ปลาส้ม เป็นการแปรรูปอาหารจากปลาชนิดหนึ่งที่แพร่หลายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องปรุงหลักประกอบด้วย ปลา เกลือ กระเทียม ข้าวสุก ผสมกัน หมักจนมีรสเปรี้ยว[1] มีทั้งแบบที่ใช้ปลาทั้งตัว และแบบที่ใช้เฉพาะเนื้อปลา ซึ่งแบบที่ใช้เนื้อปลาอย่างเดียวอาจเรียกปลาส้มฟักหรือแหนมปลา สัดส่วนต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ชาวไทญ้อมีสูตรปลาส้มเป็นของตนเอง โดยเครื่องปรุง ใช้พริก เกลือ กระเทียม น้ำซาวข้าว ข้าวเหนี่ยวใหม่นึ่ง จะต้องคั่วเกลือให้แห้งและตำให้ละเอียดก่อนนำมาคลุกกับส่วนผสมอื่น[2]

ปลาตะเพียนส้ม

ปลาส้มของภาคใต้มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ต่างไป โดยจะนำปลา เช่น ปลากระดี่ ปลาตะเพียน มาผ่าท้องเอาไส้ออก หมักเกลือไว้ 2-3 วัน แล้วจึงล้างจากนั้น นำไปชุบในน้ำตาลโตนด ที่เคี่ยวกับข้าวคั่วจนข้น เรียงใส่ไห ปิดปากไหให้แน่น ทิ้งไว้ 7-10 วัน ถ้าใช้กุ้งแทนเรียกกุ้งส้ม[3]

อย่างไรก็ตามการบริโภคปลาส้มควรปรุงให้สุกก่อน ไม่ควรบริโภคเมื่อยังดิบเพราะอาจมีพยาธิใบไม้ในตับอยู่ ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งลำไส้[4]

ปลาส้มฟัก แก้

ปลาส้มฟัก เป็นภาษาท้องถิ่นของคนไทยพวน หมายถึง การถนอมอาหารโดยการทำปลาให้เปรี้ยว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหนมปลา มีปริมาณโปรตีนจากเนื้อปลาสูง มีเกลือแร่ และสมุนไพรจากกระเทียม

อ้างอิง แก้

  1. "วิธีทำปลาส้ม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-20. สืบค้นเมื่อ 2009-11-25.
  2. ปลาส้มไทญ้อ[ลิงก์เสีย]
  3. อาหารการกินแห่งลุ่มทะเลสาบคิดค้นโดยพระเจ้ากฤต. สงขลา: เครือข่ายสตรีรอบทะเลสาบ. 2551. หน้า 40
  4. "อันตรายจากปลาส้ม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-17. สืบค้นเมื่อ 2009-11-25.