าย หรืออาจจะเป็นทางในการเต้นรำฉลองประเพณี (ritual dance) เมื่อมาถึงยุคกลางวงกตก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของเส้นทางสู่พระเจ้าที่เป็นเส้นทางอันชัดแจ้งที่นำไปสู่พระเจ้าที่อยู่ตรงศูนย์กลาง และ การกำเนิด (ทางเข้า)

วงกตอาจจะเป็นสัญลักษณ์ของการจาริกแสวงบุญ ผูทำการจาริกก็จะเดินตามทางที่นำไปสู่การไถ่บาป และ ความรู้แจ้ง ผู้ศรัทธาส่วนใหญ่ผู้ไม่มีทุนทรัพย์ในการเดินทางไปแสวงบุญยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ก็จะใช้วงกตแทนการเดินทางดังว่าได้ ต่อมาความสำคัญของวงกตทางศาสนาก็ลดถอยลง และ กลายมาเป็นเครื่องมือสำหรับการบันเทิงแทนที่ แต่กระนั้นคุณค่าทางด้านจิตวิญญาณของวงกตก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้

วงกตที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบันมักจะสร้างในคริสต์ศาสนสถาน หรือ ในอุทยาน นอกจากนั้แล้วก็ยังใช้ใน mystics สมัยใหม่เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าถึงภาวะฌาณได้ การเดินตามทางที่ลดเลี้ยวทำให้ผู้เดินลืมโลกภายนอกและสร้างความสงบภายในจิตได้

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Penelope Reed Doob, The Idea of the Labyrinth, p 36.
  2. Kern, Through the Labyrinth, p. 23. The usage restricting maze to patterns that involve choices of path is mentioned by Matthews (p. 2-3) as early as 1922, though he argues against it.
  3. Kern, Through the Labyrinth, 2000, item 43, p. 53.
  4. Kern, Through the Labyrinth, 2000, item 50, p. 54.
  5. Penelope Reed Doob, The Idea of the Labyrinth, pp. 40-41.
  6. Kerenyi, Dionysos, p. 101, n. 171.
  7. Kerenyi, Dionysos, p. 91.
  8. มะลิฉัตร เอื้ออานันท์. “พจนานุกรมศัพท์ศิลปะ” สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2545
  9. Kerenyi, Dionysos, p. 92f.
  10. Herodotus, The Histories, translated by Aubrey de Sélincourt, Book II, pp. 160-61.
  11. 11.0 11.1 11.2 Leonhard Schmitz, George Eden Marindin, Labyrinthus entry, in William Smith et al. (editors), Dictionary of Greek and Roman Antiquities, published 1890.
  12. Peck, Harry Thurston (chief editor). "Hieratic Papyrus. (Twentieth Dynasty.)" in the Harpers Dictionary of Classical Antiquities, published 1898, page 29.
  13. Andrew Stewart, One Hundred Greek Sculptors: Their Careers and Extant Works, "Smilis."
  14. Abu Rayhan Biruni, India, (c.1030 CE), Edward C. Sachau (translator), Kegan Paul, Trench, Trübner & Co, London, 1910 Online version from Columbia University Libraries (accessed 5 December 2009)
  15. Stone labyrinths of Bolshoi Zayatsky Island Wondermondo.com (accessed 5 December 2009)
  16. Labyrinth in Catholic Encyclopedia
  17. Russell, W. M. S. (1991). "English Turf Mazes, Troy, and the Labyrinth". Folklore. Taylor and Francis. 102 (1): 77–88. สืบค้นเมื่อ 2009-03-26. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)

บรรณานุกรม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ลายวงกต