ปลาตะเพียนขาว
ปลาตะเพียนขาว หรือ ปลาตะเพียนเงิน หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาตะเพียน[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Barbonymus gonionotus) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีรูปร่างเหมือนปลาในวงศ์ปลาตะเพียนทั่วไป ตัวมีสีเงินแวววาว ด้านหลังมีสีคล้ำเล็กน้อย ด้านท้องสีจาง ครีบอื่น ๆ มีสีเหลืองอ่อน ภาคอีสานเรียกว่า "ปลาปาก"
ปลาตะเพียนขาว | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | ปลาที่มีก้านครีบ Actinopterygii |
อันดับ: | ปลาตะเพียน Cypriniformes |
วงศ์: | วงศ์ปลาตะเพียน Cyprinidae |
วงศ์ย่อย: | Cyprininae Cyprininae |
สกุล: | สกุลบาร์โบนีมัส Barbonymus (Bleeker, 1850) |
สปีชีส์: | Barbonymus gonionotus |
ชื่อทวินาม | |
Barbonymus gonionotus (Bleeker, 1850) | |
ชื่อพ้อง | |
Barbodes gonionotus (Bleeker, 1850) |
ปลาตะเพียนขาวเป็นปลาพื้นเมืองของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ นับเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยรู้จักดี และอยู่ในวิถีชีวิตความเป็นอยู่มาแต่โบราณ เช่น ปลาตะเพียนใบลาน[2] มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในประเทศมานานกว่า 30 ปี และถูกนำพันธุ์ไปเลี้ยงยังต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย, บอร์เนียว, อินโดนีเซีย แม้ว่าในประเทศเหล่านี้จะมีปลาชนิดนี้อยู่ในธรรมชาติแล้วก็ตาม ขนาดโดยเฉลี่ย 36 เซนติเมตร (พบใหญ่ที่สุด 90 เซนติเมตร น้ำหนัก 13 กิโลกรัม ที่มาเลเซีย)[3] พบชุกชุมในทุกแหล่งน้ำทุกภาคของไทย ยกเว้นแม่น้ำสาละวิน อยู่กันเป็นฝูง ชอบที่น้ำไหลเป็นพิเศษ เป็นปลากินพืช, แมลง และสัตว์หน้าดิน นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกด้วย โดยเฉพาะตัวที่เป็นปลาเผือก ซึ่งเรียกกันว่า "ปลาตะเพียนอินโด" นิยมเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์เก็บกินเศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือหรือเก็บตะไคร่น้ำและปรสิตในตู้ หรือแม้กระทั่งเลี้ยงเป็นปลาลูกไล่ของปลาใหญ่กว่า หรือเลี้ยงเพื่อทดสอบค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH) หรือความเข้มข้นของคลอรีน ก่อนที่จะปล่อยปลาที่จะเลี้ยงจริงลงไป เนื่องจากเป็นปลาที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และมีความไวต่อคุณภาพน้ำ[4]
มีการผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงฤดูฝน ตัวเมียเมื่อถึงสภาพสมบูรณ์ ลำตัวจะอวบอ้วนและใหญ่กว่าตัวผู้ถึง 2–3 เท่า ตัวผู้บริเวณข้างแก้มจะมีตุ่มคล้ายสิวอันเป็นเอกลักษณ์ของปลาในวงศ์ปลาตะเพียน ตัวเมียใช้เวลาอุ้มท้องจนกระทั่งวางไข่ประมาณ 1 เดือน ปัจจุบันมีการเพาะพันธุ์ปลาเพื่อนำไปปล่อยในแหล่งน้ำต่าง ๆ[2]
มีการนำมาทำเป็นอาหาร เช่น ปลาตะเพียนต้มเค็มหรือปลาส้ม นับว่าเป็นตำรับที่มีชื่อมากของปลาชนิดนี้ แต่เป็นปลาที่มีก้างมาก[5][6]
อ้างอิง
แก้- ↑ Thinh, D.V.; Van, N.S.; Nguyen, T.H.T. (2012). "Barbonymus gonionotus". The IUCN Red List of Threatened Species. 2012: e.T166914A1151554. doi:10.2305/IUCN.UK.2012-1.RLTS.T166914A1151554.en. Retrieved on 15 December 2017
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "กบนอกกะลา ตอน ปลาตะเพียน เรื่องเยอะก้างแยะ ดูรายการกบนอกกะลาย้อนหลัง 25 กันยายน 2558". ช่อง 9. 25 September 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-21. สืบค้นเมื่อ 26 September 2015.
- ↑ "Fishing Worldrecords | carps 10-25 kg | Barbonymus gonionotus". www.fishing-worldrecords.com.
- ↑ Nanconnection. (แอบ) คุยเรื่องปลาตู้โครงการ 2. ตอน ปลาอโรตัวเป็นวาน่าเลี้ยง. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2546. 224 หน้า. ISBN 9745348651
- ↑ "Women integrate fish and farming". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 2014-03-21.
{{cite web}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ "National Aquaculture Sector Overview - Thailand". Food and Agriculture Organization of the United Nations.[ลิงก์เสีย]