การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550
การลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ช่วงเวลา 08.00 น.ถึง 16.00 น. โดยใช้วิธีกากบาทลงบัตรเหมือนการเลือกตั้ง ในกรณีที่ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาใช้บังคับแล้ว ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะนำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาและใช้บังคับได้
| ||||||||||||||||||||||
การออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... | ||||||||||||||||||||||
วันที่ | 19 สิงหาคม 2550 | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
| ||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||
แผนที่แสดงร้อยละของผู้เห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งตามจังหวัด (สียิ่งเข้มแปลว่ามีส่วนต่างยิ่งมาก) |
ในกรณีที่เสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติไม่เห็นชอบให้ใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ สภาร่างรัฐธรรมนูญจะสิ้นสุดลง คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ได้เคยประกาศใช้บังคับมาแล้วฉบับใดฉบับหนึ่งมาปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันออกเสียงประชามติ และนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ประกาศใช้เป็นรัฐธรรมนูญต่อไป
ได้มีการกล่าวไว้ว่าถ้าประชาชนส่วนมากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การเลือกตั้งครั้งต่อไปยังคงมีอยู่ภายในปี 2550 โดยจะมีการนำรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 บางส่วนมาดัดแปลงแก้ไข[1] อย่างไรก็ตาม พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรี่วาการกระทรวงกลาโหม ได้ระบุว่า "การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อร่างรัฐธรรมนูญได้รับประชามติ ถ้าหากว่าไม่รับแล้วก็จะเป็นปัญหาที่วุ่นวายต่อเนื่องไม่จบง่าย ๆ ฉะนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ"[2][3]
การห้ามการรณรงค์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ
แก้ต้นเดือน กรกฎาคม 2550 สังศิต พิริยะรังสรรค์ หนึ่งในสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่าร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา เป็นไปได้ว่าจะห้ามการรณรงค์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ โดยระบุโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี[4]
การห้ามดังกล่าวถูกต่อต้านจาก องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ Asian Human Rights Commission (AHRC) โดย AHRC ได้กล่าวว่า "กฎหมายดังกล่าวมีจุดประสงค์อย่างชัดเจนที่จะ ข่มขู่และปิดปากผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดของรัฐบาล ถึงจะถูกดัดแปลงแก้ไขให้สามารถรณรงค์ แบบกล่าวแต่เพียงข้อเท็จจริงก็ตาม"[3]
ในเดือน กรกฎาคม 2550 กลุ่มตำรวจได้ยึดโปสเตอร์ที่มีข้อความระบุว่า "โหวตล้มร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผิดกฎหมาย" ซึ่งครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ยอมรับว่าเป็นเจ้าของ[5] อย่างไรก็ตาม พันเอก สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกกองทัพบก และ โฆษกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คมช. ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า เมื่อทหารพบโปสเตอร์ดังกล่าวจึงนำไปแจ้งให้ตำรวจทราบ และเมื่อตำรวจสอบถามว่าใครเป็นเจ้าของก็ไม่มีใครแสดงตัวเป็นเจ้าของแต่อย่างใด ดังนั้น จึงได้นำเอกสารไปตรวจสอบว่าผิดกฎหมายหรือไม่ เมื่อไม่พบว่าผิดข้อกฎหมายใดก็พร้อมที่จะคืนเอกสารให้ ถ้ามีคนมาแสดงตัวเป็นเจ้าของ[6]
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ[7]ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2550 ได้ระบุว่าความผิดที่มีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี สำหรับผู้ที่กระทำการดังนี้
- ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
- ให้ เสนอให้หรือสัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือผลประโยชน์อื่น อันอาจคำนวณเป็นเงินได้แก่ผู้ใด เพื่อจะจูงใจให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง
- หลอกลวง บังคับ ขู่เข็ญ หรือใช้อิทธิพลคุกคาม เพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง ออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือไม่ออกเสียง หรือเพื่อให้สำคัญผิดในวัน เวลา ที่ออกเสียง หรือวิธีการลงคะแนนออกเสียง
- เปิด ทำลาย ทำให้เสียหาย ทำให้เปลี่ยนสภาพ ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์ นำไป หรือขัดขวางการส่งซึ่งหีบบัตรออกเสียงหรือบัตรออกเสียง เว้นแต่เป็นการดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย
พลเรือเอกธีระ ห้าวเจริญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้สั่งให้กรมการขนส่งทางบกไปตรวจสอบรายละเอียดด้านกฎหมายว่าผู้ขับรถแท็กซี่ติดสติกเกอร์รณรงค์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญบนรถแท็กซี่ สามารถทำได้หรือไม่ ขณะที่นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ รองอธิบดีกรมขนส่งทางบก กล่าวว่าการติดสติกเกอร์โฆษณาต่าง ๆ บนรถแท็กซี่ถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติโฆษณา เนื่องจากกฎหมายห้ามไม่ให้รถแท็กซี่ติดโฆษณาใด ๆ ยกเว้นมีความจำเป็นกรณีพิเศษก็สามารถทำได้ แต่ต้องทำเรื่องขอไปที่กรมการขนส่งทางบกก่อน[8][9]
การบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ
แก้นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ได้รับรายงานจากแทบทุกภาคว่ามีการแจกใบปลิวเนื้อหาบิดเบือนรัฐธรรมนูญ [10] โดยมีเนื้อหาเหมือนกันจึงมองได้ว่าใบปลิวออกมาจากแหล่งเดียวกัน จากการวินิจฉัยแล้วน่าจะเป็นคนมีเงินที่มีข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของประชาชนถึงขนาดส่งจดหมายกระจายได้ทั่วประเทศเช่นนี้ ด้านนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กมธ.) กล่าวระหว่างเสวนาเรื่อง "คว่ำ-ไม่คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ประเทศชาติรอดไม่รอด" ตอนหนึ่งว่าได้มีการส่งจดหมายไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยมีเนื้อหาบิดเบือนร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เล่าว่ามีการปล่อยข่าวว่าถ้ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการเห็นชอบ ประธานองคมนตรีจะได้รับการยกฐานะเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างกระแสว่า ถ้าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตร 30 บาทรักษาทุกโรคเดิม จะถูกยกเลิก โดย นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ออกมายืนยันว่า ไม่ว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการลงประชามติหรือไม่ ประชาชนที่ถือบัตรทองโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าก็ยังเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรได้ตามปกติ[11]
การซื้อเสียง
แก้มีการกล่าวหาว่าอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ได้ทำการซื้อเสียงเพื่อให้ผู้ที่มีสิทธิออกเสียงในประชามติ เลือก "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญ จากทั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี [8] รองศาสตราจารย์ ดร. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[12] นาวาอากาศตรีประสงค์ สุ่นศิริ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ[13] และนายวิฑูรย์ นามบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์[14] อย่างไรก็ตาม คำกล่าวข้างต้นไม่ได้มีการนำหลักฐานมารองรับการกล่าวหา และไม่ได้แจ้งความผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าซื้อเสียง
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท คณะกรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการเลือกตั้ง ได้เปิดเผยข้อมูลว่า มีเรื่องร้องเรียนมายัง กกต. แล้วทั้งสิ้น 155 เรื่อง โดยเป็นเรื่องแจกเงิน มากที่สุด ตามมาด้วยการแจกใบปลิวบิดเบือน และแจกเสื้อ ตามลำดับ[15] นอกจากนี้ พล.ต.อ.วิเชียร์ พจน์โพธิ์ศรี ในฐานะประธานอนุกรรมการรักษาความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้พบการกระทำผิดที่มีการดำเนินคดีแล้ว 17 คดี โดย 15 คดี เป็นการแจกใปปลิวบิดเบือนเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญและอีก 2 คดีเป็นการซื้อเสียงที่จังหวัดบุรีรัมย์ รวมทั้ง พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา รองเลขาธิการด้านสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กกต. ยังได้ลงนามหนังสือถึง กกต.จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อให้แจ้งความดำเนินคดีต่อ นายโสภณ ซารัมย์ อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย กลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ ในข้อหาแจกเงินหัวละ 200 บาท เพื่อคว่ำร่างรัฐธรรมนูญที่จังหวัดบุรีรัมย์ด้วย[16]
ผลการออกเสียงประชามติ
แก้ผลการออกเสียงตามรายงานผลอย่างเป็นทางการของคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2550[17]
การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2550 | ||
---|---|---|
ทางเลือก | คะแนนเสียง | % |
เห็นชอบ | 14,727,306 | 57.81% |
ไม่เห็นชอบ | 10,747,441 | 42.19% |
บัตรดี | 25,474,747 | 98.06% |
บัตรเสียหรือไม่ลงคะแนน | 504,207 | 1.94% |
คะแนนเสียงทั้งหมด | 4,757,509 | 100.00% |
อัตราการลงคะแนน | 57.61% | |
จำนวนผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน | 45,092,955 | |
แหล่งอ้างอิง: [18] |
เห็นชอบ : 57.81 (14,727,306) |
ไม่เห็นชอบ : 42.19 (10,747,441) | ||
▲ |
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Sonthi says CNS to use 1997 charter if new draft shot down เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ข่าวจากเนชัน
- ↑ ไทยโพสต์, 10นาที ลงมติรับ'รธน.'ฝักถั่วเห็นชอบ/กกต.ซัด'กฤษฎีกา'ปลูกหนวดกม.ประชามติ เก็บถาวร 2008-12-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 10 กรกฎาคม 2550
- ↑ 3.0 3.1 Asia Sentinel, Thailand on Spin Cycle เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 11 July 2007
- ↑ The Nation, [1] เก็บถาวร 2012-09-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 6 July 2007
- ↑ สำนักข่าวเนชั่น, ครูประทีปแจ้งความเพิ่มกลุ่มทหารยึดโปสเตอร์ เก็บถาวร 2007-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 30 กรกฎาคม 2550
- ↑ จี้ "บิ๊กแอ้ด" สอบจับ 9นปก. : คมช.ชี้ "ครูประทีป" เข้าใจผิด
- ↑ พระราชบัญญัติว่าด้วยความเรียบร้อยในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
- ↑ 8.0 8.1 Bangkok Post, A lack of free and open debate, 15 August 2007
- ↑ กรุงเทพธุรกิจ, "ธีระ"เล็งฟันแท็กซี่ติดสติ๊กเกอร์ไม่รับรธน. เก็บถาวร 2007-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 10 สิงหาคม 2550
- ↑ มติชน, "สมคิด"แฉเล่นเกม"ป้ายสี" ปธ.องคมนตรี รธน.ผ่านได้"สำเร็จราชการ" เก็บถาวร 2007-10-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 18 สิงหาคม 2550
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, สปสช.ยันบัตร 30 บาท ใช้ได้ตามปกติ แม้ร่าง รธน.จะผ่านหรือไม่[ลิงก์เสีย], 19 สิงหาคม 2550
- ↑ Bangkok Post, Democrats:Corruption rife in northeast, 14 August 2007
- ↑ Bangkok Post, Democrats:Corruption rife in northeast, 14 August 2007
- ↑ Bangkok Post, Democrats:Corruption rife in northeast
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์, ร้องเรียนแจกเงิน-ใบปลิวแล้ว 155 เรื่อง ล่าสุดฉีกบัตรที่อยุธยา[ลิงก์เสีย], 19 สิงหาคม 2550
- ↑ ผู้จัดการออนไลน์,สั่ง กกต.บุรีรัมย์แจ้งจับเด็ก “ยี้ห้อย” จ้างล้ม รธน.[ลิงก์เสีย], 19 สิงหาคม 2550
- ↑ สถิติการใช้สิทธิออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ 19 ส.ค. 2550 จำแนกตามรายภาค[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสภาร่างรัฐธรรมนูญ เรื่อง ผลการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. สืบค้นเมื่อ 30-12-2552.