ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค

(เปลี่ยนทางจาก Elasmobranchii)

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค (ชั้นย่อย: Elasmobranchii) เป็นชั้นย่อยของปลาในชั้นปลากระดูกอ่อน เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี

ชั้นย่อยอีแลสโมแบรงไค
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Devonian–Recent
ปลากระเบนแมนตามหาสมุทร (Manta birostris) เป็นปลากระดูกอ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่อยู่ชั้นย่อยนี้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลากระดูกอ่อน
Chondrichthyes
ชั้นย่อย: อีแลสโมแบรงไค
Elasmobranchii
Bonaparte, 1838
Superorders

ปลาในชั้นนี้มีวิวัฒนาการมาจากยุคดีโวเนียนยุคต้น (เมื่อ 400 ล้านปีก่อน) จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะสำคัญของปลาในชั้นนี้คือ ไม่มีถุงลมช่วยในการว่ายน้ำ มีช่องเหงือกทั้งหมด 5–7 คู่เปิดออกสู่ภายนอกเพื่อใช้ในการหายใจ ครีบหลังแข็งมีเกล็ดแบบสาก มีฟันที่แข็งแรงหลายชุดในปาก ปากอยู่ต่ำลงมาทางด้านท้อง มีขากรรไกรที่ไม่เชื่อมติดกับกะโหลก และเมื่อเจริญเติบโตขึ้นกระดูกอ่อนจะแทนที่ด้วยกระดูกสันหลัง รูจมูกทั้ง 2 ข้างไม่ทะลุเข้าช่องปาก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศด้วยการปฏิสนธิภายใน โดยที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนเจริญในท่อรังไข่ เพศผู้จะมีอวัยวะเพศเป็นแท่ง 1 คู่ซึ่งวิวัฒนาการมาจากครีบ อยู่บริเวณกระดูกเชิงกราน บริเวณครีบท้อง ใช้สำหรับผสมพันธุ์และปล่อยอสุจิ ขณะที่เพศเมียจะมีช่องคลอด

เป็นปลากระดูกอ่อนที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น ปลาฉลาม, ปลากระเบน, ปลาฉนาก, ปลาโรนัน พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วโลก[1]

การจำแนก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Bigelow, Henry B; Pérez Farfante, Isabel C; Schroeder, William C (มกราคม 1948). Fishes of the Western North Atlantic. Sears Foundation for Marine Research, Yale University. pp. 64–65. ASIN B000JQAZT6.
  2. Winchell, Christopher J; Martin, Andrew P; Mallatt, Jon (เมษายน 2004). "Phylogeny of elasmobranchs based on LSU and SSU ribosomal RNA genes". Molecular Phylogenetics and Evolution. 31 (1): 214–224. doi:10.1016/j.ympev.2003.07.010.
  3. Douady, Christophe J; Dosay, Miné; Shivji, Mahmood S; Stanhope, Michael J (กุมภาพันธ์ 2003). "Molecular phylogenetic evidence refuting the hypothesis of Batoidea (rays and skates) as derived sharks". Molecular Phylogenetics and Evolution. 26 (2): 215–221. doi:10.1016/s1055-7903(02)00333-0. PMID 12565032.
  4. Nelson, Joseph S; Grande, Terry C; Wilson, Mark VH (มีนาคม 2016). Fishes of the World (5th ed.). John Wiley & Sons. ISBN 978-1-118-34233-6.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้