วงศ์ปลาตะเพียน
วงศ์ปลาตะเพียน ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน-ปัจจุบัน[1] | |
---|---|
ปลากระแห (Barbonymus schwanenfeldii) ปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตะเพียน ที่มีเกล็ดสีเงินแวววาว ครีบต่าง ๆ เป็นสีแดงเข้มมีแถบสีดำ จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม | |
ปลาไน (Cyprinus carpio) ซึ่งเป็นต้นตระกูลของปลาแฟนซีคาร์ป ในปัจจุบัน | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Actinopterygii |
อันดับ: | Cypriniformes |
วงศ์: | Cyprinidae |
วงศ์ย่อย[2] | |
วงศ์ปลาตะเพียน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cyprinidae, อังกฤษ: barb, carp, minnow, goldfish) โดยคำว่า Cyprinidae มาจากคำว่า kyprînos ในภาษากรีกโบราณ (κυπρῖνος แปลว่า "ปลาทอง") ประกอบด้วยปลาจำพวกปลาไน, ปลาตะเพียน, ปลาทอง และปลาซิว [1]
ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ที่สุดในปลาน้ำจืด ประกอบไปด้วยชนิด มากกว่า 2,000 ชนิดใน 200 สกุล แบ่งออกได้เป็นหลายวงศ์ย่อย โดยจัดอยู่ในอันดับ Cypriniformes
เป็นวงศ์ที่มีชนิดและจำนวนปลามากที่สุดในปลาน้ำจืดของไทย และมีความหลากหลายเป็นอันดับสามของโลก ปัจจุบันพบแล้วอย่างน้อย 204 ชนิด
ลักษณะ
แก้ไม่มีฟันที่ริมฝีปาก แต่มีฟันซี่ใหญ่อยู่ในลำคอ เกล็ดเป็นแบบขอบเรียบและบาง ครีบเป็นก้านครีบอ่อน ครีบหางส่วนมากเป็นเว้าแฉกลึก ครีบท้องอยู่ค่อนมาทางตอนกลางของลำตัวด้านท้อง ซึ่งลักษณะสำคัญของปลาในวงศ์นี้ก็คือ
1. มีฟันเฉพาะที่ลำคอ เกิดจากกระดูกลำคอด้านล่างอันสุดท้าย มีอยู่ประมาณ 1-3 แถว และมีแผ่นกระดูกที่ฐานบนกระดูกลำคอ ช่วยในการบดย่อยอาหาร
2. มีเกล็ดแบบขอบเรียบบนลำตัว มีหัวไม่มีเกล็ดและไม่มีครีบไขมัน
3. ถุงลมแบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรกไม่ติดกับกระดูกสันหลัง ตอนหลังมีขนาดเล้กฝังอยู่แน่นกับกระดูกสันหลัง[3]
ลำตัวมักแบนข้างหรือเป็นแบบปลาตะเพียนที่รู้จักดี แต่ก็มีบางชนิดที่ลำตัวค่อนข้างกลม เช่น ปลาเล็บมือนาง (Crossocheilus reticulatus) เป็นต้น ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์คือ ปลากระโห้ (Catlocarpio siamensis) ที่ยาวเต็มที่ได้เกือบ 3 เมตร อาศัยเฉพาะในน้ำจืด ส่วนมากเป็นปลากินพืช แต่ก็พบมีหลายชนิดกินเนื้อหรือแพลงก์ตอน ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายกันมาก ยกเว้นบางชนิดสีและตุ่มข้างแก้มในตัวผู้ ต่างจากตัวเมีย แพร่พันธุ์ขยายพันธุ์โดยการวางไข่จำนวนมาก พบในแม่น้ำเขตร้อน เขตอบอุ่นและเขตหนาวเกือบทั่วโลก ยกเว้นขั้วโลก, ทวีปออสเตรเลีย และทวีปอเมริกาใต้
จัดเป็นวงศ์ปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก[3]
ตัวอย่างปลาในวงศ์ปลาตะเพียน
แก้- ปลากระมัง
- ปลากระสูบขีด
- ปลากระแห
- ปลากระโห้
- ปลากา
- ปลาจิ้งจอก
- ปลาซิวอ้าว
- ปลาตะกาก
- ปลาตะพากเหลือง
- ปลาตะเพียน
- ปลาตะเพียนหน้าแดง
- ปลาตะโกก
- ปลานวลจันทร์น้ำจืด
- ปลาบ้า
- ปลาตุ่ม
- ปลาบัว
- ปลาพลวง
- ปลาเล็บมือนาง
- ปลาปากเปี่ยน
- ปลาแปบควาย
- ปลาฝักพร้า
- ปลาเพ้า
- ปลายี่สก
- ปลาเวียน
- ปลาสะนาก
- ปลาสะอี
- ปลาไส้ตันตาขาว
- ปลาไส้ตันตาแดง
- ปลาหนามหลัง
- ปลาหว้าหน้านอ
- ปลาเชอรี่บาร์บ
หมายเหตุ
แก้- การแบ่งวงศ์ย่อยของปลาในวงศ์ปลาตะเพียนยังไม่เป็นที่แน่นอน เพราะการจัดแบ่งของนักมีนวิทยาแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันออกไป[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 ["Family Cyprinidae Carps และ Minnows (อังกฤษ)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-10. สืบค้นเมื่อ 2009-06-12. Family Cyprinidae Carps และ Minnows (อังกฤษ)]
- ↑ Tao, W., Mayden, R. L. & He, S.; 2012: Remarkable Phylogenetic Resolution of the Most Complex Clade of Cyprinidae (Teleostei: Cypriniformes): A Proof of Concept of Homology Assessment and Partitioning Sequence Data Integrated with Mixed Model Bayesian Analyses. Molecular Phylogenetics and Evolution, Available online 5 October 2012, In Press, Accepted Manuscript, abstract
- ↑ 3.0 3.1 3.2 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 31. ISBN 974-00-8701-9