ปลายี่สกเทศ
ปลาโรหู้
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Cypriniformes
วงศ์: Cyprinidae
สกุล: Labeo
สปีชีส์: L.  rohita
ชื่อทวินาม
Labeo rohita
(Hamilton, 1822)
ชื่อพ้อง
  • Cyprinus rohita Hamilton, 1822

ปลายี่สกเทศ หรือ ปลาโรหู้ (เบงกอล: রুই) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Labeo rohita ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหัวสั้น ปากเล็ก มีหนวดสั้น 2 คู่ ริมฝีปากเป็นชายครุยเล็กน้อย และมีแผ่นขอบแข็งที่ริมฝีปากบนและล่าง มีเกล็ดขนาดเล็กตามแนวเส้นข้างลำตัว ครีบหลังและครีบก้นมีขนาดเล็ก ครีบหางเว้าลึก ลำตัวด้านบนสีคล้ำ ปลาขนาดใหญ่จะมีจุดสีน้ำตาลแดงหรือน้ำตาลอ่อนแต้มที่เกล็ดแต่ละเกล็ด ท้องมีสีจาง ครีบสีคล้ำมีขอบสีชมพูอ่อนหรือแดง

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60–80 เซนติเมตร พบใหญ่สุดได้ถึง 1 เมตร เป็นปลาพื้นถิ่นของภูมิภาคเอเชียใต้ตอนบน พบในรัฐโอริศา, รัฐพิหาร และรัฐอุตตรประเทศในอินเดีย, แม่น้ำคงคา, ปากีสถาน จนถึงพม่าทิศตะวันตก

มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในระดับกลางของแม่น้ำจนถึงท้องน้ำ ใช้ปากแทะเล็มพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กและอินทรียสารเป็นอาหาร สามารถปรับตัวได้ดีในแหล่งน้ำนิ่งแต่จะไม่วางไข่

ปลายี่สกเทศทอดในบังกลาเทศ

เป็นปลาเศรษฐกิจที่นิยมใช้บริโภคในภูมิภาคแถบนี้ โดยปรุงสด เช่น แกงกะหรี่ ในประเทศไทยถูกนำเข้ามาในปี พ.ศ. 2511 เช่นเดียวกับปลากระโห้เทศ (Catla catla) และปลานวลจันทร์เทศ (Cirrhinus cirrhosus) เพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นปลาเศรษฐกิจในประเทศ ปราฏฏว่าได้ผลสำเร็จเป็นอย่างดี และได้รับความนิยมมาก โดยมีการเลี้ยงอย่างแพร่หลายในหลายโครงการของกรมประมงทั้งในภาคเหนือและภาคอีสาน อีกทั้งยังเป็นที่นิยมของบ่อตกปลาต่าง ๆ อีกด้วย จนสามารถขยายพันธุ์ได้เองในแหล่งน้ำของประเทศไทย เช่น ที่แม่น้ำโขง[2]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Dahanukar, N. (2010). "Labeo rohita". IUCN Red List of Threatened Species. IUCN. 2010: e.T166619A6248771. สืบค้นเมื่อ 24 April 2016.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 189. ISBN 974-00-8701-9

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้