นายแพทย์ เจริญ สืบแสง หรือ ขุนเจริญวรเวช (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2512) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 3 สมัย

เจริญ สืบแสง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445
จังหวัดปัตตานี ประเทศสยาม
เสียชีวิต27 ธันวาคม พ.ศ. 2512 (67 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคสหชีพ

ประวัติ แก้

นายแพทย์เจริญ สืบแสง เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2445 [1] เป็นบุตรคนที่ 2 ของ ขุนวรเวชวิชกิจ (ซุ้ย สืบแสง) กับนางอุ่น สืบแสง และเป็นพี่ชายของ นายจรูญ สืบแสง สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2466 (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน)

นายแพทย์เจริญ สืบแสง เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในช่องจมูก เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2512 สิริอายุรวม 67 ปี

นายแพทย์เจริญ สืบแสง มิได้เป็นเครือญาติกับ กัณวีร์ สืบแสง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเป็นธรรม แต่อย่างใด[2]

การทำงาน แก้

นายแพทย์เจริญ เข้ารับราชการในกรมสาธาณสุข เป็นแพทย์สำรองอยู่ปีกว่า จึงได้บรรจุเป็นแพทย์หลวงประจำจังหวัดปัตตานี เมื่อ พ.ศ. 2468 จนถึง พ.ศ. 2473 ก็ได้ย้ายไปรับตำแหน่งสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส และในปีเดียวกันนี้เองก็ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนเจริญวรเวช"

ใน พ.ศ. 2477 ย้ายไปประจำกรมสาธารณสุข และได้ย้ายกลับปัตตานี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479

งานการเมือง แก้

นายแพทย์เจริญ ได้เข้าสู่วงการการเมืองในปี พ.ศ. 2479 โดยได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปัตตานี และใน พ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ. 2489 ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองปัตตานี หลังจากนั้นได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานีครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 (ต่อมาเข้าร่วมกับพรรคสหชีพ)[3] และได้รับเลือกตั้งรวม 3 สมัย [4]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้

นายแพทยเจริญ สืบแสง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 3 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489 จังหวัดปัตตานี
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2491 จังหวัดปัตตานี
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ธันวาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดปัตตานี ไม่สังกัดพรรคการเมือง[5]

อ้างอิง แก้

  1. "ขุนเจริญวรเวช (เจริญ สืบแสง) ผู้แทนฯ ของชาวปัตตานี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-29. สืบค้นเมื่อ 2015-08-26.
  2. แอบอ้างตระกูลสืบแสงหรือไม่ “ศรีสุวรรณ” ยื่น กกต. ตรวจสอบ “กัณวีร์”
  3. ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลเมืองปัตตานี[ลิงก์เสีย]
  4. ๖๗ ปี สมาชิกรัฐสภาไทย. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2542
  5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป พ.ศ. ๒๕๐๐ ครั้งที่ ๒