ปลาตะโกก เป็นชื่อปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cyclocheilichthys enoplos อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)

ปลาตะโกก
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: อันดับปลาตะเพียน
วงศ์: วงศ์ปลาตะเพียน
สกุล: ปลาโจก
(Bleeker, 1850)
สปีชีส์: Cyclocheilichthys enoplos
ชื่อทวินาม
Cyclocheilichthys enoplos
(Bleeker, 1850)
ชื่อพ้อง
  • Barbus enoploides Tirant, 1885
  • Cyclocheilichthys amblyceps Fowler, 1937
  • Cyclocheilichthys dumerilii Sauvage, 1881

ลักษณะ

แก้

ปลาตะโกกมีรูปร่างเพรียวยาว หัวเล็ก หางคอด มีหนวด 2 คู่อยู่ริมฝีปาก เกล็ดมีขนาดใหญ่สีเงิน ครีบหลังยกสูง ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่มีความปราดเปรียวว่องไวมาก มักหากินตามพื้นท้องน้ำ โดยอาหารไก้แก่ สัตว์หน้าดิน เช่น หอย, ปู มีพฤติกรรมชอบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเชี่ยวและขุ่นข้น ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 60 เซนติเมตร

ที่อยู่

แก้

ปลาตะโกกพบในลุ่มแม่น้ำใหญ่ในภาคกลางและภาคอีสาน เช่น แม่น้ำเจ้าพระยา, แม่น้ำแม่กลอง, แม่น้ำท่าจีน, แม่น้ำโขงและสาขา รวมทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่เช่น บึงบอระเพ็ดด้วย

เป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญชนิดหนึ่ง เนื่องจากเป็นปลาขนาดใหญ่ เนื้ออร่อย จึงมีราคาค่อนข้างสูง นิยมบริโภคโดยการปรุงสด เช่น ต้มยำ และที่จังหวัดอุตรดิตถ์นิยมนำมาปรุงเป็นน้ำยาในขนมจีนน้ำยา โดยมีชื่อเรียกในภาษาอีสานว่า "โจก" และในแถบแม่น้ำตาปีว่า "ถลน" หรือ "สลุน"[2]

ปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้ได้โดยการฉีดฮอร์โมนแล้วผสมเทียมวิธีแห้ง สีของไข่มีสีเหลืองน้ำตาล ลักษณะเป็นไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอย และส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจ โดยถือเป็นปลาประจำจังหวัดปราจีนบุรีและอุตรดิตถ์[2] และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยเฉพาะตัวที่มีลำตัวสั้นกว่าปกติ[3]

อ้างอิง

แก้
  1. Vidthayanon, C. (2012). "Cyclocheilichthys enoplos". IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T180963A1682767. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T180963A1682767.en. สืบค้นเมื่อ 18 November 2021.
  2. 2.0 2.1 หน้า 78, ชนิดที่ 2 ปลาตะโกก สัตว์น้ำประจำ จังหวัดอุตรดิตถ์. "Aqua Knowledge" โดย Title. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 4 ฉบับที่ 38: สิงหาคม 2556
  3. "การเพาะและขยายพันธุ์ปลาตะโกก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ 2010-11-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้