กบฏสันติภาพ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
กบฏสันติภาพ ชื่อเรียกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้จับกุมประชาชนจำนวนมาก โดยอาศัยอำนาจตามความในกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาตรา 102, 104, 177, 181 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาญา (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2478 มาตรา 4
กบฏสันติภาพ | |||
---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ประเทศไทยในสงครามเกาหลี | |||
ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์เดินทางมารับการพิจารณาคดีกบฏสันติภาพ | |||
วันที่ | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 | ||
สถานที่ | จังหวัดพระนคร ประเทศไทย | ||
สาเหตุ | การเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสันติภาพ | ||
เป้าหมาย | ประเทศไทยถอนตัวจากสงครามเกาหลี | ||
ผล | การจับกุมโดยรัฐบาล
| ||
คู่ขัดแย้ง | |||
| |||
ผู้นำ | |||
ความเสียหาย | |||
ถูกจับกุม | 104 คน | ||
ถูกจำคุก | 54 คน |
ในการจับกุมครั้งนี้ กรมตำรวจได้ออกแถลงการณ์ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2495 ได้จับกุมบุคคลต่าง ๆ เป็นจำนวนถึง 104 คน
ด้วยปรากฏจากการสอบสวนของกรมตำรวจว่า มีบุคคลคณะหนึ่งได้สมคบกันกระทำผิดกฎหมาย ด้วยการยุยงให้มีการเกลียดชังกันในระหว่างคนไทย เพื่อก่อให้เกิดการแตกแยก เกิดการทำลายกันเอง โดยใช้อุบายต่าง ๆ เช่น ปลุกปั่นแบ่งชั้น เป็นชนชั้นนายทุนบ้าง ชนชั้นกรรมกรบ้าง ชักชวนให้เกลียดชังชาวต่างประเทศที่เป็นมิตรของประเทศบ้าง อันเป็นการที่อาจจะทำให้เสื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ยุยงให้ทหารที่รัฐบาลส่งออกไปรบในเกาหลี ตามพันธะที่รัฐบาลมีอยู่ต่อองค์การสหประชาชาติ ให้เสื่อมเสียวินัย เมื่อเกิดการปั่นป่วนในบ้านเมืองได้ระยะเวลาเหมาะสมแล้ว ก็จะใช้กำลังเข้าทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบอื่น ซึ่งมิใช่ระบอบประชาธิปไตย ด้วยการชักจูงชาวต่างประเทศเข้าร่วมทำการยึดครองประเทศไทย...
จากนั้นยังได้ทะยอยจับกุมประชาชนเพิ่มเป็นระยะ ๆ จนกระทั่งถึงกลางปี พ.ศ. 2496 ก็ยังมีข่าวว่าได้จับกุม และสึกพระภิกษุที่เคยสนับสนุน และเผยแพร่สันติภาพอีก
ที่มาของคำว่า "สันติภาพ"
แก้เนื่องเพราะผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังจำนวนหนึ่งเป็นสมาชิกคณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2495 โดยมี นายแพทย์เจริญ สืบแสง เป็นประธานคณะกรรมการ นายกุหลาบ สายประดิษฐ์ และพระมหาดิลก สุวรรณรัตน์ เป็นรองประธาน นาย ส. โชติพันธุ์ (สิบโทเริง เมฆประเสริฐ) เป็นเลขาธิการ ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านสงครามในคาบสมุทรเกาหลี ต่อต้านรัฐบาลสหรัฐอเมริกาซึ่งสนับสนุนสงครามเกาหลี และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยถอนตัวจากสงครามเกาหลี และกำลังเตรียมตัวเข้าร่วมประชุมกับนานาชาติในประเทศจีนเพื่อต่อต้านสงครามเกาหลี
รายชื่อบุคคลที่สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสันติภาพ
แก้บรรดาบุคคลที่เข้าร่วมสนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสันติภาพฯ และถูกจับกุมในครั้งนี้ มีหลากหลายกลุ่ม ประกอบไปด้วยนักเขียนหนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง อาทิ
- นาย กุหลาบ สายประดิษฐ์ - ผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์ โดยมีตำแหน่งเป็น "เจ้าพนักงานโรงวิทยาศาสตร์"
- นาย อารีย์ ลีวีระ - เจ้าของหนังสือพิมพ์สยามนิกร
- นาย สุภา ศิริมานนท์ - เจ้าของและบรรณาธิการนิตยสารอักษรสาส์น
- นาย อุทธรณ์ พลกุล - บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ
- นาย แสวง ตุงคะบรรหาร - บรรณาธิการหนังสือพิมพ์สยามนิกร
- นาย บุศย์ สิมะเสถียร - บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทย
- นาย ฉัตร บุณยศิริชัย - บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ข่าวภาพ
- นาย สมุทร สุรักขกะ - บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เกียรติศักดิ์
- นาย ทองใบ ทองเปาด์ - บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยใหม่
- นาย สมัคร บุราวาศ
- นาย นเรศ นโรปกรณ์ นิสิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชั้นปีที่3
- นาย สัมผัส พึ่งประดิษฐ์ สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- นาย ประจวบ อัมพเศวต
- นายเปลื้อง วรรณศรี ฯลฯ
รวมถึงนักเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อต้านรัฐบาล อาทิ
- นายมารุต บุนนาค - ประธานกรรมการสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นายลิ่วละล่อง บุนนาค - ผู้นำนักศึกษา
- นายสุวัฒน์ วรดิลก - นักประพันธ์
- นายทวีป วรดิลก - นักประพันธ์
- นายฟัก ณ สงขลา - ทนายความ
- นายสุ่น กิจจำนงค์ - เลขาธิการสมาคมสหอาชีวกรรมกร
- นายสุพจน์ ด่านตระกูล ฯลฯ
ต่อมาได้มีการจับกุมเพิ่มเติ่ม อาทิ
- ท่านผู้หญิง พูนศุข พนมยงค์ - ภริยารัฐบุรุษอาวุโส นายปรีดี พนมยงค์
- นายปาล พนมยงค์
- นายสุภัทร สุคนธาภิรมย์
- พลตรี เนตร เขมะโยธิน เป็นต้น
บรรดาผู้ที่ถูกจับกุมนั้น เป็นที่ทราบกันว่าเป็นผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกับรัฐบาล บางรายกำลังเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลอย่างลับ ๆ รวมถึงได้ร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยด้วย
คดีนี้ อัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหารวมทั้งสิ้น 54 ราย ศาลได้พิพากษาจำคุก บางราย 13 ปี บางราย 20 ปี และได้รับการประกันตัวและพ้นโทษตาม พระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 ใน พ.ศ. 2500[1]