อันดับปลาไหล

(เปลี่ยนทางจาก ปลาไหล)

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น

ปลาไหล
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Cretaceous–recent[1]
Anguilla japonica
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับใหญ่: Elopomorpha
อันดับ: Anguilliformes
L. S. Berg, 1943
สกุลต้นแบบ
Anguilla
Garsault, 1764[2]
อันดับย่อย
Protanguilloidei
Synaphobranchoidei
Muraenoidei
Chlopsoidei
Congroidei
Moringuoidei
Saccopharyngoidei
Anguilloidei

เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม

ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้ว 8 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 111 สกุล และประมาณ 800 ชนิด

อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น

อันดับย่อยและวงศ์ แก้

อนุกรมวิธานตามข้อมูลจาก Nelson, Grande และ Wilson 2016.[3]

วิวัฒนาการชาติพันธุ์ แก้

วิวัฒนาการชาติพันธุ์จากข้อมูลของ Johnson et al. 2012.[4]

Anguilliformes
Protanguilloidei

Protanguillidae



Synaphobranchoidei

Synaphobranchidae



Muraenoidei

Heterenchelyidae




Myrocongridae



Muraenidae  





Chlopsoidei

Chlopsidae



Congroidei

Derichthyidae




Nettastomatidae




Congridae  




Ophichthidae



Muraenesocidae







Moringuoidei

Moringuidae



Saccopharyngoidei


Eurypharyngidae



Saccopharyngidae  





Monognathidae



Cyematidae  




Anguilloidei

Nemichthyidae




Serrivomeridae



Anguillidae  












ชนิดเชิงพาณิชย์ แก้

ชนิดเชิงพาณิชย์หลัก
ฃื่อทั่วไป ชื่อวิทยาศาสตร์ ตวามยาว
สูงสุด
ความยาว
ทั่วไป
น้ำหนัก
สูงสุด
อายุ
สูงสุด
ลำดับขั้น
ของการกิน
FishBase FAO ITIS สถานะ IUCN
ปลาไหลอเมริกัน Anguilla rostrata (Lesueur, 1817) 152 เซนติเมตร 50 เซนติเมตร 7.33 กิโลกรัม 43 ปี 3.7 [5] [6]  
ใกล้สูญพันธุ์[7]
ปลาไหลยุโรป Anguilla anguilla (Linnaeus, 1758) 150 เซนติเมตร 35 เซนตเมตร 6.6 กิโลกรัม 88 ปี 3.5 [8] [9] [10]  
เสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์[11]
ปลาไหลญี่ปุ่น Anguilla japonica Temminck & Schlegel, 1846 150 เซนติเมตร 40 เซนติเมตร 1.89 กิโลเมตร 3.6 [12] [13] [14]  
ใกล้สูญพันธุ์[15]
ปลาไหลครีบสั้น Anguilla australis Richardson, 1841 130 เซนติเมตร 45 เซนติเมตร 7.48 กิโลเมตร 32 ปี 4.1 [16] [17]  
เกือบอยู่ในข่ายเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์[18]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2009). "Anguilliformes" in FishBase. January 2009 version.
  2. Pl. 661 in Garsault, F. A. P. de 1764. Les figures des plantes et animaux d'usage en medecine, décrits dans la Matiere Medicale de Mr. Geoffroy medecin, dessinés d'après nature par Mr. de Gasault, gravés par Mrs. Defehrt, Prevost, Duflos, Martinet &c. Niquet scrip. [5]. - pp. [1-4], index [1-20], Pl. 644-729. Paris.
  3. Nelson, Joseph S.; Grande, Terry C.; Wilson, Mark V. H. (2016). Fishes of the World (5th ed.). John Wiley & Sons. ISBN 9781118342336.
  4. Johnson, G. D.; Ida H.; Sakaue J.; Sado T.; Asahida T.; Miya M. (2012). "A 'living fossil' eel (Anguilliformes: Protanguillidae, fam nov) from an undersea cave in Palau". Proceedings of the Royal Society. (in press) (1730): 934–943. doi:10.1098/rspb.2011.1289. PMC 3259923. PMID 21849321. 
  5. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Anguilla rostrata" in FishBase. May 2012 version.
  6. "Anguilla rostrata". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ May 20, 2015.
  7. Jacoby, D.; Casselman, J.; DeLucia, M.; Gollock, M. (2017) [amended version of 2014 assessment]. "Anguilla rostrata". IUCN Red List of Threatened Species. 2017: e.T191108A121739077. doi:10.2305/IUCN.UK.2017-3.RLTS.T191108A121739077.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  8. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Anguilla anguilla" in FishBase. May 2012 version.
  9. Anguilla anguilla (Linnaeus, 1758) FAO, Species Fact Sheet. Retrieved 20 May 2012.
  10. "Anguilla anguilla". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ May 20, 2012.
  11. Pike, C.; Crook, V.; Gollock, M. (2020). "Anguilla anguilla". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T60344A152845178. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-2.RLTS.T60344A152845178.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  12. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Anguilla japonica" in FishBase. May 2012 version.
  13. Anguilla japonica, Temminck & Schlegel, 1846 FAO, Species Fact Sheet. Retrieved May 2012.
  14. "Anguilla japonica". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ May 20, 2012.
  15. Jacoby, D. & Gollock, M. (2014). "Anguilla japonica". IUCN Red List of Threatened Species. 2014: e.T166184A1117791. doi:10.2305/IUCN.UK.2014-1.RLTS.T166184A1117791.en. สืบค้นเมื่อ 4 January 2018.
  16. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2012). "Anguilla australis" in FishBase. May 2012 version.
  17. "Anguilla australis". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ May 20, 2012.
  18. Pike, C.; Crook, V.; Gollock, M. (2019) [errata version of 2019 assessment]. "Anguilla australis". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T195502A154801652. doi:10.2305/IUCN.UK.2019-2.RLTS.T195502A154801652.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้