ปลาที่มีก้านครีบ

(เปลี่ยนทางจาก Actinopterygii)
ปลาที่มีก้านครีบ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ซิลลูเรียนยุคสุดท้าย-ปัจจุบัน
420–0Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้นใหญ่: Osteichthyes
ชั้น: Actinopterygii
Klein, 1885
ชั้นย่อย

ปลาที่มีก้านครีบ (อังกฤษ: Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/)

เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน

ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย [1]

ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ

  • ขั้นที่สอง คือ กลุ่ม Holostei ปลากลุ่มนี้ยังคงมี 2 กลุ่มที่ยังคงชีวิตรอดอยู่ คือ ปลาการ์ และ ปลาโบว์ฟิน ที่พบได้ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
  • ขั้นที่สาม คือ ปลากระดูกแข็งในปัจจุบัน[2]

อ้างอิง แก้

  1. Palaeobase
  2. "ปลากระดูกแข็ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-05. สืบค้นเมื่อ 2013-09-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้