ช่วงอายุซานเคลียน
ช่วงอายุซานเคลียน (อังกฤษ: Zanclean age) คือช่วงอายุใหม่สุดหรือหินช่วงอายุบนสุดของไพลโอซีนในธรณีกาลสากล กินเวลาตั้งแต่ 5.333 ± 0.005 ล้านปีก่อนถึง 3.6 ± 0.005 ล้านปีก่อน อยู่ถัดจากช่วงอายุเมสซิเนียนของสมัยไมโอซีนและตามด้วยช่วงอายุปีอาเซนเซียน
ช่วงอายุซานเคลียน | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
5.333 – 3.600 ล้านปีก่อน | |||||||||||
วิทยาการลำดับเวลา | |||||||||||
| |||||||||||
นิรุกติศาสตร์ | |||||||||||
ความเป็นทางการของชื่อ | ทางการ | ||||||||||
ข้อมูลการใช้ | |||||||||||
เทห์วัตถุ | โลก | ||||||||||
การใช้ระดับภาค | ทั่วโลก (ICS) | ||||||||||
การใช้ช่วงเวลา | ธรณีกาลของ ICS | ||||||||||
การนิยาม | |||||||||||
หน่วยวิทยาการลำดับเวลา | ช่วงอายุ | ||||||||||
หน่วยลำดับชั้นหิน | หินช่วงอายุ | ||||||||||
ความเป็นทางการของช่วงกาล | ทางการ | ||||||||||
คำนิยามขอบล่าง | ฐานของเหตุการณ์แม่เหล็กทเวรา (C3n.4n) ซึ่งใหม่กว่า GSSP เพียง 9.6 หมื่นปี (5 วัฏจักรต่อเนื่องกัน) | ||||||||||
ขอบล่าง GSSP | ชั้นหินเฮราคลีมิโนอา เฮราคลีมิโนอา คัตโตลิกาเอราเคลีย แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี 37°23′30″N 13°16′50″E / 37.3917°N 13.2806°E | ||||||||||
การอนุมัติ GSSP | 2543[4] | ||||||||||
คำนิยามขอบบน | ฐานของการกลับขั้วแม่เหล็กเกาส์/กิลเบิร์ต (C2An/C2Ar) | ||||||||||
ขอบบน GSSP | ชั้นหินปันตา ปิกโกลา ปอร์โตเอมเปโดเกล แคว้นซิซิลี ประเทศอิตาลี 37°17′20″N 13°29′36″E / 37.2889°N 13.4933°E | ||||||||||
การอนุมัติ GSSP | มกราคม 2540[5] |

ช่วงอายุนี้สัมพันธ์กับหินช่วงอายุในระดับภูมิภาค เช่น หินช่วงอายุโอโปอิเชียน (Opoitian) ของนิวซีแลนด์[6] และทาบิอาเนียน (Tabianian) หรือ ดาเชียน (Dacian) ของยุโรปกลาง นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับตอนปลายของเฮมฟิลเลียนถึงแบลงกันของช่วงอายุสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบกอเมริกาเหนือ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ช่วงอายุนี้สอดคล้องอย่างคร่าว ๆ กับช่วงกลางของหินช่วงอายุเดลมอนเชียน (Delmontian)[7]
นิยาม
แก้หินช่วงอายุซานเคลียนถูกเสนอโดยจูเซปเป เซเกวนซาในปี ค.ศ. 1868 ตั้งชื่อตามชื่อของเมืองเมสซีนาบนเกาะซิซิลีในช่วงก่อนยุคโรมันว่าซานกลี
ฐานของหินช่วงอายุซานเคลียน (และหินสมัยไพลโอซีน) ตั้งอยู่ในชั้นบนสุดของหินรุ่นแม่เหล็ก Cr3 (ประมาณ 100,000 ปีก่อนกึ่งหินรุ่นปกติทเวรา C3n.4n) นอกจากนี้ฐานยังอยู่ใกล้กับระดับการสูญพันธุ์ของสัตว์สปีชีส์ Triquetrorhabdulus rugosus ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนขนาดเล็กเนื้อปูน (ฐานของส่วนชั้นชีวภาพ CN10b) และ การปรากฏครั้งแรกของแพลงก์ตอนขนาดเล็ก Ceratolithus acutus จุด GSSP สำหรับหินช่วงอายุซานเคลียนอยู่ใกล้กับซากของนครโบราณเฮราคลีมิโนอาบนเกาะซิซิลี ประเทศอิตาลี[8]
ด้านบนของหินช่วงอายุซานเคลียน (ฐานของหินช่วงอายุปีอาเซนเซียน) คือฐานของหินรุ่นแม่เหล็ก C2An (ฐานของหินรุ่นเกาส์และที่การสูญพันธุ์ของฟอรามินิเฟอราชนิดแพลงก์ตอน Globorotalia margaritae และ Pulleniatina primalis
เหตุการณ์ของช่วงอายุซานเคลียน
แก้- น้ำท่วมช่วงอายุซานเคลียน เป็นเหตุการณ์อันเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงอายุ และจุดสิ้นสุดของช่วงอายุเมสซิเนียน โดยน้ำไหลจากมหาสมุทรแอตแลนติกผ่านช่องแคบยิบรอลตาร์เข้าท่วมบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เหตุการณ์ช่วงอายุเมสซิเนียนซึ่งเป็นเหตุการณ์เมื่อ 5.96 ล้านปีก่อนในช่วงอายุเมสซิเนียน สมัยไมโอซีน ซึ่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเกิดระเหยไปบางส่วนหรือทั้งหมดนั้นสิ้นสุดลง[9]
- การทับถมในเอเวอร์เกลดส์ซึ่งเป็นการทับถมเมื่อน้ำในเขตร้อนเริ่มไหลย้อนกลับในตอนปลายของช่วงอายุซานเคลียน[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Krijgsman, W.; Garcés, M.; Langereis, C. G.; Daams, R.; Van Dam, J.; Van Der Meulen, A. J.; Agustí, J.; Cabrera, L. (1996). "A new chronology for the middle to late Miocene continental record in Spain". Earth and Planetary Science Letters. 142 (3–4): 367–380. Bibcode:1996E&PSL.142..367K. doi:10.1016/0012-821X(96)00109-4.
- ↑ Retallack, G. J. (1997). "Neogene Expansion of the North American Prairie". PALAIOS. 12 (4): 380–390. doi:10.2307/3515337. JSTOR 3515337. สืบค้นเมื่อ 2008-02-11.
- ↑ "ICS Timescale Chart" (PDF). www.stratigraphy.org.
- ↑ Van Couvering, John; Castradori, Davide; Cita, Maria; Hilgen, Frederik; Rio, Domenico (September 2000). "The base of the Zanclean Stage and of the Pliocene Series" (PDF). Episodes. 23: 179–187.
- ↑ Castradori, D.; D. Rio; F. J. Hilgen; L. J. Lourens (1998). "The Global Standard Stratotype-section and Point (GSSP) of the Piacenzian Stage (Middle Pliocene)" (PDF). Episodes. 21 (2): 88–93. doi:10.18814/epiiugs/1998/v21i2/003. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
- ↑ Gradstein, F.M.; Ogg, J.G.; Schmitz, M.D.; Ogg, G.M. (editors) (2012). The Geologic Timescale 2012. Elsevier. pp. 936–937. ISBN 978-0-44-459390-0.
{{cite book}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Allaby, Ailsa; Michael Allaby (1999). "Delmontian". A Dictionary of Earth Sciences. Encyclopedia.com. สืบค้นเมื่อ 10 Dec 2009.
A stage in the Upper Tertiary of the west coast of N. America
- ↑ Van Couvering et al. (2000)
- ↑ A high-resolution stratigraphic framework for the latest Messinian events in the Mediterranean area. vol. 5, nos. 3-4, pp. 323-342, text-figures 1-9, 2008. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 21, 2012. สืบค้นเมื่อ December 10, 2009.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ The Geology of the Everglades and Adjacent Areas. ISBN 9781420045598.
เอกสารข้อมูล
แก้- Castradori, D.; Rio, D.; Hilgen, F.J. & Lourens, L.J.; 1998: The Global Standard Stratotype section and Point (GSSP) of the Piacenzian Stage (Middle Pliocene), Episodes, 21(2): pp 88–93.
- Gradstein, F.M.; Ogg, J.G. & Smith, A.G. (eds.) (2005) A Geologic Time Scale 2004 Cambridge University Press, Cambridge, UK, ISBN 0-521-78142-6.
- Giuseppe Seguenza; 1868: La Formation Zancléenne, ou recherches sur une nouvelle formation tertiaire, Bulletin de la Société Géologique de France, séries 2, 25: 465-485. (ในภาษาฝรั่งเศส)
- Van Couvering, J.A.; Castradori, D.; Cita, M.B.; Hilgen, F.J. & Rio, D.; 2000: The base of the Zanclean Stage and of the Pliocene Series, Episodes, 23(3): pp 179–187.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ช่วงอายุซานเคลียน ที่ ฐานข้อมูล GeoWhen (อังกฤษ)
- เส้นเวลาของยุคนีโอจีน ที่เว็บไซต์ของคณะกรรมาธิการย่อยเพื่อสารสนเทศการลำดับชั้นหินของ ICS (อังกฤษ)
- เส้นเวลาของยุคนีโอจีน ที่เว็บไซต์ของเครือข่ายชาวนอร์เวย์เพื่อการบันทึกชายฝั่งทางธรณีวิทยาและการลำดับชั้นหิน (อังกฤษ)