ผิวหนังของปลาส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ดปลาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านขนาด รูปทรง โครงสร้างและขอบเขต โดยมีตั้งแต่แผ่นเกราะแข็งแรงทื่อในปลาอย่างปลามีดโกนและปลาปักเป้ากล่อง ไปจนถึงมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่มีเลยในปลาอย่างปลาไหลและปลาตกเบ็ด สามารถใช้กายสัณฐานของเกล็ดในการระบุชนิดของปลาได้

เกล็ดแบบกลมที่ปกคลุมปลายี่สกเทศ

ปลากระดูกอ่อน (เช่น ปลาฉลามและปลากระเบน) มีเกล็ดแบนราบ (placoid) ปกคลุม ส่วนปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่มีเกล็ดทรงกลม (cycloid) อย่างปลาแซลมอนและปลาคาร์พ หรือเกล็ดแบบซี่ (ctenoid) อย่างปลาเพิร์ช หรือเกล็ดกระดูกแข็ง (ganoid) อย่างปลาสเตอร์เจียนและปลาการ์ บางชนิดมีสคิวต์ (scute) ปกคลุม และบางชนิดไม่มีสิ่งปกคลุมผิวหนัง

เกล็ดปลาเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่วนห่อหุ้มของปลา และผลิตจากชั้นเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของหนังแท้ ซึ่งทำให้เกล็ดปลาแตกต่างจากเกล็ดสัตว์เลื้อยคลาน[1] การเจริญของเกล็ดอาศัยยีนเดียวกับที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของฟันและขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกล็ดแบนราบของปลากระดูกอ่อนยังเรียก เด็นทิเคิลหนังแท้ (dermal denticle) และสมนัยเชิงโครงสร้างกับฟันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีการเสนอว่า เกล็ดของปลากระดูกแข็งมีโครงสร้างเหมือนกับฟัน แต่อาจกำเนิดจากเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน[2] ปลาส่วนใหญ่มีชั้นเมือกป้องกันปกคลุมอยู่

อ้างอิง

แก้
  1. Sharpe, P. T. (2001). "Fish scale development: Hair today, teeth and scales yesterday?". Current Biology. 11 (18): R751–R752. doi:10.1016/S0960-9822(01)00438-9. PMID 11566120.
  2. The First False Teeth