ปลากระเบนแมนตา

(เปลี่ยนทางจาก Manta ray)
สำหรับปลากระเบนราหูในน้ำจืด ดูที่: ปลากระเบนราหูน้ำจืด
ระวังสับสนกับ: ปลากระเบนปีศาจ
ปลากระเบนราหู
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 23–0Ma[1] ยุคต้นไมโอซีน-ปัจจุบัน
ปลากระเบนแมนตามหาสมุทรที่หินแดง
ใต้ท้องของปลากระเบนแมนตาแนวปะการัง
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Chondrichthyes
ชั้นย่อย: Elasmobranchii
อันดับใหญ่: Batoidea
อันดับ: Myliobatiformes
วงศ์: Myliobatidae
วงศ์ย่อย: Mobulinae
สกุล: Manta
Bancroft, 1829
ชนิดต้นแบบ
Cephalopterus manta
Bancroft, 1829
ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ทั่วโลก

ปลากระเบนแมนตา หรือ ปลากระเบนราหู (อังกฤษ: Manta rays) เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง จัดเป็นปลากระเบนที่ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก (ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบ ๆ แนวปะการัง

จัดอยู่ในสกุล Manta (เป็นภาษาสเปนแปลว่า "ผ้าห่ม"[3]) ในวงศ์ปลากระเบนนก (Myliobatidae) เดิมทีแล้ว ปลากระเบนแมนตาถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันรวมอยู่ในวงศ์ปลากระเบนนก

โดยทั่วไปปลากระเบนแมนตาจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบตัวที่มีหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาอยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากปลากระเบนทั่วไป ปากอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนปลากระเบนทั่วไป

ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบน ๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก (Manouria emys)) โดยเขาที่อ่อนนุ่มนี้มีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ

ปลากระเบนแมนตาเคยหาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นกรองกินแพลงก์ตอนตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่าปลากระเบนชนิดอื่น ๆ

ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็ก ๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับปลากระเบนทั่วไป มีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วนท่อน้ำออกมีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน

เพื่อการว่ายน้ำที่ดี ปลากระเบนแมนตาวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้ปลากระเบนแมนตามีศัตรูตามธรรมชาติน้อยมาก โดยที่ศัตรูของปลากระเบนแมนตาในน่านน้ำไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาต (Orcinus orca) และวาฬเพชรฆาตเทียม (Pseudorca crassidens) แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน

โดยปกติแล้วกินแพลงก์ตอน, ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก ซึ่งเรียกว่า แรม-เจ็ต (Ram-jet)

ปลากระเบนแมนตา เดิมถูกจัดเป็นเพียงปลาชนิดเดียว และปัจจุบันถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด เมื่อไม่นานมานี้ ได้แก่

โดยมีความแตกต่างกันทางรูปร่างภายนอก และพฤติกรรมบางประการเล็กน้อย[4] และอาจเป็นไปได้ว่ามีชนิดที่ 3 อีก ที่ขณะนี้ยังไม่ได้ถูกจำแนก โดยพบที่แคริบเบียน[4] แต่ก็มีนักอนุกรมวิธานบางรายเสนอให้ยุบสกุล Manta ไปรวมกับสกุล Mobula หรือปลากระเบนปีศาจแทน [5]

ปลากระเบนแมนตาทั้ง 2 ชนิด สามารถถูกพบเห็นได้บ่อยตามแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะหมู่เกาะมัลดีฟส์, หมู่เกาะสุรินทร์ รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลันของไทย โดยเฉพาะ หินแดง, เกาะบอน, เกาะตอรินลา, และเกาะตาชัย พบได้บ่อยในทางด้านอ่าวไทยเช่นกัน เช่น หินใบ, เกาะพงัน และกองหินโลซินอันห่างไกล

ปลากระเบนแมนตาเป็นปลาอีกชนิดที่นักดำน้ำต้องการที่จะพบเห็นมากที่สุด ซึ่งมักจะถูกพูดถึงร่วมกับปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) เสมอ

นอกจากนี้ ปลากระเบนแมนตายังเป็นปลากระเบนเพียงไม่กี่ชนิด ที่ไม่มีเงี่ยงพิษที่โคนหางเหมือนปลากระเบนชนิดอื่น ๆ[6]

อ้างอิง

แก้
  1. Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera (Chondrichthyes entry)". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-10. สืบค้นเมื่อ 9 January 2008.
  2. Manta birostris (อังกฤษ)
  3. "สุดยอดสารคดี แปซิฟิก สุดยอดแห่งผืนน้ำ: สารคดี". ช่อง 7. 26 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 26 December 2015. {{cite web}}: ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  4. 4.0 4.1 "MANTA RAY ECOLOGY AND BIOLOGY (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-06. สืบค้นเมื่อ 2012-12-24. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  5. หน้า 2 จุดประกาย โลก คน เมือง, ลาก่อนแมนต้าเรย์. "เล่ารอบตัว" โดย ชุตินันท์ โมรา. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10512: วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
  6. GIANT MANTA RAY (อังกฤษ)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Manta ที่วิกิสปีชีส์