ธีระ ห้าวเจริญ
พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัยรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1] และอดีตผู้บัญชาการทหารเรือ
พลเรือเอก ธีระ ห้าวเจริญ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | สุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล |
ถัดไป | สันติ พร้อมพัฒน์ |
ผู้บัญชาการทหารเรือ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2543 | |
ก่อนหน้า | พลเรือเอก สุวัชชัย เกษมศุข |
ถัดไป | พลเรือเอก ประเสริฐ บุญทรง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 เมษายน พ.ศ. 2483 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | คุณหญิงมัญชุมาศ ห้าวเจริญ |
ประวัติ
แก้เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2483 เป็นบุตรของนาวาโท กระวี กับนางพยงค์ ห้าวเจริญ เข้ารับการศึกษาที่ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล และโรงเรียนนายเรือ ต่อด้วย โรงเรียนปราบเรือดำน้ำ สหรัฐอเมริกา และโรงเรียนเสนาธิการทหารเรือ ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับคุณหญิงมัญชุมาศ ห้าวเจริญ (สกุลเดิม สุทธิวารี) มีบุตร 1 คน คือ นายเกล้า ห้าวเจริญ
การรับราชการ
แก้พ.ศ. 2518 เป็นผู้บังคับการเรือหลวงช้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 2521 เป็นนายธงผู้บัญชาการทหารเรือและในปี พ.ศ. 2526 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ ต่อมาขยับเป็นนายทหารฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารรเรือในปี พ.ศ. 2527 ในปี พ.ศ. 2529 ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารรเรือ ประจำสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2533 เลขานุการกองทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2535 เป็นรองผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ และขยับเป็นผู้บัญชาการวิทยาลัยการทัพเรือ ในปี พ.ศ. 2536 ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธบริการ ก่อนจะมาเป็น รองเสนาธิการทหารเรือ ในปี พ.ศ. 2538 และขยับเป็นเสนาธิการทหารเรือ ในปี พ.ศ. 2539 ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 เป็นรองผู้บัญชาการทหารเรือ และตำแหน่งสูงสุดคือ เป็นผู้บัญชาการทหารเรือ พ.ศ. 2541 - 2543
การเมือง
แก้เป็น สมาชิกวุฒิสภา ช่วงปี พ.ศ. 2539-2542[2] และปี พ.ศ. 2549 หลังการรัฐประหาร ได้เข้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สมัย พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ [3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2540 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2546 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ:
- พ.ศ. 2533 - ลีเจียนออฟเมอริต ชั้นนายทหาร[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๕,๐๑๖ ราย ในวโรกาสพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๑)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-28. สืบค้นเมื่อ 2013-06-18.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ชั้นสายสะพาย จำนวน ๔,๒๓๘ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-02. สืบค้นเมื่อ 2013-03-20.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๖, ๙ เมษายน ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๒๘, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2534/D/076/4062.PDF
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ประวัติจากรัฐบาลไทย
- ประวัติจาก ผู้จัดการออนไลน์ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ประวัติคณะรัฐมนตรี จาก กรุงเทพธุรกิจ เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | ธีระ ห้าวเจริญ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (ครม. 56) (9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551) |
สันติ พร้อมพัฒน์ |