สมัยไมโอซีน
สมัยไมโอซีน (อังกฤษ: Miocene) เป็นสมัยแรกของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 23.03 ถึง 5.333 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยโอลิโกซีน และตามด้วยสมัยไพลโอซีน ชาร์ลส์ ไลแอลได้นำจากคำภาษากรีก คำว่า μείων (meiōn, “น้อย”) และคำว่า καινός (kainos, “ใหม่”)[6] มาตั้งชื่อให้กับสมัยนี้ สาเหตุที่ใช้คำว่า "น้อย" เพราะว่ามีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่น้อยกว่าสมัยไพลโอซีนราว 18%
สมัยไมโอซีน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
23.03 – 5.333 ล้านปีก่อน | |||||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | |||||||||||
| |||||||||||
นิรุกติศาสตร์ | |||||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ทางการ | ||||||||||
ข้อมูลการใช้ | |||||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | ||||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | ||||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีกาลของ ICS | ||||||||||
การนิยาม | |||||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | สมัย | ||||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินสมัย | ||||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | ||||||||||
คำนิยามขอบล่าง |
| ||||||||||
ขอบล่าง GSSP | แหล่งเลมเม-การ์โรซีโอ การ์โรซีโอ ประเทศอิตาลี 44°39′32″N 8°50′11″E / 44.6589°N 8.8364°E | ||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 1996[4] | ||||||||||
คำนิยามขอบบน | อิงกับเหตุการณ์แม่เหล็กเทฟรา (C3n.4n) ซึ่งใหม่กว่า GSSP เพียง 96 ka (5 วัฎจักรที่สืบกันมา) | ||||||||||
ขอบบน GSSP | แหล่งเฮราเคลีย มิโนอา เฮราเกลีย มิโนอา กัตโตลิกา เอราเกลีย แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี 37°23′30″N 13°16′50″E / 37.3917°N 13.2806°E | ||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 2000[5] |
ขณะที่เวลาได้เคลื่อนผ่าน จากสมัยโอลิโกซีนมาถึงไมโอซีน และผ่านไปยังสมัยไพลโอซีนอากาศค่อย ๆ เย็นลงซึ่งเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็ง การแบ่งยุคสามยุคนี้ออกจากกันนั้นไม่ได้ใช้เหตุการณ์ระดับโลกในการแบ่งแต่ใช้ระดับอุณหภูมิในการแบ่งโดยสมัยโอลิโกซีนอุ่นกว่าไมโอซีนและไมโอซีนอุ่นกว่าสมัยไพลโอซีน
เอปได้เกิดและมีความหลากหลายขึ้นในยุดนี้จากนั้นก็เริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่วพื้นที่โลกเก่า ในช่วงท้ายของสมัยนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เริ่มแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของลิงชิมแปนซี (ช่วงประมาณ 7.5 ถึง 5.6 ล้านปีก่อน) สมัยนี้มีลักษณะเหมือนสมัยโอลิโกซีนคือทุ่งหญ้าขยายตัวขึ้นและป่าไม้ลดน้อยลง ทะเลในสมัยนี้ป่าสาหร่ายเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก[7]
พืชและสัตว์ยุคนี้มีวิวัฒนาการแบบใหม่มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกสามารถพบได้มาก สาหร่ายทะเล วาฬและสัตว์ตีนครีบเริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่ว
ยุคนี้มีเป็นยุคที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากยุคนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของมรสุมในเอเชียซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือ[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ Krijgsman, W.; Garcés, M.; Langereis, C. G.; Daams, R.; Van Dam, J.; Van Der Meulen, A. J.; Agustí, J.; Cabrera, L. (1996). "A new chronology for the middle to late Miocene continental record in Spain". Earth and Planetary Science Letters. 142 (3–4): 367–380. Bibcode:1996E&PSL.142..367K. doi:10.1016/0012-821X(96)00109-4.
- ↑ Retallack, G. J. (1997). "Neogene Expansion of the North American Prairie". PALAIOS. 12 (4): 380–390. doi:10.2307/3515337. JSTOR 3515337. สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
- ↑ "ICS Timescale Chart" (PDF). www.stratigraphy.org.
- ↑ Steininger, Fritz F.; M. P. Aubry; W. A. Berggren; M. Biolzi; A. M. Borsetti; Julie E. Cartlidge; F. Cati; R. Corfield; R. Gelati; S. Iaccarino; C. Napoleone; F. Ottner; F. Rögl; R. Roetzel; S. Spezzaferri; F. Tateo; G. Villa; D. Zevenboom (1997). "The Global Stratotype Section and Point (GSSP) for the base of the Neogene" (PDF). Episodes. 20 (1): 23–28. doi:10.18814/epiiugs/1997/v20i1/005.
- ↑ Van Couvering, John; Castradori, Davide; Cita, Maria; Hilgen, Frederik; Rio, Domenico (September 2000). "The base of the Zanclean Stage and of the Pliocene Series" (PDF). Episodes. 23 (3): 179–187. doi:10.18814/epiiugs/2000/v23i3/005.
- ↑ "Miocene". Online Etymology Dictionary. สืบค้นเมื่อ 2016-01-20.
- ↑ "BBC Nature - Miocene epoch videos, news and facts". BBC. สืบค้นเมื่อ 2016-11-13.
- ↑ Zhisheng, An; Kutzbach, John E.; Prell, Warren L.; Porter, Stephen C. (3 May 2001). "Evolution of Asian monsoons and phased uplift of the Himalaya–Tibetan plateau since Late Miocene times". Nature. 411 (6833): 62–66. doi:10.1038/35075035.
ดูเพิ่ม
แก้- PBS Deep Time: Miocene
- UCMP Berkeley Miocene Epoch Page
- Miocene Microfossils: 200+ images of Miocene Foraminifera
- Human Timeline (Interactive) – Smithsonian, National Museum of Natural History (August 2016).