เชิงกราน (อังกฤษ: pelvis) เป็นโครงสร้างกระดูกของร่างกายที่อยู่ปลายล่างของกระดูกสันหลัง จัดเป็นส่วนหนึ่งของโครงกระดูกรยางค์ (appendicular skeleton) กระดูกเชิงกรานประกอบด้วยกระดูกสะโพก (hipbone) , กระดูกใต้กระเบนเหน็บ (sacrum) , และกระดูกก้นกบ (coccyx) กระดูกสะโพกประกอบด้วยกระดูกย่อยๆ 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกปีกสะโพก (ilium) , กระดูกก้น (ischium) , และกระดูกหัวหน่าว (pubis) กระดูกปีกสะโพกเป็นกระดูกที่ใหญ่ที่สุดและเป็นส่วนบนสุด กระดูกก้นเป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังเยื้องด้านล่าง และกระดูกหัวหน่าวเป็นส่วนหน้าของกระดูกสะโพก กระดูกสะโพก 2 ชิ้นจะมาเชื่อมกันทางด้านหน้าเป็นแนวประสานหัวหน่าว (symphysis pubis) และเชื่อมด้านหลังกับกระดูกใต้กระเบนเหน็บ เชิงกรานจะประกอบกันเป็นเบ้าของข้อต่อสะโพก เกิดเป็นกระดูกโอบรยางค์ล่าง (หรือรยางค์หลัง)

เชิงกราน
(Pelvis)
เชิงกรานแบบหญิง
เชิงกรานแบบชาย
ตัวระบุ
MeSHD010388
TA98A01.1.00.017
TA2129
ศัพท์ทางกายวิภาคของกระดูก

ความแตกต่างระหว่างเพศ แก้

  • ในเพศหญิง มุมใต้เชิงกราน (Infrapubic angle) จะเป็นมุมป้าน แต่ในเพศชายจะเป็นมุมแหลม
  • ทางเข้าเชิงกราน (Pelvic inlet) ในเพศชายจะมีลักษณะคล้ายหัวใจ แต่ในเพศหญิงจะกลมหรือรีกว่า
  • รอยเว้าไซแอติกใหญ่ (Greater sciatic notch) ในเพศชายแคบกว่า
  • เบ้าหัวกระดูกต้นขา (Acetabulum) ในเพศชายจะหันหน้าไปทางด้านข้าง แต่ในเพศหญิงจะหันไปทางด้านหน้า
  • กระดูกใต้กระเบนเหน็บในเพศหญิงจะเป็นรูปสามเหลี่ยมมากกว่า[1]

ชนิดของเชิงกราน แก้

เชิงกรานแบ่งตามลักษณะรูปร่างออกได้เป็น 4 แบบ

  • เชิงกรานแบบหญิง (gynaecoid pelvis) เป็นรูปแบบปกติของเพศหญิง มีลักษณะกลม และเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง
  • เชิงกรานแบบชาย (android pelvis) เป็นรูปแบบปกติของเพศชาย เป็นรูปหัวใจ
  • เชิงกรานแบบแอนโทรพอยด์ (anthropoid pelvis) มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวหน้าหลังยาว
  • เชิงกรานแบบแพลติเพลลอยด์ (platypelloid pelvis) มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวขวางยาวกว่า

ภาพอื่นๆ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Saukko P, Knight B. Knight's Forensic Pathology, 3rd Ed. Edward Arnold Ltd. 2004. ISBN 0-340-76044-3.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้